xs
xsm
sm
md
lg

ลาวเร่งผลิตไฟป้อนไทย-เวียดนาม สร้างอีก 14 เขื่อนเร็วๆ นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>ภาพเอเอฟพี โดยแวงซอง โกติเยร์ (Vincent Gautier) แห่งบริษัทไฟฟ้าน้ำเทินจำกัด (NTPC) ถ่ายเดือน ม.ค.2552 อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนน้ำเทิน 2 ในเขตที่ราบสูงนากาย สงบนิ่งอยู่เบื้องล่าง ที่เห็นในภาพเป็นเขื่อนท้ายอ่างเก็บน้ำที่ปล่อยน้ำไหลลงสู่เซบั้งไฟ โรงปั่นไฟอยู่อีกฟากหนึ่งของจุดนี้ นี่คือเขื่อนใหญ่ที่สุดในลาวปัจจุบัน ตามกำหนดเดิมจะเริ่มปั่นไฟในเดือนนี้ แต่ต้องเลื่อนออกไปเป็นต้นปีหน้า ในลาวกำลังมีการก่อสร้างเขื่อนอื่นๆ อีก 9 แห่ง อีก 14 แห่งจะเริ่มก่อสร้างในเร็วๆ นี้ สื่อของทางการกล่าว </FONT></bR>

ข่าวสารปะเทดลาว - รัฐบาลลาววางแผนระหว่างปี 2558-2563 จะสามารถผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้กับประเทศไทยและเวียดนามได้ถึง 12,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากปริมาณความต้องการด้านพลังงานในทั้งสองประเทศที่พัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วนั้นพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

ในปัจจุบันมีโครงการเขื่อน 9 แห่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและอีก 14 แห่งกำลังจะลงมือสร้างในเร็วๆ นี้

ตามรายงานของกรมส่งเสริมและพัฒนาด้านพลังงาน รัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับนักลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนจากต่างชาติ เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า 70 แห่งในประเทศ

หน่วยงานนี้กล่าวว่าว่า ได้เปิดไฟเขียวให้มีการสร้างเขื่อนอีก 10 แห่ง เช่นเขื่อนเทิน-หินบูน (ส่วนต่อขยาย) ขนาด 220 เมกะวัตต์ ในภาคกลาง และเขื่อนห้วยเฮาะขนาด 150 เมกะวัตต์ ในภาคใต้

กรมส่งเสริมและพัฒนาพลังงานระบุว่า รัฐบาลลาวได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ ( MOUs) ในการขายไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้าน คือไทยและเวียดนาม โดยลาวจะขายไฟฟ้าทั้งหมด 12,000 เมกะวัตต์ให้กับทั้งสองประเทศ ในนั้นขายให้กับไทย 7,000 เมกะวัตต์ และ เวียดนาม 5,000 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวได้วางแผนระยะยาวที่จะไม่จำกัดการส่งออกพลังงานให้กับทั้งสองประเทศ แต่จะมุ่งหาผู้ซื้อแหล่งใหม่ด้วยเช่น กัมพูชาและจีน

เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่หลายคนกล่าวว่า การพัฒนาศักยภาพเขื่อนไฟฟ้าของประเทศนี้สามารถสร้างรายได้จากการขายพลังงานและรายได้ดังกล่าวนั้นสามารถนำมาใช้ในโครงการลดปัญหาความยากจนของคนในชาติได้ด้วย

นอกจากนั้นกระทรวงพลังงานฯ ยังได้ระบุอีกว่า ประเทศเพื่อนบ้านจะเผชิญกับการขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรงในกาลข้างหน้าและประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้จะหันมายังประเทศลาวเพื่อให้ลาวจัดหาพลังงานธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ให้

ในขณะเดียวกันองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เตือนว่า การก่อสร้างเขื่อนมากเกินไปเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นการลดจำนวนพื้นที่ป่า รวมทั้งทำลายสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติอีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น