“ศศิธารา” ร่ายมนต์ดึงเอเปกร่วมตื่น ผลกระทบ Climate Change และภาวะเศรษฐกิจถดถอย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วยได้ เตรียมชงเรื่องเข้าเวทีประชุมระดับผู้นำฯ พ.ย.นี้ ร่วมเซ็น MOU สร้างเกราะป้องกัน ชูแผนพัฒนาท่องเที่ยวแบบยั่งยืนระยะ 20-50 ปี พร้อม โชว์บิ๊กโปรเจกต์ของไทยในโครงการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว 14 คลัสเตอร์ ขายฝันผู้นำประเทศเคลิ้มตาม
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ถึงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก เพื่อเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกในช่วงปลายปีนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ เบื้องต้นได้เห็นตรงกันว่าจะลงนามในบันทึกช่วยจำ หรือ MOU ว่าด้วยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยื่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้ในระยะยาว และการเตรียมการรับมือกับสภาวะอากาศที่แปรปรวน (Climate Change) อันเป็นผลมาจากความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวและภาวะโลกร้อน พร้อมให้แต่ละประเทศร่วมจัดทำแผนพัฒนาท่องเที่ยวแบบยั่งยืนระยะ 20-50 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2009-2029 และเลยไปถึงปี ค.ศ.2059
ทั้งนี้ การประชุมกรอบความร่วมมือเอเปกในครั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้นำเสนอในนามประเทศไทยถึงความตื่นตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น และชี้ให้เห็นถึงว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในหลายเซกเตอร์มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นกลไกสำคัญในการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะที่ถดถอยได้เป็นอย่างดี โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯได้นำเสนอโครงการที่กระทรวงฯและรัฐบาลไทย อยู่ระหว่างดำเนินการคือเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวแบบยั่งยืนใน 14 พื้นที่ทั่วประเทศ (14 คลัสเตอร์) โดยเริ่มจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยหรือรอยัลโคสต์ ที่จะเป็นโครงการนำร่อง และตามด้วยการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ เช่น เส้นทางน้ำพุร้อน เป็นต้น โดยทุกโครงการนอกจากการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับสากลแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
“จากที่รายงานโครงการทั้งหมดที่ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ และเตรียมที่จะดำเนินการ พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งต่างก็เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับอาวุโสของแต่ละประเทศให้ความสนใจแต่ตื่นตัวกันมากขึ้น หลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยังชมเชยประเทศไทย ในเรื่องการแก้ไขสถานการณ์ในภาวะที่ประสบภัย และ เศษฐกิจถดถอย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาโดยเร็ว เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าแก่นักท่องเที่ยว การลดค่าจอดเครื่องบิน เป็นต้น รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องต่างๆ”
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ประเทศไทยได้นำเสนอข้อมูลการศึกษาถึงผลกระทบจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน (Climate Change) หากไม่มีวิธีป้องกันหรือเตรียมการรับมือใดๆ ในอนาคตจะทำให้ ภาคเหนือของประเทศไทย เช่น จ.เชียงใหม่ จะเกิดภาวะหมอกควันจากการเผาป่าเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น ช่วงเวลาอากาศหนาวเย็นจะลดลงเหลือไม่ถึง 30 วัน ขณะที่ในส่วนของพื้นที่แถบชายทะเล จะมีชายหาดที่สามารถลงเล่นน้ำได้น้อยลง และแมลงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศสมาชิกเอเปก ประกอบด้วย ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ เป็นต้น และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน ไทย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม เปรู และ ชิลี เป็นต้น ดังนั้น ประโยชน์ของความร่วมมือในข้อตกลงครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยองค์ความรู้ ทั้งด้านวิชาการ และความเชี่ยวชาญ ด้วยถ่ายทอดความรู้ และวิธีปฏิบัติ นอกจากนั้น ยังชี้ให้เห็นว่าการร่วมมือกันระหว่างรัฐกับเอกชน จะช่วยลดการถดถอยจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนก่อให้เกิดรายได้ระยะยาว
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ถึงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก เพื่อเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกในช่วงปลายปีนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ เบื้องต้นได้เห็นตรงกันว่าจะลงนามในบันทึกช่วยจำ หรือ MOU ว่าด้วยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยื่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้ในระยะยาว และการเตรียมการรับมือกับสภาวะอากาศที่แปรปรวน (Climate Change) อันเป็นผลมาจากความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวและภาวะโลกร้อน พร้อมให้แต่ละประเทศร่วมจัดทำแผนพัฒนาท่องเที่ยวแบบยั่งยืนระยะ 20-50 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2009-2029 และเลยไปถึงปี ค.ศ.2059
ทั้งนี้ การประชุมกรอบความร่วมมือเอเปกในครั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้นำเสนอในนามประเทศไทยถึงความตื่นตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น และชี้ให้เห็นถึงว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในหลายเซกเตอร์มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นกลไกสำคัญในการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะที่ถดถอยได้เป็นอย่างดี โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯได้นำเสนอโครงการที่กระทรวงฯและรัฐบาลไทย อยู่ระหว่างดำเนินการคือเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวแบบยั่งยืนใน 14 พื้นที่ทั่วประเทศ (14 คลัสเตอร์) โดยเริ่มจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยหรือรอยัลโคสต์ ที่จะเป็นโครงการนำร่อง และตามด้วยการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ เช่น เส้นทางน้ำพุร้อน เป็นต้น โดยทุกโครงการนอกจากการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับสากลแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
“จากที่รายงานโครงการทั้งหมดที่ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ และเตรียมที่จะดำเนินการ พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งต่างก็เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับอาวุโสของแต่ละประเทศให้ความสนใจแต่ตื่นตัวกันมากขึ้น หลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยังชมเชยประเทศไทย ในเรื่องการแก้ไขสถานการณ์ในภาวะที่ประสบภัย และ เศษฐกิจถดถอย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาโดยเร็ว เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าแก่นักท่องเที่ยว การลดค่าจอดเครื่องบิน เป็นต้น รวมถึงการช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องต่างๆ”
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ประเทศไทยได้นำเสนอข้อมูลการศึกษาถึงผลกระทบจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน (Climate Change) หากไม่มีวิธีป้องกันหรือเตรียมการรับมือใดๆ ในอนาคตจะทำให้ ภาคเหนือของประเทศไทย เช่น จ.เชียงใหม่ จะเกิดภาวะหมอกควันจากการเผาป่าเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น ช่วงเวลาอากาศหนาวเย็นจะลดลงเหลือไม่ถึง 30 วัน ขณะที่ในส่วนของพื้นที่แถบชายทะเล จะมีชายหาดที่สามารถลงเล่นน้ำได้น้อยลง และแมลงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศสมาชิกเอเปก ประกอบด้วย ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ เป็นต้น และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน ไทย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม เปรู และ ชิลี เป็นต้น ดังนั้น ประโยชน์ของความร่วมมือในข้อตกลงครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยองค์ความรู้ ทั้งด้านวิชาการ และความเชี่ยวชาญ ด้วยถ่ายทอดความรู้ และวิธีปฏิบัติ นอกจากนั้น ยังชี้ให้เห็นว่าการร่วมมือกันระหว่างรัฐกับเอกชน จะช่วยลดการถดถอยจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนก่อให้เกิดรายได้ระยะยาว