xs
xsm
sm
md
lg

“ฮอร์นัมฮง” ลั่นน้ำลายฟุ้งเขมรพร้อมเผชิญหน้าทหารไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0000>มรดกประวัติศาสตร์-- ภาพถ่ายวันที่ 19 มิ.ย.2552 รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ นายเมธา พร้อมเทพ กับเจ้าหน้าที่ที่ปราสาทสะด๊กก๊อกธม ชายแดน อ.ตาพระยา ที่นั่นอยู่ห่างจากเส้นเขตแดนกว่า 1 กม. แวดล้อมด้วยบ้านเรือนของราษฎรไทย 2-3 หมู่บ้าน แต่กัมพูชาก็ยังอ้างความเป็นเจ้าของปราสาทที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรรมันที่ 2 แห่งนี้ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรพร้อมเครื่องจักรกลกำลังเร่งฟื้นฟูบูรณะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชายแดนไทย-กัมพูชายังมีปัญหาอีกหลายจุด </FONT></bR>

เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ประกาศในกรุงพนมเปญ พร้อมพบกับฝ่ายไทยทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร บนเวทีระหว่างประเทศ หรือการเจรจาอย่างสันติ ขณะที่ นายกรัฐมนตรีไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังคงยืนยัน จะแจ้งไปยังคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อให้ทบทวนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชา

การเปิดประเด็นของฝ่ายไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างความไม่พอใจให้แก่กัมพูชา ซึ่งสัปดาห์ที่แล้ว สมเด็จฯอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ให้สัมภาษณ์ตอบโต้ความริเริ่มของผู้นำไทยอย่างเผ็ดร้อน

หลังรัฐบาลในกรุงพนมเปญ ยื่นขอจดทะเบียนในเดือน ก.ค.2551 ได้นำไปสู่ความตึงเครียดขึ้นที่ชายแดนด้านเขาพระวิหาร และนำไปสู่การปะทะระหว่างกองกำลังสองฝ่ายในเดือน ต.ค. ซึ่งทหารกัมพูชาเสียชีวิต 3 และทหารไทย อีก 1 ความตึงเครียดรอบใหม่นำไปสู่การปะทะอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 3 เม.ย.ปีนี้ ซึ่งทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 2 นาย และทำให้ตลาดชายแดนที่ทางขึ้นปราสาททางฝั่งไทยถูกยิงถล่มพังทลายราบ

นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลอีกครั้งหนึ่งในการออกรายการพบประชาชนทางโทรทัศน์ตอนเช้าวันอาทิตย์ (21 มิ.ย.) นี้ โดยให้เหตุผลว่า ผืนดินรอบๆ ปราสาทเป็นดินแดนในพิพาทระหว่างสองประเทศ

ส่วนฝ่ายกัมพูชาออกโรงวิจารณ์ท่าทีของรัฐบาลไทยอย่างหนักอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันเสาร์ (20 มิ.ย.) ระบุว่า หากจำเป็นทหารกัมพูชาก็พร้อมที่จะป้องกันอธิปไตยของประเทศ
<br><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 7 พ.ย.2551 พระสงฆ์ชาวกัมพูชาเดินผ่านบริเวณซากพังของปราสาทเก่าแก่ ที่คณะกรรมการมรดกโลก องค์การยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนตามคำร้องขอของกัมพชาในเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว สมเด็จฯ ฮุนเซนกล่าวว่าไม่มีทาง ความทะเยอทะยาน ของ นายกฯ ไทยจะประสบความสำเร็จ </FONT></br>
นายฮอร์นัมฮง (Hor Nam Hong) รัฐมนตรีต่างประเทศวัย 72 ปีของกัมพูชา กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า ประเทศของเขา “ยินดีต้อนรับประเทศไทย ทั้งทางการทหาร การทูต การระหว่างประเทศ หรือผ่านการเจรจาอย่างสันติ” ทั้งนี้ เป็นรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี

“(แต่) มัน (การปะทะชายแดน) เกิดมาแล้ว 2 ครั้ง... (ดังนั้น) ถ้าหากพวกเขาอยากจะส่งทหารเข้ามากัมพูชาอีกเป็นหนที่สาม เราก็จะต้อนรับพวกเขาด้วยเหมือนกัน” เอเอฟพี อ้างคำกล่าวของ รมว.ต่างประเทศฝีปากกล้า ให้สัมภาษณ์ในกรุงพนมเปญ

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ดืมอัมปึล (Deum Ampil) สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แสดงท่าทีอย่างแข็งกร้าวต่อความริเริ่มของผู้นำไทย
 <bR><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มรอยเตอร์ สมเด็จฯ ฮุนเซน ยิ้มร่าในพิธีมอบคืนโบราณวัตถุที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญ ระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ไม่ทันข้ามสัปดาห์ เสียงสรวลเสเฮฮาหายไปสิ้น มีเสียงข้อนขอดก่นประณามช้ามแดนมาถึงผู้นำไทย </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>ส่วนอีกทางหนึ่ง ภาพแฟ้มเอเอฟพี 4 พ.ย.2551 นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ต้อนรับสมเด็จฯ ฮุนเซนในกรุงฮานอยด้วย แบร์ฮัก (Bear Hug) การสวมกอดแบบสหายร่วมรบสไตล์คอมมิวนิสต์โซเวียต รัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซนจะนิ่งเงียบเมื่อมีปัญหากับเวียดนาม แต่หากมีปัญหากับเพื่อนบ้านอีกด้านหนึ่งจะส่งเสียงดังเอะอะโวยวาย เพื่อเรียกร้องความสนใจ.. เป็นเช่นนี้มาตลอด</FONT></bR>
นรม.กัมพูชา กล่าวว่า การเรียกร้องของไทยจะไม่มีทางสำเร็จ เนื่องจาก UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว พร้อมทั้งกล่าวอ้างอีกว่า ศาลระหว่างประเทศกรุงเฮก ยังได้ตัดสิน “ยกดินแดนรอบๆ ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา” ด้วย

สมเด็จฯฮุนเซน ระบุดังกล่าวในการให้สัมภาษณ์หลังเสร็จจากการต้อนรับการเข้าเยี่ยมคำนับและหารือของ นายสุรยา สุเบดี (Surya Subedi) ผู้แทนองค์การสหประชาชาติฝ่ายกิจการสิทธิมนุษยชนประจำกัมพูชา ที่กระทรวงการต่างประเทศ วันพฤหัสบดี (18 มิ.ย.)

“ผมเชื่อว่า มันเป็นคำพูดของนายกรัฐมนตรีของประเทศหนึ่ง ที่รบกวนอำนาจอธิปไตยของอีกประเทศหนึ่ง ผมเสียใจที่ได้ยินการแสดงความเห็นและเป้าหมายของเขา (เช่นนั้น) แต่ตอนที่มาเยือนกัมพูชา เขาไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับผม แต่ผมก็เชื่อว่าเป้าหมายของเขาจะไม่ประสบความสำเร็จ” หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันอ้างคำกล่าวของผู้นำกัมพูชาที่อยู่ในอำนาจมา 24 ปี
<br><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 26 ม.ค.2552 นายฮอร์นัมฮอง ต้อนรับนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศของไทย ในกรุงพนมเปญ รมว.ต่างประเทศกัมพูชาเป็นนักการทูตสไตล์ดุดันแบบโซเวียต (สอยปลายคางคู่ต่อสู้ก่อนค่อยเจรจา) เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ยังหลงเหลือมาจากยุคสงครามเย็น ฝ่ายไทยเป็นนักการทูตอาชีพร่วมยุคด้วยกันมา เป็นคู่ต่อสู้ที่สมน้ำสมเนื้อที่สุด อีกคู่หนึ่งในภูมิภาคนี้ </FONT></br>
<br><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 21 ก.ค.2551 พล.อ.เตียบัญ รมว.กลาโหมกัมพูชา ร่วมแถลงข่าวกับ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชการทหารสูงสุดของไทย หลังการพบเจรจาของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่ อ.อรัญประเทศ เพื่อหาทางลดความตึงเครียด แต่ไม่เป็นผล ผู้นำเจรจาฝ่ายไทยเกษียณอายุราชการไปอีกไม่กี่เดือนต่อมา ฝ่ายกัมพูชายังอยู่.. อยู่ในตำแหน่งนี้มานานกว่า 20 ปีแล้ว</FONT></bR>
<br><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มวันที่ 23 ต.ค.2551 พล.ท.เจียมอน (Chea Mon) แม่ทัพภาค 4 แลกเปลี่ยนเอกสารกับ พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาค 2 ของไทยที่เมืองเสียมราฐ ในการพบเจรจาเพื่อหาทางลดจำนวนทหารตามแนวชายแดนด้านพระวิหารลง
สมเด็จฯ ฮุนเซน กล่าวอีกว่า “ประเด็นหลักนั้นเกี่ยวกับการตัดสินของศาลกรุงเฮก ซึ่งได้ให้ปราสาทพระวิหาร กับอาณาบริเวณโดยรอบแก่กัมพูชา นี่คือประเด็นแรก และประเด็นที่สอง ก็คือ ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว”

“ไม่ว่าเขาจะมีความเรียกร้องต้องการให้มีการทบทวนอย่างไรก็ตาม นั่นก็เป็นเพียงความคิดเห็นของเขา และผมหวังว่า ยูเนสโกคงจะไม่บอดใบ้พอที่จะกระทำตามความทะเยอทะยานของนายอภิสิทธิ์”

นายอภิสิทธิ์ ที่กลับจากการเยือนกรุงพนมเปญอย่างเป็นทางการสัปดาห์ที่แล้ว ในความพยายามหาทางแก้ไขปัญหาชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้ ได้กล่าวว่า การกระทำขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO เป็นต้นตอที่จะต้องกล่าวหา เนื่องจากทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นมา
<br><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มวันที่ 7 พ.ค.2551 หลังการปะทะวันที่ 15 ต.ค.ทหารกัมพูชาคนหนึ่งนำ ผ้ายันต์ กับตะกรุด ซึ่งเป็นของดี ในการป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ออกอวดเพื่อนๆ ที่ปราสาทพระวิหาร พวกเขาพร้อมแล้วที่จะเผชิญหน้ากับทหารไทยเมื่อไรก็ได้  </FONT></br>
<br><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 15 ต.ค.2551 ทหารกัมพูชากำลังตรวจศพเพื่อนร่วมรบหนึ่งในสองคนที่เสียชีวิตในการปะทะที่ชายแดนด้านภูมะเขือวันเดียวกัน พวกเขาพร้อมเผชิญหน้ากับกองทัพไทยอีกครั้งหนึ่ง? อย่างน้อยที่สุดนักการเมืองในกรุงพนมเปญกล่าวเช่นนั้น  </FONT></br>
<br><FONT color=#FF0000>พร้อมเผชิญหน้า-- ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 5 เม.ย.2552 หลังการปะทะกับทหารของไทย 2 วันก่อนหน้านั้น ซึ่งทหารไทยเสียชีวิต 2 นาย ทหารกัมพูชาประจำที่ตั้งปืนกลใกล้ๆ กับปราสาทพระวิหาร เมื่อวันเสาร์ (20 มิ.ย.) นี้ รัฐมนตรีกัมพูชายืนยันพร้อมเผชิญหน้ากับทหารไทยอีก.</FONT></br>
“เราเป็นห่วงว่าความเคลื่อนไหวของยูเนสโก อาจจะทำให้ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น” นายอภิสิทธิ์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าว ทั้งยังระบุว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปกัมพูชาในเร็วๆ นี้ เพื่ออธิบายจุดยืนของไทย ซึ่งฝ่ายไทยเชื่อว่า ปัญหาชายแดนจะสามารถแก้ไขได้ด้วยสันติวิธี

แม้ศาลระหว่างประเทศกรุงเฮก จะได้ตัดสินในปี 2505 ให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่อาณาบริเวณโดยรอบโดยส่วนใหญ่ รวมทั้งบันได้หินทางขึ้นล้วนอยู่ทางฝั่งไทย

ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยในอดีตจะเคยแถลงว่า ยอมรับในคำตัดสิน แต่ก็ได้ทำบันทึกเป็นหลักฐาน แจ้งต่อศาลโลกกรุงเฮก ยืนยันในอธิปไตยของไทยเหนืออาณาบริเวณโดยรอบปราสาท ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ราว 4.5 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากเป็นดินแดนในเขตสันปันน้ำของไทย ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
<br><FONT color=#FF0000>มฤตยูยังอยู่ที่นั่น-- ภาพถ่ายวันที่ 19 มิ.ย.2552 เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการเก็บกู้วัตถุระเบิดแห่งชาติ (TMAC) กับมูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน กำลังเร่งเก็บกู้กับระเบิดและวัตถุระเบิดอื่นๆ ที่บริเวณบ้านหนองมั่ง อ.ตาพระยา ห่างจากชายแดนเข้ามาราว 1 กม. การเก็บกู้ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาดำเนินมากว่า 10 ปีแล้ว และ ยังจะต้องเวลาอีกเท่าๆ กันจึงจะประกาศเป็นพื้นที่ปลอดภัยได้.</FONT></br>
<br><FONT color=#FF0000>ภาพถ่ายวันที่ 19 มิ.ย.2552 เจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิดของ TMAC ร่วมกับมูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน (MOM) ยังคงเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดหลายชนิดตามแนวชายแดนด้าน อ.ตาพระยา-อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เก็บกู้มาแล้วกว่า 10 ปีและอาจจะต้องใช้เวลาอีกเท่าๆ กันจึงจะประกาศแนวชายแดนเป็นเป็นพื้นที่ปลอดภัยได้  </FONT></br>
เอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้ยืนยันว่า ศาลโลกไม่ได้มีคำตัดสินชี้ขาดใดๆ เกี่ยวกับที่ดินอาณาบริเวณดังกล่าว ขณะที่ฝ่ายกัมพูชากล่าวอ้างสิทธิ์ โดยใช้แผนที่อัตราส่วน 1:250,000 ที่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส จัดทำขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีก่อน

แผนที่ที่จัดทำขึ้นในยุคใหม่ล้วนแสดงให้เห็นเส้นพรมแดนตามหลักสันปันน้ำ ทำให้เห็นว่า ดินแดนโดยรอบปราสาทประวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย

ยังไม่เคยมีการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา อย่างชัดเจน ตลอดหลายทศวรรษมานี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากสงครามในกัมพูชา และปัญหากับระเบิดที่วางตามแนวชายแดนสองประเทศ ตั้งแต่ครั้งสงคราม
กำลังโหลดความคิดเห็น