xs
xsm
sm
md
lg

ผวาอาฟต้าน้ำตาลพม่าไม่หวานเกษตรกร 4 แสนแย่แน่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0000>เริ่มปั่นป่วน---  ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 6 มี.ค.2552 คนงานกำลังช่วยกันขนต้นอ้อยขึ้นจากเรือที่ท่าเรือแห่งหนึ่งในเขตรอบนอกกรุงย่างกุ้ง มีเกษตรกรกับคนงานในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลราว 450,000 คน ทั้งหมดกำลังถูกข่มขู่จากเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับในอีก 5 ปีข้างหน้า น้ำตาลพม่าจะต้องแข่งขันกับน้ำตาลที่ผลิตในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่างดุเดือดแหลมคมที่สุด.</FONT></bR>

ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์—ยังมีเวลาอีก 5 ปีกว่าเขตการค้าเสรีอาเซียนจะเริ่มมีผล แต่ก็สั้นพอที่จะทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใหญ่โตแต่อ่อนแอในพม่าต้องสั่นไหว ราคาในตลาดโลกตกต่ำ ตลาดใหญ่ยุโรปปิดประตูด้วยมาตรการคว่ำบาตร วัตถุดิบเริ่มขาดแคลน ผู้ประกอบการกำลังวิตกกันว่าหากปรับตัวไม่ได้หรือไม่ทันก็มีโอกาสพังทั้งระบบ

ความใหญ่โตของอุตสาหกรรมอ้อย-นำตาลในประเทศนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจำนวนเกษตรกรกับคนงานในระบบที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่โรงงานน้ำตาลแห่งแรกตั้งขึ้นในในช่วงปี พ.ศ.2460 เศษๆ โดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษ

จนถึงปัจจุบันมีเกษตรกรและคนงานในอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลประมาณ 450,000 คน ขณะที่มีปัญหาภายในอย่างมากมาย ตั้งแต่ผลผลิตออกด้อยคุณภาพ ไม่มีโอกาสเข้าสู่ตลาดใหญ่ของโลก ไม่สามารถแข่งขัน พันธุ์อ้อยขาดการพัฒนาและให้ผลผลิตต่ำ ผู้ประกอบการขาดเทคโนโลยีทันสมัย

เมื่อสนธิสัญญาเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Agreement) มีผลบังคับใช้ในปี 2558 น้ำตาลปลอดภาษีจากประเทศเพื่อนบ้านก็จะหลั่งเข้าพม่า ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่เกือบ 50 ล้านคน

"เรายังไม่พร้อมจะเผชิญหน้ากับการท้าทายกับคู่แข่งจากต่างประเทศ เราต้องการพันธุ์อ้อยที่คุณภาพดีกว่าปัจจุบัน ต้องการความรู้ทางเทคนิค การสนับสนุนทางการเงินสำหรับเกษตรกรและผู้ผลิต และต้องการวิธีการผลิตที่ดีกว่าในขณะนี้" นายสานเต็ง (San Thein) เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาน้ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม (1) กล่าวกับนิตยสารข่าวรายสัปดาห์เมียนมาร์ไทมส์เมื่อเร็วๆ นี้

"เราเป็นห่วงว่าเราจะอยู่รอดได้หรือไม่เมื่ออาฟตามีผลบังคับและน้ำตาลปลอดภาษีจากต่างแดนไหลเข้าสู่ตลาดในประเทศ" นายเต็งกล่าวสะท้อนความกังวลของผู้ประกอบการ ทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ

รัฐบาลอนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลได้อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่ต้นปี 2551 แต่ในทางปฏิบัติไม่มีโรงงานไหนสามารถทำได้ และสิ่งที่ทำได้ก็คือ จำหน่ายต้นอ้อยให้จีนมากขึ้น ผ่านการค้าข้ามแดนมณฑลหยุนหนัน

ไร่อ้อยส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ กับเขตสะกาย (Sagaing) ทางภาคเหนือ กับอีกส่วนหนึ่งอยู่ในเขตพะโคทางตะวันออกเฉียงเหนือกรุงย่างกุ้ง

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ในปีงบประมาณ 2551-2552 ที่สิ้นสุดลงในเดือน มี.ค.ปีนี้ พม่าผลิตน้ำตาลได้ 279,321 ตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 276,796 ตันในปีงบประมาณ 2550-2551 และ 252,561 ตันในปีงบประมาณ 2549-2550 กับ 225,764 ตัน ในปีงบประมาณ 2548-2549

น้ำตาลทรายขาวที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ใช้บริโภคในประเทศและในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกส่วนหนึ่งส่งจำหน่ายให้จีนเป็นสินค้าข้ามแดน

ความจริงพม่าซึ่งเป็นประเทศที่ยังยากจนน่าจะได้รับโควตาส่งออกจากโลกตะวันตก แต่เรื่องนี้ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อสหภาพยุโรป 27 ประเทศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลทหารติดต่อกันมาหลายปี ฐานละเมิดสิทธิมนุษยชนและไม่ปฏิรูปประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในเร็ววัน

ย้อนหลังไปเมื่อปี 2497 อุตสาหกรรมน้ำตาลทั้งหมดถูกยึดคืนเป็นของรัฐ รัฐบาลวางแผนการปลูกอ้อยเองทั้งหมด ซึ่งได้ทำให้เกิดรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาลขึ้นในหลายกระทรวง ขณะที่รัฐบาลควบคุมการค้าขาย ภายใต้โครงการเศรษฐกิจสังคมนิยมของคณะปกครองทหาร
<br><FONT color=#ff0000>เวียดนามผลิตน้ำตาลไม่พอใช้ในประเทศ ยังต้องนำเข้าปีละนับแสนตัน แต่ที่นั่นก็ไม่ใช่ตลาดของน้ำตาลจากพม่า </FONT></bR>
เมื่อพม่าเข้าสู่ยุคใหม่เริ่มยอมรับเศรษฐกิจแบบการตลาด อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลแห่งชาติก็ถูกแปรรูป เกิดวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมในอุตสาหกรรมนี้มากมาย แต่ในที่สุดบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ก็ได้พัฒนาเติบใหญ่เข้าแย่งตลาด

ปัจจุบันบริษัทเอกชนรายใหญ่ 2-3 แห่งผลิตน้ำตาลประมาณ 60% ของทั้งหมด ที่เหลือผลิตโดยรัฐวิสาหกิจต่างๆ กับผู้ผลิตรายย่อยรวมกัน

มองไปข้างหน้าพม่ากำลังจะต้องแข่งกับเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ ประเทศไทยซึ่งราคาน้ำตาลในประเทศกำหนดเอาไว้สูง แต่สามารถส่งออกในราคาที่ต่ำกว่าได้

พม่ายังต้องแข่งขันกับลาวซึ่งอุตสาหกรรมน้ำตาลเพิ่งจะเกิดเมื่อปีที่แล้ว โดยโรงงานน้ำตาลในแขวงสะหวันนะเขตกลุ่มน้ำตาลมิตรผลจากประเทศไทยเริ่มเดินเครื่องและส่งน้ำตาลทรายจำหน่ายในยุโรปเป็นครั้งแรก

มิตรผลไม่ได้เข้าลาวโดยลำพัง แต่ได้พ่วงเทตแอนด์ลายล์ซึ่งเป็นพันธมิตรยุทธศาสตร์จากอังกฤษ และเป็นผู้ค้าน้ำตาลรายใหญ่ของโลก เข้าไปด้วย

โรงงานน้ำตาลแห่งแรกของลาวผลิตได้เพียง 23,000 ตันในปีแรก คาดว่าปีนี้จะผลิตได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นประมาณ 25,000 ตัน แต่เป้าหมายในวันข้างหน้าคือ 45,000 ตัน และจะเพิ่มขึ้นเป็นนับแสนๆ ตันเมื่อมีวัตถุดิบเพียงพอ

ตามรายงานของสื่อทางการ กลุ่มมิตรผลกำลังขยายพื้นที่ปลูกอ้อยออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งในแขวงสะหวันนะเขต และแขวงใกล้เคียง พื้นที่ไร่อ้อยที่มีอยู่เพียง ประมาณ 8,100 เฮกตาร์ (5 หมื่นไร่เศษ) กำลังขยายออกไปเป็นประมาณ 10,000 เฮกตาร์ (กว่า 62,000 ไร่) ในปีนี้

คู่แข่งเล็กๆ อย่างลาวมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยกว่า และมีตลาดยุโรปรองรับ ในขณะที่เกษตรกรในพม่าเริ่มหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจเช่นข้าว ข้าวโพด กับพืชตระกูลถัวต่างๆ มากขึ้นทุกปี เนื่องจากได้ราคาดีกว่าอ้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลอนุญาตให้ส่งออกข้าวได้อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการในปี 2551 ทั่วพม่ามีพื้นที่ไร่อ้อยรวมกันประมาณ 161,000 เฮกตาร์ (1 ล้านไร่เศษ) แต่พื้นที่เริ่มลดลงทุกปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในระยะยาว ขณะที่อุตสาหกรรมพื้นฐานหลายชนิด เช่นอุตสาหกรรมผลิตอาหาร นมข้นหวาน รวมทั้งโรงงงานผลิตสุราแห่งต่างๆ ต้องใช้มากขึ้นทุกปี

นายเต็งกล่าวว่า เมื่อมองในภาพรวมอุตสาหกรรมน้ำตาลในพม่ามีปัญหาทั้งในระดับเกษตรกร ผู้ผลิตรายย่อยและโรงงานขนาดใหญ่ของนักลงทุนเอกชน ขณะที่ราคาในตลาดโลกตกต่ำลงเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีมานี้ ส่งผลกระทบถึงคนหลายแสน

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่าเมื่อเขตการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับ น้ำตาลพม่าก็มีโอกาสเท่าๆ กับสินค้าอย่างอื่นในการเจาะตลาดใหญ่ๆ รอบบ้านเช่น ไทยซึ่งน้ำตาลราคาแพงกว่า กับเวียดนามตลาดผู้บริโภคใหญ่กว่า 80 ล้านคน

เวียดนามต้องนำเข้าน้ำตาลเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการผลิตในประเทศประสบปัญหาคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือขาดแคลนวัตถุดิบ พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด เกษตรกรหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นแทน

แต่การจะฝ่าด่านที่เกิดใหม่อย่างลาวก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทั้งหมด ปัจจุบันเทตแอนด์ลายล์ พันธมิตรของกลุ่มลาวมิตรผลได้เข้าไปปักธงตั้งโรงงานน้ำตาลใน จ.เหงะอาน (Nghe An) ของเวียดนามที่อยู่ติดชายแดนลาวเรียบร้อยแล้ว นัยว่าเป็นการยึดพื้นที่รอเขตการค้าเสรีอาเซียน.
กำลังโหลดความคิดเห็น