xs
xsm
sm
md
lg

UN เตือนพม่ารัฐชินแย่หนูกัดทำลายข้าว ชาวนาอด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#cc00cc> ภาพจากเว็บไซต์แห่งหนึ่ง ชาวบ้านในรัฐชินเดินผ่าน ไร่ข้าว แปลงเล็กๆ ใกล้บ้าน สภาพทั่วไปเป็นภูเขา ที่เพาะปลูกมีน้อย  ปีนี้หนูอาละวาดหนักอีก สหประชาชาติต้องเข้าโอบอุ้มคนกว่าแสน  </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการรายวัน -- สถานการณ์อาหารในพม่าทำท่าจะยุ่งยากอีก แต่ในปีนี้ไม่ใช่จากพายุใหญ่แบบนาร์กีส (Nargis) ที่พัดเข้าทำลายเขตอู่ข้าวภาคตะวันตกเฉียงใต้เช่นเมื่อต้นปีที่แล้ว หากเป็นหนูนาที่กำลังกัดทำลายนาหรือไร่ข้าวหนักในรัฐใหญ่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ

ตามรายงานของ IRIN ซึ่งเป็นสำนักข่าวขององค์การสหประชาชาติ สถานการณ์เช่นนี้กำลังข่มขู่คุกคามราษฎรกว่า 100,000 คน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรในรัฐชิน (Chin) ที่ส่วนใหญ่เป็นชนชาติส่วนน้อย

“มีการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนว่า ความมั่นคงด้านอาหารในรัฐชินนั้นอยู่ในขั้นวิกฤต” นายคริส เคย์ (Chris Kaye) ผู้แทนโครงการอาหารแห่งสหประชาชาติ (World Food Program) ประจำพม่ากล่าวกับ IRIN ในกรุงย่างกุ้ง
<CENTER><FONT color=#cc00cc> ภาพวาดของเด็กนักเรียนในรัฐชิน มีหนูปรากฏอยู่ด้วย ประชากรหนูที่นั่นคงจะมากเอาการ จนเป็นที่คุ้นเคย </FONT></CENTER>
เจ้าหน้าที่ผู้นี้ กล่าวว่า สถานการณ์หนูกัดกินทำลายนาข้าวกำลังเกิดขึ้นในหลายเขตของรัฐดังกล่าว ทำให้ชาวนาตกอยู่ในสภาพหาเช้ากินค่ำ อีกจำนวนมากข้ามพรมแดนอินเดียเข้าไปหางานทำ

“เรากำลังทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อสนองความต้องการของพวกเขาโดยผ่านความพยายามร่วมกันของหลายหน่วยงาน (ระหว่างประเทศ) ซึ่งกำลังมีความคืบหน้า” นายเคย์ กล่าว

การสำรวจโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP (UN Development Program) เมื่อปี 2548 ได้พบว่าหนึ่งในสามของประชากรพม่ามีชีวิตอยู่ใต้เส้นขีดแบ่งความยากจนของสหประชาชาติ รวมทั้ง 70% ของประชากร 500,000 คน ที่อาศัยตามตัวเมืองราว 10 แห่งในรัฐชิน
<CENTER><FONT color=#cc00cc> แผนที่แสดงที่ที่ตั้งสังเขปของรัฐชิน ซึ่งอยู่ถัดจากรัฐยะไข่ขึ้นไป ชายแดนติดกับอินเดียและบังกลาเทศ การคมนาคมไม่สะดวก และยังมีกองกำลังชนชาติส่วนน้อยแบ่งแยกดินแดนเป็นเจ้าของพื้นที่อีกด้วย </FONT></CENTER>
ราว 40% ของคนเหล่านั้นอาศัยอยู่โดยไม่มีแหล่งอาหารอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ เป็นรายงานขององค์การพิทักษ์สิทธิมนุษยชน HRW (Human Rights Watch) ที่มีสำนักงานใหญ่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ

ประชากรราว 85% ของรัฐชินมีอาชีพเพาะปลูกแบบทำไร่เลื่อนลอยตัดไม้ทำลายป่าไปเรื่อยๆ แต่สภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นหน้าผาสูงและที่ราบเนินเขา ทำให้เสี่ยงต่อดินเลื่อนและโคลนถล่ม การทำลายป่าทำให้ดินเสื่อมสภาพทำให้เกิดขาดแคลนอาหารอย่างเป็นลูกโซ่ รายงานของ WFP กล่าว

รัฐบาลทหารพม่าอนุญาตให้เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ เพียงไม่กี่แห่งเข้าไปในรัฐชินได้ นอกจากนั้น ยังมีหมู่บ้านเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์ ขณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของทั้งหมดราว 14,000 ตารางกิโลเมตรยังไม่มีไฟฟ้าใช้ IRIN กล่าว

นายเคย์ กล่าวว่า ปัจจุบันสามารถส่งความช่วยเหลือไปยังราษฎรที่ประสบความอดอยากได้เพียงประมาณ 6,000 ครอบครัว ทำให้สถานการณ์น่าเป็นห่วงยิ่ง

สัปดาห์ที่แล้ว FAO ได้เตือนรัฐบาลทหารพม่า ว่า ปีนี้ราษฎรในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีที่พายุนาร์กีสพัดเข้าทำลาย อาจจะต้องการความช่วยเหลือเป็นอาหารประมาณ 85,000 ตัน และอีกราว 100,000 ตันสำหรับราษฎรในรัฐชิน ซึ่งสูญเสียพืชผลจากการทำลายของหนู

ประชาชนในเขตสะกาย (Sagaing) ซึ่งเป็นเขตยากจนที่สุดของประเทศก็อาจจะต้องการความช่วยเหลือด้วย FAO กล่าว

การออกคำเตือนดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่องค์การสถิติกลางของพม่า รายงานว่า ปีงบประมาณ 2008-2009 ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค.ปีนี้ รัฐบาลจะส่งออกข้าว 500,000 ตัน ทั้งนี้ เป็นข้าวที่เหลือบริโภคจากเขตอิรวดีเพียงเขตเดียว

รัฐบาลได้อนุญาตให้ผู้ค้าเอกชนส่งออกข้าวได้อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว และอนุญาตให้ค้าข้าวข้าวพรมแดนได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีอีกด้วย โดยกำหนดให้เป็นข้าวเหลือบริโภคจากเขตอิรวดี ย่างกุ้ง กับ เขตพะโค เท่านั้น
กำลังโหลดความคิดเห็น