xs
xsm
sm
md
lg

มือถือ 9 ข่ายแห่ทึ้งเขมรจนตลาดล้นหมดมุกโปรโมต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>หญิงสาวรายนี้กำลังคุยทางโทรศัพท์อย่างออกรสที่ศูนย์บริการของ เมตโฟน ในกรุงพนมเปญนี่คือเครื่องหมายการค้าในกัมพูชาของข่ายเวียดเทล (Viettel) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดในเวียดนามซึ่งเป็นของกองทัพประชาชน เจ้านี้เพิ่งเข้ากัมพูชาเมื่อปีที่แล้วเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดที่ยั่วยวนมาก หลังจากพบว่าปีที่แล้วมีเพียง 25% ของประชากร 14 ล้านคนเท่านั้นที่มีโทรศัพท์มือถือใช้      </FONT></CENTER>

ผู้จัดการ360 ํรายสัปดาห์ -- กัมพูชามีประชากรไม่ถึง 15 ล้านคน และยังคงเป็นประเทศหนึ่งที่ยากจนที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึง 9 ราย ในนั้นมี 5 รายที่เปิดให้บริการในช่วง 15 เดือนมานี้ อีก 2 รายกำลังจะตามเข้าไปชิงส่วนแบ่งในตลาด

ในสายตาผู้คนทั่วไป นี่คือ ปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างแปลกมากสำหรับตลาดเล็กๆ กำลังซื้อต่ำ แต่สำหรับผู้คนในธุรกิจโทรคมนาคม มองว่า ที่นั่นคือ โอกาส เนื่องจากอัตราผู้ใช้โทรศัพท์ยังต่ำเพียง 25% ซึ่งหมายความว่า ชาวกัมพูชา 4 คน มีอีกตั้ง 3 คนที่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ทำให้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ตาลุกวาว

หากมองออกไปในโลกกว้าง จะเห็นการแข่งขันสูงยิ่งกว่านี้ เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก คือ ราว 3.3 ล้านคน มีโทรศัพท์มือถือใช้งานแล้ว อัตราส่วนในย่านเอเชียสูงยิ่งกว่านั้น การทุ่มทุนเข้าไปในบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกัมพูชาจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยตัวเลขนี้ในกรุงพนมเปญ

นายสุคุน (So Khun) รัฐมนตรีกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมกัมพูชา กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญในขณะนี้ ก็คือ การเปิดธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศเพื่อให้เกิดการแข่งขัน รัฐบาลเปิดโอกาสให้นักลงทุนด้านนี้เข้าสู่ตลาดอย่างไม่จำกัด

แต่สำหรับผู้ลงทุน ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันเป็นเอกฉันท์อย่างน้อยในประเด็นที่ว่า ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกัมพูชามากจนเกินพอแล้ว และการแข่งขันหนักหน่วงรุนแรงเกินจะรับไหวอีกต่อไป

นายไซอิด อัซเมียร์ (Syid Azmeer) ผู้อำนวยการการาตลาดของข่าย “ฮัลโหล” (Hello) กล่าวว่า ในวันนี้ผู้ให้บริการทุกรายแข่งขันกันด้วย “โทร.ฟรี” อีกส่วนหนึ่งไล่แจกซิมการ์ด และ วันนี้เริ่มตีบตัน “หมดมุก” คิดหาลูกเล่นส่งเสริมการขายไม่ค่อยออก

เจ้าหน้าที่คนเดียวกันนี้ กล่าวว่า มีผู้ให้บริการบางรายเริ่มถอย หลังจากสะสมผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากพอแล้ว ก็มีแผนที่จะประกาศขายบริษัทให้ผู้บริการรายอื่นควบกิจการ ส่วนที่เหลืออยู่กำลังเร่งพัฒนาขยายเครือข่ายบริการให้ครอบคลุมกว้างไกลที่สุด เพื่อชิงลูกค้า เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีผู้ให้บริการรายใดครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วประเทศ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีประโยชน์ใดๆ ที่จะทุ่มเงินขยายเครือข่ายเข้าสู่ท้องไร่ท้องนาในขณะนี้

ข่ายโมบิเทล (MobiTel) ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่สุดในกรุงพนมเปญ อ้างว่า ปัจจุบันครองตลาดถึง 60% ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ได้เซ็นสัญญากู้เงิน 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อติดตั้งสถานีรับส่งสัญญาณกว่า 100 แห่ง ขยายเครือข่ายบริการออกสู่เขตชนบท โดยมองว่าที่นั่นเป็นตลาดที่กำลังเติบโต
<CENTER><FONT color=#660099>พนักงานสาวข่ายโทรศัพท์มือถือเวียดเทลกัมพูชา (Viettel Cambodia) ออกโชว์ในงานนิทรรศการโทรคมนาคมที่จัดขึ้นในนครโฮจิมินห์ในเดือน เม.ย.2551 หรือหนึ่งปีก่อนหน้านี้ (ภาพ: Viettel) </FONT></CENTER>
นายโทมัส ฮุนด์ (Thomas Hundt) แห่งค่ายสมาร์ท (Smart) ในกรุงพนมเปญ กล่าวว่า ตอนเข้าทำตลาดลาดในกัมพูชาใหม่ๆ ยังไม่มีอะไรยากเย็นนัก ไม่ยากเท่ากับในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ที่มีอัตราผู้ใช้บริการสูงกว่า แต่นั่นก็กำลังจะเป็นอดีต เพราะการแข่งขันในปัจจุบันนี้อาจจะ “เกินกำลัง” สำหรับรายใหม่ๆ

ส่วน นายอัซเมียร์ กล่าวว่า บริษัททุ่มเทการโฆษณาพอสมควร รวมทั้งติดตั้งบิลบอร์ดในเมือองหลวง ติดแผ่นโปสเตอร์ตามข้างรถตุ๊กตุ๊ก กับอีกสารพัดวิธีทำให้ปีที่แล้วฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็นประมาณ 700,000 คน ซึ่งหมายความว่าข่าย “ฮัลโหล” เป็นเพียงประมาณ 1 ใน 3 ลูกค้าของโมบิเทล ที่เป็นเจ้าตลาด

เศรษฐกิจกัมพูชาขยายตัวในอัตราเฉลี่ยสูงกว่า 10 ในช่วงหลายปีมานี้ โดยมีอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกเป็นพลังขับดันสำคัญที่สุด และการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนหมายเลข 2

การท่องเที่ยวของประเทศนี้มีศักยภาพสูงมาก นักลงทุนด้านโทรคมนาคมเชื่อว่านั่นเป็นอีกโอกาสหนึ่ง

ข่ายบริการโทรศัพท์มือถือในกัมพูชาเกือบทั้งหมดถือหุ้นใหญ่โดยนักลงทุนต่างชาติ รายล่าสุดที่เข้าร่วมวงชิงเค้กในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่จากรัสเซีย และก่อนหน้านั้นเป็นข่ายเวียดเทล (Viettel) ของกองทัพประชาชนเวียดนาม ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่สุดของประเทศ

เวียดเทล ไม่เพียงแต่ลงทุนติดตั้งเครือข่ายให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น แต่ยังได้รับสัมปทานเข้าลงทุนราว 1,000 ล้านดอลลาร์ สร้างโครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงทั่วกัมพูชา

นั่นคือ การครอบครอง “แบ็กโบน” (Backbone) ของโทรคมนาคมในอนาคต ซึ่งรวมทั้งโทรศัพท์มือถือและโทรศัพท์พื้นฐานตามครัวเรือนและธุรกิจต่างๆ ด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น