xs
xsm
sm
md
lg

"ฮุนเซน" บอกคนงานกลับท้องนายันกัมพูชาไม่แย่เท่าสหรัฐฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF> ภาพแฟ้ม AFP วันที่ 11 มี.ค.2549 หรือสามปีพอดีนับย้อนหลังกลับไปจากวันนี้ คนงานหญิงโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ กลับบ้านด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม สองเดือนต้นปีมานี้มีคนงานในอุตสาหกรรมนี้ว่างงานไปแล้วราว 17,000 คน  ผู้นำกัมพูชาบอกคนงานเหล่านี้ให้กลับไปสู่ภาคการเกษตร  </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการรายวัน--- นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน ได้บอกให้คนงานที่ถูกเลิกจ้างนับหมื่นๆ ให้กลับคืนสู่ภาคการเกษตร ซึ่งทุกคนจะมีงานทำ มีรายได้ สามารถดำรงชีพต่อไปได้ ขณะเดียวกันก็ยืนยันวิกฤตเศรษฐกิจโลกไม่ได้กระทบต่อเศรษฐกิจกัมพูชามากนัก หากเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ กับยุโรป

ผู้นำกัมพูชาให้สัมภาษณ์ดังกล่าวในวันจันทร์ (9 มี.ค.) หลังประกอบในพิธีทางศาสนาที่วัดแห่งหนึ่งใน จ.กัมปงสะปือ ใกล้กับกรุงพนมเปญ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเอเคพี (Agence Kampuchean-Presse) ซึ่งเป็นสำนักข่าวของทางการ

วิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลกทำให้คำสั่งซื้อจากต่างแดนลดลง โรงงานหลายแห่งได้ปิดไปแล้ว อีกหลายแห่งกำลังจะปิด แต่รัฐบาลกำลังพยายามอย่างหนักที่จะให้โรงงานต่างๆ เหล่านั้นอยู่ได้ สมเด็จฯ ฮุนเซนกล่าว

"ผมขอร้องไปยังทางการท้องถิ่นต่างๆ ในทุกระดับที่มีโรงงานต่างๆ ตั้งอยู่ ให้กระทำสุดความสามารถเพื่อให้มีเงื่อนที่สะดวก ให้มีหลักประกันว่าโรงงานต่างๆ จะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างราบรื่น" ผู้นำกัมพูชากล่าว

องค์การแรงงานสากล (International Labour Organization) รายงานในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาว่า มีคนงานราว 17.000 คนในกัมพูชา ที่ถูกเลิกจ้างหรือว่างงาน เนื่องจากโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกต้องปิดลง และจำนวนคนว่างงานจะสูงขึ้นอีกในปลายปี 2552 นี้

แต่ผู้นำกัมพูชากล่าวว่าว่า คนงานที่ถูกเลิกจ้างเหล่านั้นควรจะกลับสู่ภาคการเกษตรในชนบท เพิ่มผลผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคและส่งขายได้

"การว่างงานไม่ได้ส่งผลกระทบมากมายต่อประเทศของเรา" เนื่องจากประชาชนมีผืนนาและพื้นที่การเกษตรกว้างใหญ่ สามารถปลูกพืชต่างๆ รวมทั้งปลูกผลไม้ ถ้าหากทุกคนกลับสู่การเกษตร ประเทศก็จะมีผลผลิตอาหารมากยิ่งขึ้น สมเด็จฯ ฮุนเซนกล่าว

ขณะเดียวกันกัมพูชาหวังว่า สหรัฐฯ จีน เกาหลีและญี่ปุ่น จะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือกัมพูชาให้พัฒนาต่อไปได้

ตามรายงานของสื่อต่างๆ ในประเทศนี้ ตั้งแต่ปลายปี 2551 เป็นต้นมา มีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าปิดไปแล้วราว 80 แห่ง อุตสาหกรรมนี้เป็นแขนงเศรษฐกิจที่นำเงินตราเข้าประเทศได้มากเป็นอันดับหนึ่ง
<CENTER><FONT color=#3366FF> ภาพแฟ้ม AFP ย้อนหลังกลับไปเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2547 ปีที่เริ่มเข้าสู่ยุคทอง คนงานตัดเย็บกำลังทำงานขยันขันแข็งที่โรงงานแห่งหนึ่งชานกรุงพนมเปญ อีกสี่ปีถัดมีการจ้างแรงงานราว 350,000 คน แต่แขนง อุตสาหกรรมนี้ของกัมพูชาเข้าสู่ยุคตะวันตกดินรวดเร็วเกินไป</FONT></CENTER>
กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF (International Monetary Fund) ได้ออกรายงานคาดการฉบับหนึ่งซึ่งเผยแพร่ในวันศุกร์ (6 มี.ค.) ระบุว่า เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวเพียงประมาณ 0.5% ในปีนี้ เนื่องจากรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าและการท่องเที่ยวจะลดลง ตัวเลขนี้ต่างลิบลับกับ ที่ไอเอ็มเอฟเคยคาดการเอาไว้ 4.8% ในเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว

รายงานฉบับใหม่ของ IMF ยังระบุว่า ภาคการก่อสร้างในกัมพูชาก็จะลดลงอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนจากต่างประเทศ ต้องลดการลงทุนหรือยุติโครงการต่างๆ เอาไว้ชั่วคราว

ธนาคารโลกกล่าวในรายงานก่อนหน้านี้ว่า ปี 2551 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกัมพูชามีประมาณ 800 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าปีนี้อาจจะลดลงเหลือไม่ถึง 600 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้บริจาคได้ให้คำมั่นจะให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ยังไม่ทราบสถานะล่าสุด เนื่องจากผู้บริจาครายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน เกาหลี หรือสหรัฐฯ ล้วนประสบความลำบากทางเศรษฐกิจ.
กำลังโหลดความคิดเห็น