xs
xsm
sm
md
lg

อวดขีปนาวุธ..สอย F16 ได้จริง "ฮุนเซน" ไม่ได้โม้!!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0000>ขู่ล่วงหน้ามานานคราวนี้เปิดเผยให้เห็นของจริง ยังไม่ทราบรุ่นหรือยี่ห้อ แต่ทำท่าจะสอยเครื่องบินที่บินล้ำน่านฟ้าได้จริง  </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- กองทัพกัมพูชาได้เผยเขี้ยวเล็บสำคัญ รวมทั้งขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานกับจรวดหมู่ GRAD ที่ผลิตในอดีตสหภาพโซเวียต กับ รถถังที่ยังมีสภาพดีจากจีน เป็นการสำทับคำขู่ของผู้นำกัมพูชา ที่เคยเตือนว่ากัมพูชามีขีปนาวุุธจำนวนมากพอที่จะยิงเครื่องบินไทยที่บินล้ำน่านฟ้า

อาวุธทันสมัยที่สุดของกองทัพถูกนำออกแสดงในพิธีสวนสนามของกองพลน้อยที่ 70 (Brigade 70) ที่จัดขึ้นภายในที่ตั้งชานกรุงพนมเปญ ในโอกาสครบรอบปีที่ 15 นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมาทำหน้าที่พิทักษ์ผู่นำกับครอบครัว

ตามรายงานของสื่อในกัมพูชาตามข้อมูลของสื่อในกัมพูชา ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ครอบครัวผู้นำได้บริจาคเงินส่วนตัวเพื่อพัฒนากองกำลังรบที่สำคัญนี้รวม 2,722,531 ดอลลาร์ และ ยังสร้างอาคารขนาดต่างๆ ให้อีก 59 หลัง

แต่ในปีนี้ได้มีการปฏิรูปใหม่ แยกกองกำลังพิทักษ์ ผู้นำออกจากกองพลน้อยที่ 70 ไปตั้งเป็นกองบัญชาการอิสระต่างหาก

การสวนสนามเป็นไปอย่างเอิกเริก โดยมีสมเด็จฯ ฮุนเซน ในเครื่องแบบนายพล 4 ดาวจอมทัพ ยืนตระหง่านอยู่บนรถยนต์ตรวจการณ์ วันทยาหัตรับการแสดงความเคารพจากเหล่าทหารหาญ ที่อยู่ในชุดพรางงามสง่า ในขบวนแถวกองร้อยต่างๆที่ บ้างก็ติดอาวุธปืนเอเค-47 กระบอกใหม่ผลิตในประเทศจีน บ้างก็แบกเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง

อีกหนึ่งกองร้อยนำจรวดต่อสู้อากาศยาน ที่ยังไม่ทราบรุ่นออกอวดโฉมโดยบรรทุกไปในรถจี๊ป ขณะที่รถบรรทุกอีกนับสิบคัน ได้นำจรวดหมู่แบบ GRAD ที่ผลิตในรัสเซียผ่านไป
 <bR><FONT color=#ff0000>ในยูนิฟอร์ม นายพลสี่ดาว --พลเอก ดอกเตอร์ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน จอมทัพ กับ พล.จ.ฮุนมาเนต (Hun Manet) บุตรชายคนโต ซึ่งพ่อส่งไปเรียนเวสต์พอยต์ จบ ป.โทจากอังกฤษ ได้รับเลื่อนยศเป็นนายพลจัตวาหมาดๆ ปัจจุบันสังกัดหน่วยต่อต้านก่อการร้ายซึ่งเป็นกำลังส่วนหนึ่งในกองพลน้อยที่ 70 (ภาพ: รอยเตอร์)</font>
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในช่วงสงครามเย็น กองทัพกัมพูชาเคยมีขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานพื้นสู่อากาศในครอบครองจำนวนมาก รวมทั้งแบบ SAM7 กับ SAM3 ที่ผลิตในอดีตสหภาพโซเวียต

ในยุคใหม่ได้มีการทำลายลงจำนวนมาก ภายใต้อำนวยการของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เกรงว่า อาวุธร้ายจะตกถึงมือกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ และจะเป็นภัยคุกคามต่อการบินพาณิชย์ของโลก

สมเด็จฯ ฮุนเซน ได้เคยกล่าวถึงการใช้อาวุธต่อสู้อากาศยานต่อกรกับ "การรุกราน" ของไทย ถ้าหากจำเป็น

วันที่ 30 มิ.ย.ผู้นำกัมพูชาได้กล่าวเตือนประเทศไทย ให้ระวังเครื่องบินที่บิน ล้ำน่าฟ้าโดยกล่าวว่าไม่สามารถห้ามทหารที่ชายแดนไม่ให้เหนี่ยวไกปล่อยอาวุธต่อได้ และยังสำทับอีกว่า ถึงแม้หลายปีมานี้กัมพูชาจะได้ทำลายขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานแบบประทับไหล่ยิงไปแล้วถึง 270 ลูก แต่ก็ได้นำเอารุ่นใหม่ที่ทันสมัยยิ่งกว่าเข้าประจำการอีกจำนวนมาก เพราะฉะนั้นประเทศไทยควรระวังให้ดี
<bR><FONT color=#FF0000>นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานในพิธีสวนสนามของกองพลน้อยที่ 70 ในกรุงพนมเปญ วันอังคาร (13 ต.ค.) นี้ หลังจากแยกกองกำลังคุ้มกันส่วนตัวออกไป </FONT></bR>
"ผมอยากจะบอกพวกคุณว่า ถึงแม้ว่าขีปนาวุธพวกนี้จะมีราคาถึงลูกละ 120,000 ดอลลาร์ก็จะหาซื้อมันมา" สมเด็จฯ ฮุนเซนกล่าวระหว่างพิธีประศาสน์ปริญญาบัตร แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ตัน จำนวน 975 คน ในกรุงพนมเปญ ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์กัมโบดจ์ซวาร์ (Cambodge Soir)

ในโอกาสเดียวกันนี้สมเด็จฯ ฮุนเซน ยังได้ยืนยัน เหตุการณ์วันที่ 28 มิ.ย. ณ ที่ตั้งกองกำลังพิทักษ์ผู้นำ ภายในค่ายตวลกระแซง (Tuol Krasaing) ในเขต อ.ตาขเมา (Takhmao) จ.กันดาล (Kandal) ซึ่งอยู่ชานกรุงพนมเปญ

ในเหตุการณ์ดังกล่าว จรวดแบบ BM-21 "GRAD" ที่ผลิตในรัสเซีย เกิดระเบิดขึ้นด้วยความเลินเล่อของทหารชั้นผู้น้อย จรวดที่โดนแรงระเบิดแต่ไม่ระเบิด ปลิวว่อนเข้าไปในบ้านพักของผู้นำ

เดชะบุญมีทหารได้รับบาดเจ็บเพียง 2 คนในเหตุการณ์ ขณะที่ พล.ท.ฮิง บุนเฮียง (Hing Bunheang) ผบ.กองกำลังพิทักษ์ผู้นำ กล่าวว่า หน่วยรบดังกล่าวสูญจรวดบนรถบรทุกไปจำนวน 5 คัน ทั้งหมดกำลังจะมุ่งหน้าไปยังชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร
<bR><FONT color=#FF0000> พล.ท.ฮิงบุนเฮียง (Hing Bunheang) กินเงินเดือนจากภาษีของราษฎร แต่เป็นผู้บัญชาการกองทัพส่วนตัวของสมเด็จฯ ฮุนเซน</FONT></bR>

สมเด็จฯ ฮุนเซน กล่าวถึงเรื่องนี้ในวันที่ 30 มิ.ย.ว่า จรวดที่สูญเสียไปในเหตุการณ์นี้เป็นเพียงประมาณ 1% ของที่มีใช้ในกองทัพเท่านั้น แต่ละลูกมีราคา 3,000 ดอลลาร์

"ไม่อยากจะคุย กัมพูชายังมีทั้งจรวดขนาดกลาง ทั้งขนาดใหญ่กว่านี้อีก" ผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดกล่าว

ที่ผ่านมาฝ่ายค้านกับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชากล่าวหาว่า พลน้อยที่ 70 เป็น "กองทัพส่วนตัว" ของสมเด็จฯ ฮุนเซน เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า และมีประวัติอาชญากรรม กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสูง

รัฐบาลกัมพูชาได้ออกกฤษฎีกาฉบับหนึ่งเมื่อต้นเดือนนี้ แยกกองกำลังพิทักษ์ผู้นำออกจาก กองพลน้อยที่ 70 โดย พล.ท.ฮิง บุนเฮียง ผบ.กองพลน้อยดังกล่าวถูกย้ายตามไปบัญชากองกำลังพิทักษ์ผู้นำ

ผู้บัญชาการโดยตรงของ พล.ท.ฮิงบุนเฮือง คือ พล.อ.กุนกิม (Kum Kim) หนึ่งใน 4 รองผู้บัญชาการกองทัพ ที่สมเด็จฯ ฮุนเซน แต่งตั้งเมื่อต้นปีนี้ พร้อมกับการแต่งตั้ง พล.อ.พลสะเรือน (Pol Saroeun) ขึ้นเป็นผู้บัญชาการ ทั้งหมดนี้มีขึ้นหลังจาก สมเด็จฯ ฮุนเซน ปลด พล.อ.แกกิมยาน (Ke Kim Yan) อดีต ผบ.กองทัพ ออกจากตำแหน่งแบบกลางอากาศ


พล.อ.เตีย บัญ (Tea Banh) รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวกับสื่อในกรุงพนมเปญในสัปดาห์ต้นเดือนนี้ว่า การแยกตัวออกจากกัน เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยกำลังสำคัญทั้งสองหน่วย โดยกองพลน้อยที่ 70 จะเป็นหน่วยรบที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับกองกำลังพิเศษคุ้มกันนายกรัฐมนตรีที่แยกตัวออกไป ตั้งเป็นกองบัญชาการต่างหาก

"ทุกประเทศล้วนมีหน่วยคุ้มกันผู้นำ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก" รมว.กลาโหมกัมพูชากล่าว โดยไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียด แต่ก็กล่าวด้วยว่า นอกจากจะคุ้มกันครอบครัวผู้นำแล้ว หน่วยรบใหม่ยังจะปฏิบัติการร่วมกับหน่วยรบอื่นๆ ของกองทัพด้วย

"กองบัญชาการใหม่มีภารกิจในการพิทักษ์ความมั่นคงปลอดภัยของท่านผู้นำ และ ยังจะต้องเข้าร่วม (ภารกิจ) อื่นๆ รวมทั้งการป้องกันประเทศที่ชายแดนด้วย" พล.ต.โรส ชอม (Ros Chhorm) รองปลัดกระทรวงกลาโหมกล่าว

แต่แหล่งข่าวในหน่วยรบใหม่กล่าวว่า กองกำลังพิทักษ์ผู้นำจะอยู่ใต้บัญชาการของสมเด็จฯ ฮุนเซน โดยเฉพาะ


<bR><FONT color=#FF0000> คุ้นหน้าคุ้นตากันดี รถบรรทุกจรวดหมู่ BM-21 ที่ผลิตในรัสเซีย แล่นอยู่ชายแดนด้านพระวิหารปีที่แล้ว</FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>เขี้ยวเล็บสำคัญของกองทัพบก กัมพูชาสูญรถพร้อมจรวด BM-21 ที่บรรทุกไปจำนวน 5 คัน ในเหตุการณ์ระเบิดวันที่ 28 มิ.ย.ปีนี้ใกล้บ้านพักสมเด็จฯ ฮุนเซน  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>ประทับไหล่ยิงเหมือนกัน น่าเกรงขาม สมเด็จฯ ฮุนเซนกล่าวว่ามีขีปนาวุธพวกนี้เป็นตั้งๆ </FONT></bR>
นักวิเคราะห์เคยกล่าวว่า หน่วยพิทักษ์ผู้นำกัมพูชามีกำลังพลไม่ต่ำ 4,000 คน บ้านพักของผู้นำอยู่ในค่ายทหารแห่งนี้ และ ยังเป็นหน่วยรบที่ติดอาวุธทันสมัยที่สุด ที่มีใช้ในกองทัพ

กองกำลังพลติดอาวุธทันสมัย ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีส่วนหนึ่งได้ออกปรากฏตัว ทำหน้าที่คุ้มกันท่านผู้หญิงบุนรานีฮุนเซน (Bun Rany Hun Sen) ระหว่างไปทำพิธีทางศาสนาบนปราสาทพระวิหารในเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว

บุคคลภายนอก หลายคนมองว่าการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญนี้เป็นการปรับภาพลักษณ์ เนื่องจากที่ผ่านมา ทหารจากกองพลน้อยที่ 70 เคยเข้าขับไล่ราษฎรออกจากพื้นที่ เคยเข้าปราบปรามฝูงชน ข่มขู่การเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน

ฝ่ายค้านกับองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ยังกล่าวหาว่า ทหารจากกองพลน้อยนี้ เป็นผู้ต้องรับผิดชอบการปาระเบิดสังหารระหว่างการเดินขบวนในปี 2540 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 16 คน นายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านได้รับบาดเจ็บสาหัส
<bR><FONT color=#FF0000> เอเค-47 อาก้า ด้ามสีแสดแดง ของเล่นใหม่เอี่ยมผลิตจากจีน </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000> เคารพท่านผู้นำกับท่านผู้หญิง ที่อยู่บนอาคารปรัมพิธี </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>ทหารม้ากัมพูชา ในชุดคอมแบ็ทเต็มอัตรา นานๆ จะได้ออกโชว์ตัว </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000> รถถังไม่ทราบรุ่นทาสีเขียวอื๋อจนดูไม่ออกว่า เก่าหรือใหม่อย่างไร แต่ที่แน่ๆ คือ ยังแล่นได้ และมีเขี้ยวเล็บ</FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000> ในช่วงสงครามเย็นรัฐบาลฮุนเซนมีรถถังทุกชนิดจากทุกค่ายกว่า 1,000 คันปัจจุบันส่วนใหญ่จอดตาย ที่เหลืออยู่ใช้งานมาร่วม 30 ปี หรือกว่านั้น แต่ก็เชื่อว่ามี ของใหม่ จากจีนอีกจำนวนหนึ่งในช่วงปีหลังนี้ </FONT></bR>
นายจันสุเวช (Chan Soveth) นักกฎหมายของกลุ่มแอดฮ็อก (Adhoc) หนึ่งในกลุ่มหรือองค์กรพิทักษ์มิทธิมนุษยชนในกรุงพนมเปญกล่าวว่า การแต่งตั้งโยกย้ายและปรับเปลี่ยน
ครั้งใหม่ เป็นความพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์กองกำลังพิทักษ์ผู้นำ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์เป็นการส่วนตัวอีกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใกล้ชิด

แต่นายสุเวชก็กล่าวว่า ที่ถูกที่ควรแล้วกองกำลังรบที่กินเงินเดือนจากภาษีอาการของประชาชน จะต้องไม่เป็นกองกำลังส่วนตัวของผู้ใดทั้งสิ้น ควรจะรับใช้ประชาชน ออกช่วยเหลือราษฎรท้องถิ่นต่างๆ ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่

นายอามซัมอาต (Am Sam At) ที่ปรึกษาด้านวิชาการขององค์การสิทธิมนุษยชนลิคาโด (Licadho) ในกรุงพนมเปญ กล่าวว่า ตราบเท่าที่กองกำลังคุ้มกันผู้นำ ยังคงมีอำนาจบัญชาเหนือหน่วยงานอื่นๆ อยู่ต่อไป กองทัพราชอาณาจักรกัมพูชาก็จะยังคงไร้ระบบระเบียบอยู่ดี.

รูปภาพประกอบโดย AFP

กำลังโหลดความคิดเห็น