xs
xsm
sm
md
lg

ในที่สุดแคมโบเดียอังกอร์ก็ผงาดแทนเสียมราฐแอร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>เครื่อง ATR72-500 ของบางกอกแอร์เวย์สที่ตีตรา เสียมราฐแอร์ จอดที่ท่าอากาศยานเสียมราฐ-อังกอร์ เมืองเสียมราฐ จากภาพถ่ายปี 2550 สายการบินที่ดำเนินการโดยบริษัทจากประเทศไทยนี้ กำลังจะถูกแทนที่โดย แคมโบเดียอังกอร์ สายการบินแห่งชาติของกัมพูชา ที่การบินเวียดนามถืออหุ้นอยู่ 49% แต่ บูติกแอร์ไลน์ส ของไทย ยังคงสัมปทานเส้นทางกรุงเทพฯ-เสียมราฐ อยู่ต่อไป</FONT></bR>

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่ขององค์การการบินพลเรือนกัมพูชา ระบุว่า กัมพูชาจะไม่ต่อสัญญาฉบับใหม่กับสายการบินของไทยที่เปิดให้บริการในเส้นทางบินภายในประเทศของกัมพูชาอีกหลังจากที่สัญญาฉบับปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในเดือนหน้านี้

สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ได้เปิดให้บริการในเส้นทางบิน พนมเปญ-เสียมราฐ เป็นประจำทุกวัน นับตั้งแต่ที่สายการบินเสียราฐแอร์เวย์ส (Siem Reap Airways) ซึ่งเป็นสายการบินในเครือของสายการบินบางกอกแอร์เวย์สของไทยเองนั้น ต้องหยุดให้บริการในปีที่ผ่านมา เนื่องจากสหภาพยุโรปประกาศห้ามเครื่องบินของสายการบินเสียมราฐแอร์เวย์สขึ้นบิน โดยระบุว่า ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย

นายเหมา ฮาวัลนัล (Mao Havannal) เลขาธิการองค์การการบินพลเรือนกัมพูชา ระบุว่า รัฐบาลจะไม่ขยายเวลาในข้อตกลงกับบางกอกแอร์เวย์สที่เปิดให้บริการในเส้นทางบิน พนมเปญ-เสียมราฐ ต่อ หลังจากที่สัญญาจะหมดอายุในปลายเดือน ต.ค.นี้

“เราได้แจ้งให้กับทางบางกอกแอร์เวย์สทราบแล้วเกี่ยวกับการตัดสินใจในครั้งนี้ของเรา” นายเหมา กล่าวกับเอเอฟพี

ความเป็นมาของข้อสรุปที่จะไม่ต่อสัญญากับสายการบินของไทยดังกล่าวนี้ เนื่องจากทางการเขมรต้องการที่จะผลักดันให้สายการบินแห่งชาติสายใหม่ คือ สายการบินแคมโบเดียอังกอร์ (Cambodia Angkor Air) ที่ได้ทำพิธีเปิดไปเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เข้ามาให้บริการในเส้นทางในประเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แคมโบเดียอังกอร์ (Cambodia Angkor) ได้เปิดดำเนินการด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากสายการบินเวียดนามแอร์ไลนส์ ซึ่งเป็นผู้ลงทุนหลัก แต่ถือหุ้นส่วนน้อย 49% และ บริษัทร่วมทุนในกัมพูชาถือหุ้นส่วนใหญ่ 51% ทำให้มีสายการบินแห่งชาติเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากล้มหายไปตั้งแต่ปี 2544

จากความร่วมมือในครั้งนี้สายการบินเวียดนามแอร์ไลนส์ จะได้รับสิทธิ์ในการร่วมเป็นเจ้าของสายการบินแห่งชาติกัมพูชาเป็นเวลา 30 ปี ด้วยเงินลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์

ทางการเขมรกล่าวว่า การก่อตั้งสายการบินขึ้นมาท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจได้แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจต่อการลงทุนในกัมพูชาของฝ่ายเวียดนาม และสายการบินแห่งใหม่นี้จะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ

การท่องเที่ยวนับว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของกัมพูชา โดยมีนครวัด-นครธม เป็นไฮไลท์ของการท่องเที่ยวในประเทศมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2553 กัมพูชาได้ตั้งเป้าที่จะดึงนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยือนกัมพูชาให้ได้ 3 ล้านคน

แต่เป้าหมายดังกล่าวคงไม่มีวันเป็นความจริงได้ในปีที่เศรษฐกิจโลกย่ำแย่
กำลังโหลดความคิดเห็น