xs
xsm
sm
md
lg

เล็กๆ แต่มากด้วยโอกาสต่างชาติแห่ชิงตลาดเบียร์เขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#3366ff>กลุ่มผู้ผลิตเบียร์อังกอร์ (Angkor Beer) เร่งปั๊มผลิตภัณฑ์ใหม่ออกคลุมเซ็กเมนต์ต่างๆ ในตลาดเล็กๆ ขณะที่รายใหญ่จากต่างแดนเข้าไปแย่งชิงเค้กมากขึ้นทุกทีๆ </FONT></bR>

ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์-- เดือน ส.ค.นี้ กองทุนเลโอพาร์ดแคมโบเดีย (Leopard Cambodia Fund) ได้ประกาศซื้อหุ้น 55.5% ในบริษัทคิงดอมบริวเวอรี (Kingdom Brewery) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์น้องใหม่ในกัมพูชา ที่การศึกษาตลาดพบว่า ภายในปี 2556 อุตสาหกรรมนี้จะขยายตัวราว 82% ในเชิงมูลค่าและ 57% ในเชิงปริมาณ

ประเทศนี้มีประชากรเพียง 14 ล้านคนและรัฐบาลคุมกำเนิดอย่างเข้มงวด นอกจากนั้นกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรยังมีฐานะยากจนต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยสหประชาชาติเสียอีก

การผลิตเบียร์จะต้องใช้ฮ็อปกับบาร์เลย์เป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่ในกัมพูชาไม่มีอะไรสักอย่าง วัตถุดิบอย่างเดียวที่มีอยู่สำหรับใช้ผลิตเบียร์ก็คือน้ำเท่านั้น

อย่างไรก็ตามการศึกษาได้พบว่า ในวันนี้ชาวกัมพูชาดื่มเบียร์เพียงคนละ 14 ลิตรต่อปี ส่วนชาวจีนมีความกระหายมากกว่านั้นเกือบ 2 เท่า และยังเทียบไม่ได้กับชาวเวียดนามและชาวลาว บ้านใกล้เรือนเคียงที่ดื่มกันคนละ 19 กับ 23 ลิตรต่อปีตามลำดับ

เมื่อมองจากสายตาของนักการตลาด นั่นคือโอกาส

อย่างไรก็ตามกัมพูชาไม่ใช่ตลาดที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เจ้าของพื้นที่ล้วนเป็นยักษ์ใหญ่ คือ กลุ่มเอเชียแปซิฟิก บริวเวอรี (Asia Pacific Brewery) จากสิงคโปร์ ซึ่งมีโรงงานอยู่ในกรุงพนมเปญ กับคาร์ลสเบอร์กเบียร์ (Carlsberg) แห่งเดนมาร์ก ที่เข้ากัมพูชามาหลายปี และปัจจุบันครองส่วนแบ่ง 60% กับ 26% ตามลำดับ

คู่แข่งสำคัญอีกรายหนึ่งซึ่งครองตลาดที่เหลือคือ บริษัทแคมบรูว์ (Cambrew) ตั้งโรงงานที่เมืองท่าสีหนุวิลล์ ผลิตเบียร์ยี่ห้อ “อังกอร์” (Angkor Beer) ซึ่งเป็นแบรนด์เก่าแก่ โดยชูสโลแกน My Country, My Beer
<br><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งซึ่งระบุว่า เป็๋นรถส่งเบียร์ยี่ห้อเจด (Jade Beer) ในกรุงพนมเปญ ประเทศนี้ไม่มีทั้งฮอพและบาร์เลย์ แต่ก็มีน้ำอุดมสำหรับผลิตเบียร์ </FONT></bR>
เพราะฉะนั้นในกัมพูชาทุกวันนี้จึงมีเบียร์ดังเกือบจะทุกยี่ห้อเท่าที่จะหาพบในทวีปเอเชียวางจำหน่ายทั่วไป ยี่ห้อจากไทยและลาวก็มิได้รับการยกเว้น

นักลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มองกัมพูชาด้วยสายตายาวไกล ทั้งในแง่การเติบใหญ่ทางเศรษฐกิจและฐานประชากรซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มแน่น คนเหล่านั้นจะร่ำรวยขึ้นและบริโภคน้ำเมามากขึ้นในอีกไม่กี่ปี

ตามสถิติอย่างเป็นทางการ ปี 2548 ประชากรราว 52% มีอายุ 19 ปี หรืออ่อนกว่านั้น แต่อัตราส่วนจะลดลงเป็น 47% และ 42% ในปี 2553 และ 2556 ซึ่งหมายความว่า ชาวเขมรสวนใหญ่จะมีอายุมากขึ้น และจะมากยิ่งขึ้นในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เกื้อหนุนอุตสาหกรรมเบียร์ในประเทศ

ไม่เพียงแต่แคมบรูว์ APB กับคาร์ลสเบอร์กเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากโครงสร้างอายุของประชากรในกัมพูชา น้องใหม่อย่างคิงดอมบริวเวอรีก็มีโอกาสเท่าๆ กัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น