xs
xsm
sm
md
lg

อัยการเสนอจำคุก 40 ปีผู้คุมเรือนจำเขมรแดง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#ff0000>ภาพเอเอฟพีวันที่ 25 พ.ย. สหายดุจ ฟังคำไต่สวนจากอัยการและคณะผู้พิพากษาในประเด็นการสังหารหมู่ชาวเขมร โดยสหายดุจยอมรับความผิดและขอโทษบรรดาญาติผู้เสียชีวิต </FONT></CENTER>

เอเอฟพี - กลุ่มอัยการเรียกร้องให้จำคุกผู้คุมเรือนจำเขมรแดง "สหายดุจ" (Duch) เป็นเวลา 40 ปี เนื่องจากจำเลยกล่าวขอโทษสำหรับบทบาทของเขาในความตายของชาวเขมร 15,000 คน ที่เรือนจำตวลสะแลงหรือศูนย์ S21

ศาลอาชญากรรมสงครามที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ได้ฟังข้อโต้แย้งจากฝ่ายโจทก์และจำเลยในการตัดสินคดีความครั้งแรกเพื่อที่ขุดคุ้ยความน่าสะพรึงกลัวของระบอบคอมมิวนิสต์อันอยู่เบื้องหลังการกระทำที่โหดร้ายใน "ทุ่งสังหาร" เมื่อ 30 ปีก่อน

เขมรแดงภายใต้การนำของพลพตได้คร่าชีวิตผู้คนเกือบสองล้านคนที่อดตาย ทำงานหนักเกินเหตุ และเสียชีวิต จากความพยายามเปลี่ยนกัมพูชากลับไปสู่การเป็นยุคที่เรียกว่า "ปีแห่งความมืดมิด" (Year of Zero) ระหว่างปี 2518-2522

กลุ่มทนายความผู้ส่งสำนวนฟ้องกล่าวว่าการแสดงความเสียใจอย่างสุดซื้งของดุจ ผู้มีชื่อจริงว่า กางกึ๊กเอียว (Kaing Geuk Eav) ชดเชยไม่ได้กับความผิดที่ดุจได้กระทำในสมัยที่เขารับผิดชอบดูแล S-21 ซึ่งเป็นเรือนจำหลัก

"เราเสนอว่าการตัดสินโทษสำหรับคดีนี้ควรจะเป็นการจำคุก 40 ปี" อัยการบิล สมิทธ (Bill Smith) กล่าวแก่คณะผู้พิพากษา

"การตัดสินโทษเช่นนี้มิใช่การทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องหา แต่เป็นการคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับเหยื่อเรือนจำ S-21 ทั้งหลาย ดุจได้รับความยุติธรรมที่เปิดเผยและปราศจากอคติต่างจากเหยื่อเหล่านั้น" อัยการคนเดิมกล่าว

สมิธอธิบายถึงข้อเรียกร้องของฝ่ายอัยการว่าคณะผู้พิพากษาสามารถตัดสินโทษสูงสุดคือการจำคุกตลอดชีวิตด้วยอาชญากรรมต่างๆ ที่ดุจได้ก่อไว้ อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาถึงการกักตัวที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายที่ดุจได้รับก่อนหน้านี้ การตัดสินโทษจึงควรลดลงเป็นการจำคุก 45 ปี

นอกจากนั้นสมิธยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การแสดงความรับผิดชอบบางส่วนและให้ความร่วมมือกับคณะอัยการตลอด 67 ปีนำไปสู่การลดโทษจำคุกเหลือ 40 ปี

"ทุกคนควรหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดที่ว่าคดีนี้เหมือนกับการยื่นอุทธรณ์ต่อหน้าคณะผู้พิพากษาระหว่างประเทศ" สมิธ กล่าว
<CENTER><FONT color=#ff0000>ภาพเอเอฟพีวันที่ 25 พ.ย.  ประชาชนชาวเขมรนั่งชมการพิจารณาไต่สวนคดีความระดับชาติในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง ในกรุงพนมเปญ โดยการพิจารณาคดีนี้มีการถ่ายทอดสดออกอากาศผ่านโทรทัศน์ทั่วประเทศด้วย </FONT></CENTER>
ดุจ ผู้เคยเป็นครูสอนคณิตศาสตร์เผชิญข้อกล่าวหาทางอาชญากรรมด้านมนุษยชน อาชกรรมสงคราม การทรมานและการฆาตกรรมโดยมีการไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามคำตัดสินจะได้รับการประกาศในต้นปีหน้า

ภายหลังฝ่ายอัยการเสร็จสิ้นการนำเสนอข้อโต้แย้ง ดุจก็เริ่มให้การเล่าถึงวิธีการที่ผู้นำเขมรแดงสั่งฆ่าผู้คนในระหว่างการกำจัดประชาชนชาวเขมรของระบอบคอมมิวนิสต์

"ผมยอมรับในทุกอาชญากรรมต่อผู้ที่รอดชีวิตและสำหรับครอบครัวของเหยื่อผู้เสียชีวิต ผมหวังว่าพวกเขาเหล่านั้นจะได้โปรดยอมรับคำขอโทษจากผม เพื่อแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อสิ่งที่ผมได้กระทำไป ผมได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่และจริงใจเมื่อใดก็ตามที่ศาลต้องการตัวผม" ดุจ กล่าว

ทนายฝ่ายจำเลยสร้างภาพว่าดุจเพียงแต่ทำตามคำสั่งเพื่อรักษาชีวิตตนเองและคนในครอบครัวของเขา ในขณะที่ฝ่ายอัยการกล่าวว่าดุจเป็นตัวอย่างของการไร้ความปรานีของเขมรแดง

นักโทษเรือนจำ S-21 ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนมัธยมปลาย ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เล็บมือและเท้าของพวกเขาถูกดึงออกมาและเลือดไหลออกจากร่างกายพวกเขาในการทดลองทางการแพทย์ว่ามีลักษณะอย่างไร

นักโทษเหล่านี้ถูกบังคับให้พวกเขาต้องยอมให้การเท็จเกี่ยวกับการหักหลังระบอบคอมมิวนิสต์และการทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองต่างชาติ มีเพียง 10 คน จากชาย หญิงและเด็กจำนวน 15,000 คนที่ถูกส่งตัวไปที่นั่นและมีชีวิตรอดกลับออกมา

นักโทษส่วนใหญ่ถูกนำตัวไปยัง "ทุ่งสังหาร" ที่เจืองแอ็ก (Choeung Ek) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญออกไปราว 40 กิโลเมตร ซึ่งจะ ถูกฟาดด้วยท่อนเหล็กที่บริเวณท้ายทอยและผ่าท้องเปิดออก

ในปัจจุบันทั้งเรือนจำและทุ่งสังหารได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็น พิพิธภัณฑ์การสังหารหมู่
<CENTER><FONT color=#ff0000>ภาพเอเอฟพีวันที่ 24 พ.ย. บรรยากาศในศาลไต่สวนกรณีสังหารหมู่ชาวเขมรสมัยเขมรแดงเรืองอำนาจ ผ่านไปนานกว่า 30 ปี ในที่สุดก็ได้พิจารณาคดีโทษอดีตเขมรแดงผู้อยู่เบื้องหลังความตายของประชาชนชาวเขมรอย่างจริงจัง</FONT></CENTER>
เขมรแดงถูกโค่นโดยกองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามในปี 2522 แต่ยังคงต่อสู้ในสงครามกลางเมืองเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษ โดยที่พลพตเสียชีวิตในปี 2541

สำหรับชาวเขมรแล้ว คณะผู้พิพากษาในประเด็นขัดแย้งเรื่องการสังหารหมู่ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 ภายหลังการเจรจาต่อรองระหว่างเขมรกับองค์การสหประชาชาตินานเกือบทศวรรษ ถือเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้รับความยุติธรรมจากอาชญากรรมของเขมรแดง

ดุจได้ถูกกักตัวตั้งแต่ปี 2542 ขณะที่เขาทำงานเป็นคนงานช่วยเหลือชาวคริสเตียนในป่าและถูกจับกุมอย่างเป็นทางการโดยคณะผู้พิพากษาในเดือนก.ค. 2550 และการตัดสินคดีร่วมเกี่ยวกับผู้นำอาวุโสเขมรแดงอีก 4 คน คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2554.
กำลังโหลดความคิดเห็น