xs
xsm
sm
md
lg

วิพากษ์อาเซียน “เสื่อมสมรรถภาพ” ไม่กล้าหือกับพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00> ภาพเอเอฟพีวันที่ 17 พ.ค.2552 ชาวพม่าพลัดถิ่นจัดชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ผ่านมา คนหนึ่งแต่งกายคล้ายทหาร อีกคนหนึ่งสวมหน้ากาก และแต่งกายเลียนนางอองซานซูจี ที่กำลังถูกข่มขู่คุกคามอย่างหนักจากรัฐบาลทหารพม่า กลุ่มอาเซียนที่พม่าเป็นสมาชิกอยู่ด้วยยังไม่ได้เคลื่อนไหวใดๆ ต่อสถานการณ์ล่าสุดนี้    </FONT></br>

เอเอฟพี -- เพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของพม่ายังคงเงียบๆ ต่อกรณีที่ทางการทหารจับกุมและดำเนินคดี นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตย ซึ่งเป็นครั้งสดๆ ร้อนๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความ “เสื่อมสมรรถภาพ” (impotence) ในฐานะการเป็นพลังทางการทูต บรรดาผู้สังเกตการณ์กล่าว

ตลอดเวลาที่ผ่านมากลุ่มประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้ใช้วิธีนุ่มๆ ในการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในประเทศสมาชิกที่สร้างปัญหาให้มากที่สุด ซึ่งแตกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรเด็ดขาดที่โลกตะวันตกต้องการเห็น

แต่อาเซียนมีอะไรที่อวดอ้างได้เพียงน้อยนิด นับตั้งแต่ยอมรับพม่าเข้าร่วมวงเมื่อปี 2540 ขณะที่บรรดานายพลผู้ปกครองได้กักบริเวณนางององซานซูจี ให้อยู่แต่ในบ้านพักมาหลายปี และยังปราบปรามผู้เดินขบวนประท้วง เรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี 2550

“เราได้แต่หวังว่า พวกเขา (อาเซียน) จะก้าวออกมา เพิ่มแรงกดดัน ตั้งแต่พม่าถูกรับเข้าร่วมกลุ่มเมื่อ 12 ปีก่อน อาเซียนยังคงไม่ได้พูดจาอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับพม่า” นายเดวิด เมธีสัน (David Mathieson) แห่งองค์การฮิวแมนไรต์วอทช์ (Human Rights Watch) กล่าวกับเอเอฟพี
<br><FONT color=#cc00> ภาพรอยเตอร์วันที่ 17 พ.ค.2552 ผู้ประท้วงที่หน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ จุดไฟเผารูปภาพ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ผู้นำสูงสุดพม่า เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศ  </FONT></br>
นางซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ถูกจับกุมเมื่อวันจันทร์ (12 พ.ค.) ข้อหาละเมิดกฎระเบียบการกักบริเวณ หลังจากมีชาวอเมริกันสติเฟื่องคนหนึ่งว่ายน้ำข้ามบึงใหญ่ไปยังบ้านพักของนางในกรุงย่างกุ้งเมื่อต้นเดือนนี้

การจับกุมได้ทำให้เกิดเสียงประณามจากโลกตะวันตก แต่ในบรรดาเพื่อนร่วมกลุ่มอาเซียนของพม่า ก็มีเพียง อินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ กับฟิลิปปินส์ ที่ได้ออกคำแถลงประณามการกระทำของคณะปกครองทหาร

รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ โรแบร์โต โรมิวโล (Roberto Romulo) กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ (17 พ.ค.) ว่า (มีอาการ) “หุนหัน” ต่อข้อกล่าวหาที่ “เกินเลย”

แม้ว่าบรรดาเอกอัครราชทูตของกลุ่มที่ประจำอยู่กรุงย่างกุ้ง ได้จัดประชุมพบปะกันแล้ว อาเซียนยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการใดๆ ต่อกรณีนี้นับตั้งแต่มีการประกาศแจ้งข้อกล่าวหา (นางซูจี) วันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่แล้ว
<br><FONT color=#cc00> ภาพรอยเตอร์วันที่ 16 พ.ค.2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยที่สนามกีฬากรุงย่างกุ้งระหว่างการแข่งขันฟุตบอล เมื่อเดือน ก.ย.2550 ตำรวจและทหารเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลใช้ในการปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนั้นอาเซียนออกประณามโดยใช้ถ้อยคำว่า ขยะแขยง ต่อการกระทำของทางการ ซึ่งเป็นถ้อยที่มีความรุนแรงในทางการทูต </FONT></br>
นายเมธีสัน กล่าวว่า เมื่อบรรดาสมาชิกสำคัญวิพากษ์วิจารณ์ออกมาอาเซียนก็จะถูกกดดันให้ต้องมีอะไรออกมาบ้าง แต่ก็เชื่อว่าจะเป็นคำแถลงที่ไม่มีพิษสงอะไรแม้แต่น้อย ซึ่งจะเป็นการเติมความกระอักกระอ่วนใจให้มากขึ้นไปอีก

ในช่วง 42 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นแนวต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้กลายเป็นกลุ่มคู่ขนานที่ท้าทายกลุ่มอาเซียน เนื่องจากกลุ่มนี้มีนโยบายที่จะอยู่เป็นประเทศของใครของมัน และไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน

กรณีล่าสุดที่เกิดซ้ำอีกนี้ยิ่งน่ากะอักกระอ่วนใจกว่าครั้งไหน เพราะเกิดขึ้นขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังจากอาเวียนได้ยอมรับกฎบัตรใหม่ ที่ประเทศสมาชิกยอมรับจะผดุงระบอบประชาธิปไตยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน

นักวิเคราะห์พม่า นายอองนายอู (Aung Naing Oo) กล่าวว่าอาเซียนประสบความสำเร็จในการชักชวนให้คณะปกครองทหารต้องยอมรับความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ
<br><FONT color=#cc00>  ภาพรอยเตอร์วันที่ 17 พ.ค.2552 ผู้ประท้วงที่หน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ แต่งกายเลียนแบบทหารรัฐบาล ทำท่าทางข่มขู่ชายคนหนึ่งที่อุ้มทารกน้อยในวงแขน ภัยข่มขู่เช่นนี้มีอยู่จริงในประเทศที่ปกครองด้วยปากกระบอกปืนมานานเกือบครึ่งศตวรรษ  </FONT></br>
เมื่อพายุนาร์กิสพัดเข้าถล่มและมีผู้เสียชีวิตไป 1380,000 คนเมื่อปีที่แล้ว

“พวกเขามีส่วนช่วยเหลือจริง ได้แสดงบทบาทสำคัญในช่วงหลังของนาร์กิส แต่นี่ก็เป็นเพียงความดีงามเท่าที่พวกเขาได้ทำมา” นายยายอู ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย กล่าว

นักวิเคราะห์รายเดียวกันนี้ กล่าวอีกว่า พม่าเป็นหนามข้างกายกลุ่มอาเซียนมาตลอด พวกเขา (อาเซียน) ได้พยายามทำอะไรต่อมิอะไรมาโดยตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่าล้มเหลวในหลายด้าน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศพันธมิตรกลุ่มอาเซียน คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ จะหยิบเรื่องพม่าขึ้นหารือกันรอบนอก ในการประชุมพบปะที่ จ.ภูเก็ต วันอังคาร (19 พ.ค.) นี้ และกรณีล่าสุด ก็คือ อาการเรื้อรังจากการที่อาเซียนลังเลใจ ที่จะทำอะไรสักอย่างกับพม่า

องค์การนิรโทษกรรมสากลที่มีสำนักงานในกรุงลอนดอน ได้ออกเร่งเร้าให้องค์การสหประชาชาติ เช่นเดียวกันกับ จีน ญี่ปุ่น และบรรดาประเทศอาเซียน ให้ใช้อิทธิพลที่มีอยู่ กดดันให้มีการปล่อยตัวนางซูจี
<br><FONT color=#cc00> ภาพเอเอฟพีวันที่ 17 พ.ค.2552 ผู้ประท้วงชาวพม่าชุมนุมที่หน้าสถาตทูตถนนสาธรเหนือวันอาทิตย์ที่ผ่านมา บางป้ายเรียกร้องให้สหประชาชาติต้องดำเนินการต่อรัฐบาลทหาร แต่กลุ่มอาเซียนที่ไทยเป็นผู้นำในขณะนี้ยังไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรในนามกลุ่ม นักวิจารณ์กล่าวว่าภาคประชาสังคมและเอ็นจีโอทำหน้าที่นี้แทนอาเซียนมาตลอด </FONT></br>
“ครั้งนี้ (จำเป็น) มากกว่าครั้งไหนๆ ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องส่งสัญญาณที่เท่าเทียมกันไปยังพวกนายพล เพื่อให้พวกเขารับทราบว่า จะทำอะไรโดยได้รับการยกเว้น

สำหรับจีนเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดรายหนึ่งของพม่า และยังเป็นผู้ใช้ทรัพยากรมหาศาลในพม่ารายใหญ่ที่สุดอีกด้วย และจีนได้นิ่งเฉยต่อกรณีนางอองซานซูจี ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับอินเดีย ประเทศประชาธิปไตยใหญ่ที่สุดในโลก

แต่ นายเมธีสัน แห่ง HRW กล่าวว่า ที่ผ่านมา จีนได้ใช้วิธีอยู่ข้างหลังมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นที่สหประชาชาติ หรือที่ใดเมื่อเกิดกรณีเกี่ยวกับพม่า และจีนอาจจะใช้วิธีกดดันเหล่านายพลอยู่หลังฉากก็ได้

“จีนมีพละกำลังสำคัญต่อพม่า แม้ว่าพวกเขาจะไม่เต็มใจใช้มันอย่างเปิดเผย แต่เมื่อพูดกันเป็นการส่วนตัวพวกเขาจะบอกพม่าว่า ขอให้แก้ปัญหานี้และรีบๆ ด้วย” นายเมธีสัน กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น