xs
xsm
sm
md
lg

มาลุ้นรถบัสเวียงจันทน์-กทม., เชียงใหม่-หลวงพระบาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#ff0000>ภาพถ่ายวันที่ 30 มี.ค.2551 รถโดยสารระหว่างประเทศ คันนี้ ออกจากสถานีรถโดยสารตลาดหนองจันทน์ มุ่งหน้าสู่สะพานมิตรภาพลาว-ไทย เพื่อข้ามไปฝั่งหนองคาย โดยมีปลายทางที่อุดรธานี วันข้างหน้าก็อาจจะมีอีกหลายคันเขียนเอาไว้ด้านข้างว่า นครหลวงเวียงจันทน์-บางกอก ..ประมาณนั้น </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการรายวัน-- เจ้าหน้าที่ไทยและลาวได้เสนอรัฐบาลของสองประเทศเปิดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสายยาวเวียงจันทน์-กรุงเทพฯ ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การไปมาหาสู่กันและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางหลายทอดหลาย ขณะที่รถโดยสารที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น

นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นำคณะเจ้าหน้าที่ของไทยไปร่วมประชุมเรื่องนี้กับฝ่ายลาวที่นำโดย นางเวียงสะหวัน สีพันดอน หัวหน้ากรม (อธิบดี) ขนส่ง กระทรวงโยธาการและขนส่งลาว ซึ่งจัดขึ้นในแขวงเชียงขวาง สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว (ขปล.)

ปัจจุบันไทยและลาวได้ร่วมกันอนุญาตให้เปิดเดินรถโดยสารประจำทางรวม 5 เส้นทางด้วนกัน คือ เวียงจันทน์-หนองคาย เวียงจันทน์-อุดรธานี เวียงจันทน์-ขอนแก่น ปากเซ-อุบลราชธานี กับ เส้นทางสะหวันนะเขต-มุกดาหาร ซึ่งที่ผ่านมาหลายเส้นทางมีผู้นิยมใช้มากขึ้น ขปล.กล่าว

ฝ่ายลาวได้เสนอให้เปิดเส้นทางเดินรถประจำทางเพิ่มจำนวน 3 สายคือ เวียงจันทน์-นครราชสีมา เวียงจันทน์-กรุงเทพฯ และสายท่าแขก (คำม่วน)-นครพนม โดยข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ขณะที่ฝ่ายไทยเสนอ เปิดรถโดยสารประจำทางสายยาว 2 สาย คือ เชียงใหม่-เชียงราย-บ่อแก้ว-อุดมไซ-หลวงพระบาง กับสาย เชียงราย-เชียงของ-ห้วยทราย-บ่อเต็น ตามทางหลวงสาย "อา3อา" (A3a) ซึ่งอยู่ติดชายแดนจีน

"ข้อเสนอทั้งหมดนี้แต่ละฝ่ายจะนำเสนอระดับบนของตน เพื่อค้นคว้าพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในขั้นต่อไป" ขปล.กล่าว

ตามรายงานของสำนักข่าวทางการ สองฝ่ายยังได้สรุปและประเมินผลการปฏิบัติความตกลงด้านการขนส่งทางบกในปีที่ผ่านมา บนจิตใจและเนื้อหาในบันทึกการประชุมปรึกษาหารือการขนส่งทางบกระหว่างไทยกับลาวที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ในเดือน ก.ย.2551

สองฝ่ายยังปรึกษาหารือภายใต้บรรยากาศแห่งความเข้าอกเข้าใจและอย่างตรงไปตรงมา เกี่ยวกับปัญหาที่ทำให้การขนส่งมีความล่าช้าไม่สะดวก
<bR><FONT color=#FF0000>ถ้าหากไทยกับลาวสามารถตกลงกันได้ คงอีกไม่นานหลังจากนั้น ก็จะเกิดมีรถบัสโดยสารระหว่างประเทศสายยาวๆ เพิ่มขึ้นอีก 2-3 เส้นทาง สร้างมิติใหม่ๆ ด้านการคมนาคมขนส่งในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง </FONT></bR>
ฝ่ายลาวได้เสนอให้ไทยพิจารณาเพิ่มเติม ปัญหาการตรวจตามด่านตรวจต่างๆ ที่มีความล่าช้า "บางจุดมีทั้งตำรวจและศุลกากรตรวจตามรายทาง" ปัญหาการใช้บัตรผ่านแดนเส้นทางเวียงจันทน์-ขอนแก่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมที่สะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย-ท่านาแล้ง) และอื่นๆ

ส่วนฝ่ายไทยได้ยกปัญหาการขึ้นค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่วิ่งข้ามแดนเข้าลาว จากคันละ 250 เป็น 700 บาท นอกจากนั้นฝ่ายไทยยังสะท้อนปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดไปกับรถโดยสารประจำทาง และปัญหาการขนส่งนักท่องเที่ยวไปเที่ยวแขวงสะหวันนะเขต สื่อของลาวกล่าวโดยไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาต่างๆ ดังกล่าว

ลาวและไทยได้ตกลงจะให้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับการขนส่งทางบกเป็นประจำทุกปี โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

สองประเทศได้ตกลงร่มกันก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 (ท่าแขก-นครพนม) มีการวางศิลาฤกษ์โครงการนี้เมื่อปีที่แล้ว หลังจากมีความล่าช้ามา 1 ปีเต็ม เนื่องจากค่าก่อสร้างที่พุ่งสูงขึ้น เช่นเดียวกันกับโครงการสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก

ไทย ลาวและจีน ได้ตกลงร่วมกันออกค่าใช้จ่ายสร้างสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขงแห่งล่าสุด เพื่อทะลุทางหลวงเอเชียสาย3เอ (A3a) หรือ “สาย 3 ตะวันออก” (R3e) จากชายแดนจีนเข้าสู่ประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การคมนาคมขนส่งระหว่างสามประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น