xs
xsm
sm
md
lg

ที่ไหนดี- เยล พรินซ์ตัน คอร์แนลหรือสแตนฟอร์ด?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>ปาล์มไดรฟ์ ภายในสแตนฟอร์ดที่ปาโลอัลโต (Palo Alto) บรรยากาศกับกลิ่นอายยุคอาณานิคมสเปน </FONT></br>

เตี่ยนฟง/เวียดนามนิวส์-- ขณะที่เพื่อนๆ ร่วมโรงเรียนเดียวกันกำลังเตรียมสอบเอ็นทรานซ์อย่างเคร่งเครียด เหวียนห่มง์แฮ็ง (Nguyen Hong Hanh) กำลังเตรียมตัวเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐฯ หลังจากได้รับทุนการศึกษาจากสถาบันชั้นนำจำนวน 11 แห่ง และ เธอเลือกมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แทนที่จะเป็นคอร์แนล เยล และพรินซ์ตัน
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพจากแทงเนียน.. นักเรียน ม.6 ผู้โชคที่สุดในเวียดนาม </FONT></br>
แฮงเป็นนักเรียนเรียนดีของโรงเรียนมัธยมฮานอย-อัมสเตอร์ดัม ในกรุงฮานอย ซึ่งเป็นโรงเรียนชั้นยอดสำหรับเด็กเรียนเก่งเฉพาะทาง เธอเน้นการเรียนภาษาอังกฤษเป็นอันดับแรกและได้ขอทุนการศึกษาไปยังสถาบันที่มีชื่อเสียงในสหรัฐฯ ซึ่งปรากฏว่า ได้รับการตอบรับจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ ถึง 11 แห่ง รวมทั้งที่ติดอันดับใน “ไอวี่ลีค” จำนวนหนึ่งด้วย

ค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดนั้นตกปีละ 57,000 ดอลลาร์ หรือ 228,000 ดอลลาร์ตลอด 4 ปีหลักสูตรปริญญาตรี ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ที่ครอบครัวชาวเวียดนามพื้นฐานทั่วไปจะสามารถส่งบุตรหลานของตนไปเรียน

ข่าวเกี่ยวกับ น.ส.เหวียนห่มง์แฮง ได้รับความสนใจจากสื่อในเวียดนาม เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นขณะที่การปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานในประเทศนี้ซึ่งดำเนินมา 3 ปีกำลังส่งผลดี ปีนี้มีนักเรียนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอัตราสูงขึ้น ต่างกับปี 2548 ซึ่งมีนักเรียนสอบเลื่อนชั้นไม่ผ่านเกณฑ์อยู่เกือบครึ่งต่อครึ่ง

ชีวิตการเรียนของเด็กสาวคนนี้ต่างไปจากนักเรียนในเวียดนามส่วนใหญ่ เธอมีสายสัมพันธ์กับกลุ่ม สมาคมและองค์กรต่างๆ ในสหรัฐฯ มาเป็นเวลาหลายปี และเคยได้รับทุนไปเรียนที่นั่นมาแล้วครั้งหนึ่งและมีภาระที่จะต้องตอบแทนด้วยเหมือนกัน
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพจากเวียดนามเอ็กซ์เพรส วันเก่าๆ กับรอยยิ้มหลังออกจากห้องสอบปลายภาคชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย </FONT></br>
แฮงได้รับการช่วยเหลือจากสมาคมเล็กๆ ของอดีตนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่มีชื่อว่า SealNet ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการสร้างผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปี 2549 แฮงซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมนี้ได้เรียนรู้การสร้างชุมชนสัมพันธ์ในนครด่าหนัง ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจัดฝึกอบรมส่งเสริมการเป็นผู้นำในหมู่เยาวชน ช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ และเมื่อปีที่แล้วนักเรียนสาวแห่งโรงเรียนมัธยมชื่อดัง ได้เริ่มส่งจดหมายติดต่อขอทุนการศึกษาไปยังสถาบันต่างๆ ในสหรัฐฯ

แฮงเคยได้รับรางวัลรองชนะเลิศในการประกวดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนโรงเรียนเฉพาะทางที่มีชื่อเสียงระดับชาติ ซึ่งทำให้เธอ เชื่อมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างดี สหรัฐฯ เป็นปลายทางที่นักเรียนสาวตั้งเป้ามาหลายปีแล้วว่าจะต้องไปศึกษาต่อให้ได้
<br><FONT color=#cc00cc>ที่นี่..พรินซ์ตัน สุดยอดปรารถนาอีกแห่งหนึ่งของนักเรียนจากทั่วโลก </FONT></br>
แฮงเป็นสมาชิกลงทะเบียนของเว็บไซต์ VietAbroader ซึ่งเป็นประชาคมชาวเน็ตที่สมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเวียดนามในโพ้นทะเล และได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์มาตลอด

เธอได้สมัคราขอทุนกรศึกษาไปที่มหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) วิทยาลัยดาร์ธมัธ (Darthmouth College) มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown) วิทยาลัยวิลเลียม (William College) วิทยาลัยสวาร์ธมอร์ (Swarthmore College) มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton) มหาวิทยาลัยเยล (Yale) วิทยาลัยโอเบอร์ลิน (Oberlin College) มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell) วิทยาลัยเม้าท์โฮลีโอ๊ค (Holyoke College) และ สแตนด์ฟอร์ด (Standford)

ในนั้นมี 5 แห่งที่ติดอันดับสถาบันการศึกษายอดนิยมจำนวน 8 แห่งในสหรัฐฯ คือ บราวน์ ดาร์ธมัธ พรินซ์ตัน เยล กับคอร์แนล
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพมุมสูงมหาวิทยาลัยคอร์แนล สุดยอดปรารถนาของนักศึกษาจากทั้งโลกอีกแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก  </FONT></br>
เล-สี-ฮวี-แอง (Le Sy Huy Anh) เพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ฮานอย-อัมสเตอร์ดัม กล่าวว่า ไม่มีใครแปลกใจเลยแฮงได้รับทุนการศึกษาตั้ง 11 ทุนพร้อมกัน เพราะว่าภาษาอังกฤษของเธอดีมากๆ "เธอเขียนบทความภาษาอังกฤษได้ดีที่สุดในโรงเรียนของเรา"

แฮงกล่าวว่าเธอเลือกสแตนฟอร์ด แทนที่จะเป็นเยล หรือพรินซ์ตัน เนื่องจากสถาบันชั้นนำแห่งนี้ ยังใหม่และยังคง "กระฉับกระเฉง" นอกจากนั้นยังอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ที่มีประชาคมชาวเวียดนามโพ้นทะเลใหญ่โต มีเฝอ (ก๋วยเตี๋ยวเวียดนาม) มีทะเลสีครามและท้องฟ้าใส เช่นเดียวกับในเวียดนามบ้านเกิด

เธอบอกว่ารู้จักมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 โดยมีเพื่อนใน VietAbroader เล่าสู่ฟัง และในปี 2550 เธอก็ได้ไปเยือนสถาบันที่มีชื่อเสียงแห่งนี้ ตอนที่ได้รับทุนไปเรียนเป็นเวลาหนึ่งปีในรัฐคอนเน็กติกัต (Connecticut)
<br><FONT color=#cc00cc>อีกมุมหนึ่งภายในสแตนฟอร์ด ที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมโดดเด่นเฉพาะตัว</FONT></br>
<br><FONT color=#cc00cc>ฮูเวอร์ทาวเวอร์ ภายในอาณาบริเวณอันกว้างของสแตนฟอร์ด</FONT></br>
"นักศึกษาสแตนฟอร์ดคนหนึ่งนำหนูไปดูที่คณะบริหารรัฐกิจ.. มันช่างยิ่งใหญ่มาก ไปไปดูตอนที่เขาเรียนกัน ตอนที่ศาสตราจารย์ตั้งคำถามยากๆ ให้นักศึกษาได้ถกกัน..หนูชื่นชมมาก" แฮงกล่าว

เธอยังมีเวลาอีก 2 เดือนก่อนจะออกเดินทางไปแคลิฟอร์เนีย แต่มีภาระที่จะต้องไปช่วยผู้เชี่ยวชาญฝึกอบรมนักเรียนรุ่นน้องอีกหลายงาน ภายใต้อำนวยการของ SealNet

แฮงอาจจะยังไม่ใช่ผลพวงโดยตรงจากการปฏิรูปการศึกษาพื้นฐานในเวียดนามที่เริ่มเมื่อปี 2548 ซึ่งหลังจากมีการเข้มงวดกวดขันการทุจริตในการสอบอันเป็นปัญหาเรื้อรังมานานนับสิบปี ทำให้มีนักเรียนสอบไม่ผ่านเกณฑ์ และไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายถึง 40% ทั่วประเทศ
<br><FONT color=#cc00cc>ไกลออกไปทางฝั่งตะวันออก ที่เมืองนิวเฮเว่น รัฐคอนเน็กติกัต (Connecticut) ที่นี่วิทยาลัยแบร็นฟอร์ด มหาวิทยาลัยเยล ไกลเกินไปจากเวียดนาม? </FONT></br>
ตามรายงานของกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม ปีนี้ยังมีนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 สอบไม่ผ่าน ไม่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศถึง 150,000 คน ในการสอบที่จัดขึ้นในต้นเดือน มิ.ย.นี้ คิดเป็น 16.2% ของนักเรียนที่เข้าสอบทั่วประเทศ

กระทรวงฯ กล่าวว่าผลการสอบปีนี้ “น่าพอใจ” แม้ว่าจำนวนนักเรียนสอบตกจะเพิ่มขึ้น 7.8% เทียบกับปีที่แล้ว แต่คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์สูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา

อัตรานักเรียนที่เรียนจบเฉลี่ยในปีนี้คือ 83.3% โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งใน จ.นามดี่ง (Nam Dinh) ใกล้กับกรุงฮานอยทำสถิติมีนักเรียนจบสูงสุด 98% ขณะที่โรงเรียนมัธยมใน จ.เซินลา (Son La) แห่งหนึ่งทำสถิติต่ำสุด คือ มีนักเรียนเจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพียง 39% .
กำลังโหลดความคิดเห็น