xs
xsm
sm
md
lg

แคะข้อมูลดาวเทียม..“ซูเปอร์เมอโลร์” หายนะของจริง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพจำลองเส้นทางการเคลื่อนตัว ใช้ข้อมูลที่แกะออกจากรายงานของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT โดยสำนัก TSR แสดงให้เห็นขนาดมหึมาของซูเปอร์ไต้ฝุ่นเมอโลร์ (Melor) จากย่านแปซิฟิกตะวันตก ย้อนขึ้นเหนือก่อนจะตีวงโค้งอย่างงดงาม เข้าถล่มเกาะตอนกลางของญี่ปุ่นในขณะนี้ ส่วนเวียดนามยังเกาะติดพายุป้าหม่า อย่างไม่กระพริบตา ขณะอาละวาดอยู่เหนือเกาะฟิลิปปินส์อีกรอบหนึ่ง </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ภาพจำลองเส้นทางการเคลื่อนตัวของไต้ฝุ่นเมอโลร์ (Melor) ที่จัดทำและเผยแพร่โดยองค์การจับตาความเสี่ยงจากพายุเขตร้อน (Tropical Storm Risk) วันพุธ (7 ต.ค.) ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นขนาดอันใหญ่โตมหึมาของซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกนี้ ขณะเคลื่อนตัวเข้าสู่ตอนกลางของญี่ปุ่น

สื่อต่างๆ ในเวียดนาม ได้ติดตามพายุลูกนี้แบบเกาะติด ขณะที่ทางการยังสั่งให้ทุกภาคส่วนเฝ้าระวังพายุโซนร้อนป้าหม่า (Parma) ที่ยังคงทำให้เกิดฝนตกหนักเหนือเกาะฟิลิปปินส์ และ ยังมีโอกาสที่บ่ายหน้าสู่ทะเลจีนใต้ครั้งใหม่ใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า

พายุป้าหม่าอ่อนกำลังลงเต็มที แต่ก็ยังอิทธิฤทธิ์ทำให้เกิดฝนตกกระจายคลุมอาณาบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภาคเหนือลงไปจนถึงภาคกลางของเกาะลูซอน สำนักพยากรณ์ TSR กล่าวว่า ถ้าหากสามารถทวีความเร็วศูนย์กลาง กลับมาเข้มแข็งขึ้นได้อีก ป้าหม่าอาจจะหันหัวสู่ทะเลจีนใต้ในคืนวันพฤหัสบดีนี้

ตามข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT ที่บันทึกโดย TSR “เมอโลร์” กับ “ป้าหม่า” ก่อตัวขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในย่านแปซิฟิกกลางกว่า 20 วันก่อน อยู่ห่างจากหมู่เกาะฟิลิปปินส์กว่า 1,000-2,000 กม.

เมื่อพัฒนาขึ้นเป็นไต้ฝุ่น พายุทั้งสองลูกนี้แทบจะไม่ได้ส่งอิทธิพลต่อกันเลย แต่ต่างก็มีเส้นทางเคลื่อนตัวของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่นักอุตุนิยมวิทยาเวียดนาม กล่าวว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพจำลองจากข้อมูลดาวเทียมขององค์การนาซ่า (NASA) พายุทั้งสองลูกมีชีวิตยืนยาวมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว เมอโลร์กำลังพัดกระหน่ำเหนือหมูเกาะญี่ปุ่น ส่วนป้าหม่ายังหันรีหันขว้างนำความชุ่มฉ่ำกลับไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์อีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์นี้ </FONT></bR>
เมอโลร์ ค่อยทวีความเร็วลมศูนย์กลางขึ้นเป็นระดับพายุโซนร้อน ขณะพัดผ่านหมู่เกาะมารีญาส (Marinas) ก่อนจะทวีความแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 5 (Category 5) ขณะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก C5 เป็นระดับสูงสุดของพายุเขตร้อน ที่มีความเร็วลมศูนย์กลาง 250 กม./ชม.ขึ้นไป ซึ่งจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่พัดผ่านจนราบพนาสูญ และ นี่คือ "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" อย่างแท้จริง

แต่โชคดี - ตามข้อมูลของ TSR เมอโลร์ลดความเร็วศูนย์กลางลงสู่ระดับ C2 (154-177 กม./ชม.) ก่อนจะเข้าถึงเกาะญี่ปุ่น และ ลดลงถึงระดับ C1 (119-153 กม./ชม.) ก่อนทะลวงเข้าเกาะฮอนชู (Honshu) ในตอนกลางอันเป็นที่ตั้งนครโอซากา (Osaka) และ นาโงยา (Nagoya)

พายุป้าหม่า กับ พายุเมอโลร์ ก่อตัวขึ้นในช่วงห่างไม่กี่วันหลังไต้ฝุ่นเกดสะหนา (Ketsana) เคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ พัดเข้าเวียดนามในวันที่ 29 ก.ย.สร้างความเสียหายเกือบ 900 ล้านดอลลาร์มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 164 คน

ในวันต่อมาพายุเกดสะหนายังพัดเลยเข้าสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนอีกหลายสิบในลาวและกัมพูชารวมกันอีกเกือบ 50 คนในวันต่อมา
<bR><FONT color=#cc00cc>เวียดนามยังเฝ้าจับตาบทบาทกับลีลาของพายุป้าหม่าอย่างไม่กระพริบ ตราบใดที่ยังหมุนอยู่ ทะเลจีนใต้ก็ยังไม่พ้นขีดอันตราย </FONT></bR>
กำลังโหลดความคิดเห็น