xs
xsm
sm
md
lg

ฉันทนาหยุดงานถี่การ์เมนต์เขมรปลดคนงาน 3 หมื่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>ยังโชคดี-- ภาพถ่ายเอเอฟพีวันที่ 9 ก.ย.2552 คนงานหญิงกลุ่มนี้ ทำงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกแห่งหนึ่งใน จ.พระสีหนุ (Preah Sihanouk) ห่างจากกรุงพนมเปญลงไปทางใต้ราว 230 กม. พวกเธอโชคดีที่ไม่ตกงาน ต่างกับเพื่อนร่วมอาชีพอีกหลายหมื่นที่โรงงานปิดลงจากผลกระทบเศรษฐกิจโลก ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงพนมเปญ</FONT></bR>

พนมเปญโพสต์ - คนงานโรงเย็บผ้ากว่า 300 คน จากโรงงานนิวพอยต์เวิลด์เทรดการ์เมนต์ ( New Point World Trade garment) ในเขตอำเภอรุสสีแก้ว (Russey Keo) ของกรุงพนมเปญ ทำการประท้วงเรียกร้องขอเงินชดเชยจากการปิดโรงงานโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าและไม่มีการจ่ายค่าแรงให้กับพนักงาน แม้ว่าหลายคนทำงานที่โรงงานแห่งนี้มานานกว่า 8 ปีแล้ว

คนงานกล่าวว่าตัวแทนโรงงานได้เสนอค่าจ้างคนละ 13 ดอลลาร์ต่อเดือน แลกกับการมีงานทำต่อ แต่ถูกคนงานปฏิเสธเพราะไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตในแต่ละวัน

นายเจาเพง (Chao Pheng) รองผู้อำนวยการบริษัทแห่งนี้กล่าวว่า เศรษฐกิจขาลงทำให้ต้องปิดโรงงาน เนื่องจากไม่มีผู้สั่งซื้อสินค้า แต่โรงงานมีกำหนดที่จะเปิดทำการอีกครั้งในปลายเดือนพ.ย. นี้

คนงานโรงงานเย็บผ้าของบริษัทฟอร์จูนการ์เมนต์ฯ (Fortune Garment and Woollen Knitting) ที่ จ.กันดาล (Kandal) ได้กลับเข้าทำงานอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพนักงานได้รับจดหมายจากมูลนิธิสภาอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Council Foundation) ที่เรียกร้องให้หยุดการประท้วง ซึ่งกลุ่มคนงานก่อหวอดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. โดยกล่าวหาว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะ

กระทรวงแรงงานประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่ามีโรงงานเย็บผ้าถึง 130 แห่งปิดตัวลง เนื่องจาก 3 ไตรมาสแรกของปี (เดือน ม.ค.-ก.ย.) มียอดการสั่งสินค้าลดลงทำให้คนงานกว่า 30,000 คน ว่างงานลง แต่กระทรวงแรงงานอ้างว่า ขณะที่โรงงานหลายแห่งปิดลง ก็ยังมีโรงงานอีกหลายแห่งรับสมัครคนงานนับหมื่นตำแหน่งเช่นกัน

ตามตัวเลขของกระทรวงฯ นี้ในช่วงเวลา 9 เดือนแรกของปี 2552 โรงงานเย็บผ้า 77 แห่งได้ปิดลง ทำให้คนว่างงาน 30,683 ตำแหน่ง ในขณะที่มีโรงงานเย็บผ้าอีก 53 แห่งปิดทำการชั่วคราว แรงงานอีก 30,617 คนไม่มีงานทำในช่วงที่โรงงานที่ปิด แต่ยังมีโรงงานเย็บผ้าอีก 40 แห่ง เปิดขึ้นใหม่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ทำให้สามารถจ้างแรงงานได้ 9,605 คน

นายกาง มุนีกา (Kaing Monika) ผู้จัดการด้านการพัฒนาธุรกิจของสมาคมธุรกิจสิ่งทอกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่า เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น