xs
xsm
sm
md
lg

แบงก์ลาว-จีนจับมือชำระค่าสินค้าถนนเชียงของ-หยุนหนัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>ชายแดนบ่อหานทางด้านจีนภาพ Flickr.com เมื่อปี 2549 อีกฟากหนึ่งของเขาเทือกโน้นเป็นเมืองบ่อแตนของลาว ถนน A3 ที่เปิดใช้อย่างเป็นทางการในต้นปี 2551 ได้ปลุกกระแสให้การค้าทางชานแดนด้านนี้คึกคัก </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการรายวัน-- ธนาคารของทางการและจีนได้จับมือกันสนับสนุนการค้าขายตามถนนสาย "อา3" (A3) หรือ ถนนระเบียงเศรษฐกิจสายเหนือ (Northern Economic Corridor) ในกรอบความร่วมมือกลุ่มนุภูมิภาคแม่น้ำโขงหรือ GMS (Greater Mekong Sub-Region) โดยสองฝ่ายได้เซ็นความตกลงร่วมมือการชำระค่าสินค้าที่ด่านชายแดนสองประเทศ

เมื่อต้นเดือนนี้ธนาคารเอกชนในลาวอีกแห่งหนึ่งได้เซ็นความตกลงคล้ายๆ กันนี้กับธนาคารของทางการเวียดนาม เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ด้านแดนสะหวัน-ลาวบ๋าว (Lao Bao) ที่อยู่ปลายทางทิศตะวันออกของถนนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก(East-West Economic Corridor) ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้าผ่านแดนและการค้าในอนุภูมิภาค

การเซ็นความตกลงระหว่างธนาคารลาวพัฒนากับธนาคารการเกษตรของรัฐบาลจีนสาขามณฑลหยุนหนัน มีขึ้นวันจันทร์ (23 มี.ค.) ที่ผ่านมา ในนครเวียงจันทน์ ซึ่งประกอบด้วยข้อตกลง 3 ฉบับ ว่าด้วยการจัดตั้งผู้แทน การเปิดบัญชีร่วมกันและการชำระราคาสินค้าผ่านแดนด้วยระบบออนไลน์ ทั้งนี้เป็นรายงานของสื่อทางการลาว
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพแฟ้มเดือน มี.ค.2550 ธนาคารพัฒนาลาวสาขาสนามบินหลวงพระบางให้บริการแลกเงินแก่ลูกค้า ปัจจุบันเป็นแบงก์ตัวแทนชำระค่าสินค้าที่ชายแดนบ่อแตน-บ่อหาน </FONT></CENTER>
ผู้ลงนามในสัญญาของฝ่ายลาวคือ นายสีทอน บางแสงทอง หัวหน้าธนาคารลาวพัฒนาสาขาแขวงหลวงน้ำทา กับฝ่ายจีนคือ นายโจวสื่อหยง (Zhou Shi Rong) หัวหน้าแผนกบริการด้านต่างประเทศ ธนาคารการเกษตร สาขามณฑลหยุนหนัน นางบุนตา ดาราวี ผู้อำนวยใหญ่ธนาคารลาวพัฒนา ผู้ช่วยประธานธนาคารการเกษตรจากมณฑลหยุนหนันคนหนึ่ง และเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ผู้บริหารธนาคารทั้งสองฝ่ายได้ประชุมหารือเรื่องนี้เมื่อวันที่ 23 ก.ค.2551 ที่เมืองจิ่งหง (เชียงรุ่ง) และมีความตกลงจะความร่วมมือกันในเรื่องนี้

สองฝ่ายได้ตกลงจัดตั้งให้ธนาคารลาวพัฒนา สาขาหลวงน้ำทางเป็นตัวแทนดำเนินการ ขณะที่มณฑลหยุนหนันได้จัดตั้งให้ธนาคารการเกษตรสาขาเมืองบ่อหาน (Pohan) เป็นตัวแทนของฝ่ายจีนดำเนินความร่วมมือนี้ หนังสือพิมพ์ของทางการนครเวียงจันทน์กล่าว

นางบุนตากล่าวในพิธีเซ็นสัญญาเมื่อวันที่จันทร์ว่า ความร่วมมือดังกล่าว "เป็นนิมิตหมายที่ดีในการสร้างเงื่อนไขเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าและการลงทุนของนักธุรกิจสองประเทศ" และต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์

หลายปีมานี้ธนาคารของทางการลาวได้มีความตกลงคล้ายกันนี้กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย เพื่อชำระค่าสินค้าตามด่านชายแดนด้านช่องเม็ก อ.พิบูลย์มังสาหาร ด่านมิตรภาพมุกดาหาร-สะหวันนะเขต และ ที่ชายแดนด้านเมืองท่าแขก-นครพนม

วันที่ 3 มี.ค. ธนาคารพงสะหวันของลาว ซึ่งแอกชนถือหุ้น 100% ได้เซ็นความตกลงกับธนาคารเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม เกี่ยวกับการชำระสินค้าที่ผ่านด่านชายแดนหลักของสองประเทศ ซึ่งสื่อของทางการกล่าวว่าเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามอำนวยความสะดวกให้แก่การจัดระบบโลจิสติกส์ตามถนน EWEC

ก่อนหน้านั้นในปลายเดือน ก.พ. ตัวแทนของสามประเทศ ลาว เวียดนามและไทยได้ตกลงร่วมกันจัดลงทะเบียนรถบรรทุกที่จะใช้ถนนเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามแดน ภายใต้กรอบ GMS

ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ เวียดนามซึ่งรัฐบาลถือหุ้น 100% มีประมาณ 2,000 สาขามีประสบการณ์ในการชำระเงินข้ามพรมแดนมาตั้งแต่ปี 2534 โดยเริ่มทดลองที่ชายแดนจีน ก่อนจะให้บริการอย่างเป็นทางการกับฝ่ายจีนตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา.
กำลังโหลดความคิดเห็น