xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามเปิดท่าเรือน้ำลึกใหญ่แห่งแรกขนสินค้าตรงสหรัฐฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00> ลาก่อนความแออัด-- ภาพเอเอฟพีพถ่ายวันที่ 8 มิ.ย.2551 ช่วงที่เงินเฟ้อกำลังพุ่งแรง ท่าเรือไซ่งอนเต็มไปด้วยคอนเทนเนอร์สินค้าทั้งขาเข้าและขาออก ทุกอย่างปั่นป่วนไปหมด วันนี้ต้นทางกับปลายทางของการส่งสินค้า ได้ย้ายไปอยู่ท่าเรือน้ำลึก-คอนเทนเนอร์แห่งใหม่ริมฝั่งทะเลจีนใต้ ใน จ.บ่าเหรียะ-หวุงเต่า (Ba Ria-Vung Tao) เปิดใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 29 พ.ค.ที่ผานมา ไม่ต้องใช้เรือเล็กขนออกไปยังทะเลลึกอีก</FONT></br>

เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการรายวัน-- เรือขนส่งสินค้าทางทะเลสายตรงเวียดนาม-สหรัฐฯ เที่ยวปฐมฤกษ์ ได้เดินทางออกจากท่าเรือน้ำลึกแห่งแรกในเวียดนามวันพฤหัสบดี (4 มิ.ย.) หลังจากเปิดใช้ท่าเรือและท่าเทียบคอนเทนเนอร์แห่งใหม่นี้เพียงหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเจ้าหน้าที่เวียดนามกล่าวว่า กำลังจะเป็นก้าวใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยังตลาดผู้บริโภคใหญ่ของโลก

เจ้าหน้าที่ท่าเรือไซ่ง่อนพอร์ต-พีเอสเอ (Saigon Port-PSA) ในภาคใต้เวียดนามกล่าวว่าเรือ เอพีแอลเดนเวอร์ (APL Denver) ได้ออกจากท่าเรือแล้ว สำหรับการเดินทาง 15 วันไปยังเมืองท่าซีแอตเทิล (Seattle) มลรัฐวอชิงตัน ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในการเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศ ขณะที่ความสัมพันธ์ด้านการขนส่งทางอากาศก็กำลังพัฒนาควบคู่กันไป

วันจันทร์ (1 มิ.ย.) ที่ผ่านมา สายการบินเดลต้าแอร์ไลนส์ (Delta Airlines) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสายการนอร์ทเวสต์แอร์ไลนส์ (Northwest Airlines) ได้ลงจอดที่สนามบินเตินเซินเญิ๊ต (Tan Son Nhat) นครโฮจิมินห์ เป็นเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของสายการบินใหญ่อันดับ 1 ในสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารจากเวียดนามสามารถเดินทางไปยังปลายทางใดก็ได้ในอเมริกาเหนือ โดยไปต่อเครื่องของนอร์ธเวสต์ฯ ในกรุงโตเกียว

เดลต้าแอร์ไลนส์นับเป็นสายการบินสหรัฐฯ แห่งที่สามที่เปิดเส้นทางบินเข้าเวียดนาม หลังสงครามสิ้นสุดลงกว่า 30 ปี ถัดจากยูไนเต็ดแอร์ไลนส์ United Airlines) กับอเมริกันแอร์ไลนส์ (American Airlines)

เช่นเดียวกันกันกับเที่ยวเดินทางเรือขนส่งสินค้าเมื่อวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งเป็น "เที่ยวปฐมฤกษ์จากเวียดนามไปยังสหรัฐฯ" โฆษกคนหนึ่งของ APL Denver กล่าวกับเอเอฟพี

เจ้าหน้าที่ของทางการกล่าวว่าก่อนหน้านี้ การส่งสินค้าทางเรือจากเวียดนามไปยังสหรัฐฯ จะต้องส่งไปยังท่าเรือสิงคโปร์หรือประเทศไทยก่อนจะขนถ่ายลงเรืออีกลำต่อ
<br><FONT color=#cc00>ภาพจากเว็บไซต์ของ SP-PSA เดือน ก.พ.2552 ขณะที่การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกใหญ่ที่สุดของเวียดนามงวดเข้ามาทุกทีๆ และ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.เป็นต้นมา ที่นี่กลายเป็นต้นทางและปลายทางใหม่ในการส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก วันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมามีการเปิดเดินเรือขนส่งสินค้าตรงระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก ใช้เวลาเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเพียง 15 วัน </FONT></br>
ท่าเรือน้ำลึก-คอนเทนเนอร์ แห่งแรกของเวียดนาม ตั้งอยู่ในเขตปากแม่น้ำกายแม็ป (Cai Mep) จ.บ่าเหรียะ-หวุงเต่า (Ba Ria-Vung Tao) ชายฝั่งทะเลจีนใต้ ทางตอนใต้ของนครโฮจิมินห์ ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนในการขนส่งสินค้า

อย่างไรก็ตามสื่อของทางการกล่าวว่า เรือลำแรกที่ไปแวะจอดเทียบท่าเพื่อออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ตรงไปยังสหรัฐฯ เป็นเรือขนาด 59,560 ตัน ชื่อ APL Alexandrite

ท่าเรือน้ำลึก SP-PSA เป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐวิสาหกิจท่าเรือไซ่ง่อน (Saigon Port) บริษัทเดินเรือแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National Shipping Lines) หรือ Vinalines และ บริษัทการท่าเรือสิงคโปร์ (Port of Singapore Authority) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ SP-PSA

ที่เปิดใช้ในขณะนี้เป็นเพียงเฟสที่ 1 ก่อสร้างเสร็จด้วยเงินลงทุน 240 ล้านดอลลาร์ รับสินค้าได้ขนาด 1.1 ล้าน TEU ประกอบด้วยท่าคอนเทนเนอร์จำนวน 2 ท่า รวมพื้นที่ส่วนนี้ 27 เฮกตาร์ (168 ไร่) เรือบรรทุกขนาด 80,000 ตันสามารถเข้าจอดเทียบท่าได้ ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์ไซ่ง่อนไทมส์

เมื่อการก่อสร้างเฟสที่ 2 แล้วเสร็จ ท่าเรือน้ำลึก-ท่าคอนเทนเนอร์แห่งนี้ ก็จะมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

"ท่าเรือแห่งนี้จะทำให้การเดินเรือสินค้าค้าตรงระหว่างเวียดนามกับอเมริกาเหนือเป็นไปได้" นายเจิ่นดว่านเถาะ (Tran Doan Tho) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมขนส่งเวียดนามให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เวียดนามนิวส์ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
<br><FONT color=#cc00>ภาพถ่ายวันที่ 25 ธ.ค.2551 หรือเพียง 6 เดือนก่อนหน้านี้ท่าเรือน้ำลึกใหญ่ของเวียดนามยังเห็นเป็นโครงๆ อยู่ การก่อสร้างดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก จนกระทั่งเปิดใช้การได้วันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นการเปิดศักราชใหม่การขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศนี้ </br>
<br><FONT color=#cc00> ภาพถ่ายในปลายเดือน เม.ย.2552 ก่อนเปิดใช้ไม่นาน การติดตั้งเครนยกคอนเทนเนอร์เพิ่งจะเริ่ม แต่ทุกอย่างก็ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก และเปิดใช้ในอีก 1 เดือนต่อมา </FONT></br>
ก่อนหน้านี้ผู้ส่งออกสินค้าในเวียดนามต้องอาศัยเรือขนส่งขนาดเล็ก (feeder vessels) ขนสินค้าไปยังท่าเรือใหญ่แห่งต่างๆ ในอนุภูมิภาค เพื่อส่งสินค้าต่อไปยังตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ทั่วโลก

เจ้าหน้าที่บริหารของท่าเรือผู้หนึ่งกล่าวว่า การเปิดเดินเรือสินค้าตรงเวียดนาม-สหรัฐฯ แสดงให้เห็นความพยายามของภาครัฐในการพัฒนาการขนส่งทางทะเล ซึ่งเป็นความจำเป็นสำหรับประเทศที่อาศัยการส่งออกสินค้าเป็นพลังผลักดันหลักการเติบโตทางเศรษฐกิจ

นายบอบ ซัพพิโอ (Bob Sappio) รองกรรมการผู้จัดการบริษัทแพน-อเมริกันเทรด (Pan-American Trade) กล่าวว่า ในท่ามกลางความตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลก เวียดนามเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่การส่งออกยังคเคลื่อนไหวในทางบวก

เจ้าหน้าที่บริษัทเดินเรือ APL ก็กล่าวว่า ท่าเรือของเวียดนามมีความเพียบพร้อม ตามความคาดหมาย เรือเดนเวอร์ขนสินค้าหลายนิดจากเวียดนามในเที่ยวปฐมฤกษ์ ซึ่งรวมทั้งรองเท้าไนกี้ที่บรรจุไปในตู้คอนเทนเนอร์ขนาดพิเศษความยาว 53 เมตร แทนการใช้ขนาดมาตรฐานที่ยาวเพียง 40 เมตร

สื่อของทางการกล่าวว่า ท่าเรือ SP-SPA จะช่วยสนองความต้องการการขนส่งสินค้าและคอนเทนเนอร์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในเวียดนาม และ เป็นอีกขั้นตอนสำคัญในการปฏิบัติแผนการให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลอีกแห่งหนึ่งในย่านเอเชีย-แปซิฟิก
<br><FONT color=#cc00>ภาพเอเอฟพีถ่ายวันที่ 22 ก.พ.2552 ไกลขึ้นไปในภาคกลางของประเทศ คนงานและวิศวกรกำลังเร่งก่อสร้างท่าเรือล้ำลึกอีกแห่งหนึ่ง ในเขตเศรษฐกิจพิเศษยวุ๋งกว๊าต (Dung Quat) จ.กว๋างหงาย (Quang Nghai) ในเวียดนามจะมีท่าเรือน้ำลึกระดับเดียวกับ SP-PSA อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่นครหายฟ่อง (Hai Phong) ติดชายแดนมณฑลหนานหนิงของจีนด้วย </FONT></br>
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สหรัฐฯ ได้กลายเป็นตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 1 ของเวียดนาม นำหน้าสหภาพยุโรป รวมทั้งเป็นตลาดใหญ่อันดับหนึ่งของเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากประเทศนี้

สองประเทศที่เคยเป็นศัตรูในช่วงสงครามระหว่างต้นทศวรรษที่ 1960 ถึงปลายทศวรรษที่ 1970 นั้นได้ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอีกครั้งหนึ่งในปี 2538 หลังจากสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกเอ็มบาร์โกต่อเวียดนามในปี 2537

ตัวเลขที่ยังไม่ครบถ้วนของฝ่ายเวียดนามที่เผยแพร่สัปดาห์ปลายเดือน พ.ค. ชี้ว่า ไตรมาสแรกของปี 2552 เวียดนามส่งสินค้าออกไปตลาดสหรัฐฯ รวมมูลค่า 2,300 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 2,200 ล้านดอลลาร์ในสหภาพยุโรป

ประธานสภาหอการค้าสหรัฐฯ-อาเซียน ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทธุรกิจใหญ่น้อยกว่า 100 แห่ง กล่าวในการประชุมสัมมนาในกรุงฮานอยนัดหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้วว่า อีกไม่เกิน 3 ปีข้างหน้าสหรัฐฯ จะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ในเวียดนาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น