ASTVผู้จัดการรายวัน -- ปี 2551 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าจากพม่ารวมเป็นมูลค่า 3,300 ล้านดอลลาร์ซึ่งรวมทั้งการนำเข้าก๊าซธรรมชาติด้วย ซึ่งทำให้ตัวเลขขาดดุลการค้าของฝ่ายไทยพุ่งขึ้นสูงลิ่วเป็น 2,000 ล้านดอลลาร์ ไทยกำลังหาทางเพิ่มมูลค้าส่งออก ซึ่งรวมทั้งความพยายามผลักดันให้รัฐบาลทหารพม่าเปิดด่านค้าขายชายแดนเพิ่มอีก 3 แห่งด้วย
ตามปีปฏิทิน 2551 มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4,600 ล้านดอลลาร์ ทำให้ไทยมีความพยายามที่มีส่วนแบ่งตลาดพม่าเพิ่มขึ้น และเห็นว่ามีลู่ทางแจ่มใสโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นในปี 2553 สื่อของทางการอ้างคำกล่าวของอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ของไทยประจำกรุงย่าง
ถึงแม้ว่าพม่าจะถูกโลกตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ แต่หลายประเทศในเอเชียต่างแสดงท่าทีสนใจที่จะเข้าแบ่งตลาดพม่า ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ หรือมาเลเซีย
ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการปี 2551 ไทยส่งออกไปพม่ามีมูลค่าเพียง 1,300 ล้านดอลลาร์เท่านั้น และไทยได้เรียกร้องให้ทางการพม่าเปิดด่านชายแดนอย่างเป็นทางการเพิ่มอีกจำนวน 4 จุด รวมทั้งด่านเจดีย์สามองค์ด้วย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการค้าขายข้ามพรมแดน
“รัฐบาลใหม่ของไทยต้องการลดการขาดดุลการค้าและกำลังพยายาม แต่โดยปกติแล้วไทยไม่สามารถครองตลาดพม่าได้ เนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีน” นิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทมส์อ้างคำกล่าวของนายประจวบ
อย่างไรก็ตาม หากว่าด้วยสินคาอุปโภคบริโภคแล้ว (ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากประเทศไทยครองตลาดพม่าได้เป็นอันดับสองรองจากสินค้าจีน)
เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าว ในขณะเดียวกันก็ได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอว่า ประเทศอื่นๆ กำลังจะเข้าสู่ตลาดพม่าอย่างใหญ่โตหลังการเลือกตั้งปีหน้า
ทางการพม่ากำลังพิจารณาข้อเสนอของฝ่ายไทย และถึงแม้ว่าจะได้รับความเห็นขอบแต่ก็ยังจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เนื่องจากเหตุผลด้านความมั่นคงปลอดภัย และ ยังจะต้องพัฒนาถนนหนทางและระบบการขนส่งรองรับ เจ้าหน้าที่ของไทยกล่าวระหว่างการประชุมคณะผู้แทนจากหอการค้าไทยกับฝ่ายพม่าที่จัดขึ้นในกรุงย่างกุ้ง ต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา
ปัจจุบันไทยพม่าได้เปิดการค้าขายข้ามแดนใน 3 จุดเท่านั้นอันได้แก่ด่านเจดีย์สามองค์-พญาตองซู แม่สอด-เมียวดี และ แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก สำหรับด่านที่ชายแดนด้านกาญจนบุรีนั้นยังไม่ได้รับการยกระดับขึ้นเป็นด่านชายแดนอย่างเป็นทางการ มีการปิดเปิดที่ไม่แน่นอน
นอกจากเสนอให้ยกระดับด่านเจดีย์สามองค์ให้เป็นด่านชายแดนที่เป็นทางการแล้ว ไทยได้ขอให้ฝ่ายพม่าเปิดด่านชายแดนอื่นๆ อีก 3
แห่งได้แก่ด่านสิงขร-มอตอง (ประจวบคีรีขันธ์) ด่านมงสาต-กิ่วผาวอก (ตาก) และ ด่านลอยเกาะ-ห้วยต้นนุ่น (แม่ฮ่องกงสอน) ให้เป็นด่านชายแดนอย่างเป็นทางการอีกด้วย
ประเทศไทยได้ส่งเสริมการค้าขายในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และ กำลังหาทางแก้ไขหรือยกเลิกอุปสรรคการค้าต่างๆ ระหว่างไทยกับพม่า เพื่อหาทางลดการขาดดุลการค้าสองฝ่ายลง รวมทั้งการเตรียมรับตลาดพม่าที่จะเปิดกว้างยิ่งขึ้นในอนาคต เมียนมาร์ไทมส์กล่าว
ฝ่ายไทยได้เสนอให้เปิดด่านชายแดนเพิ่มดังกล่าวระหว่างคณะสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยเข้าประชุมหารือกับ 3 กระทวงสำคัญของพม่าอันได้แก่ กระทรวงการค้า กระทรวงวางแผนและกระทรวงปศุสัตว์กับกระทรวงประมงพม่า
คณะผู้แทนสภาหอการค้าของไทยจำนวน 32 คน นำโดย นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ สมาชิกอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์และที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรีไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
คณะสภาหอการาค้าไทยยังได้เสนอการเปิดด่านชายแดนเพิ่มระหว่างการประชุมหารือรีวมกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมพม่า (Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry) หรือ UMFCCI ด้วย นิตยสารฉบับเดี่ยวกันกล่าว
นิตยสารข่าวกึ่งทางการไม่ได้ให้รายละเอียดตัวเลขการค้าระหว่างไทยกับพม่า แต่การค้าข้ามพรมแดนมีมูลค่าการค้าข้ามแดนจะสูงเป็นอันดับหนึ่งตลอดหลายปีมานี้
ตามรายงานของสื่อทางการ การค้าขายข้ามแดนของพม่าช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีสินค้าเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้ กับผลผลิตการเกษตรเป็นสินค้าหลัก ไทยยังคงเป็นคู่ข้ามข้ามแดนรายใหญ่ที่สุด ตามติดๆ ด้วยจีน อินเดียกับบังกลาเทศ
การค้าขายข้ามพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ขยายตัว 8.32% ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ขณะที่การส่งออกข้ามพรมแดนซึ่งเป็นการค้าขายในระบบปกติมูลค่าพุ่งขึ้นเป็น 666 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพียง 10 ล้านดอลลาร์เทียบกับปีที่แล้ว
การส่งออกสินค้าการเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 355 ล้านดอลลาร์ กับสินค้าผลิตภัณฑ์จากป่าไม้อีก 75 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เป็นรายงานของนิตยสารข่าวรายปักษ์ “เซเว่นเดย์นิวส์” (Seven-Day News)
จนถึงปัจจุบันพม่าการค้าขายข้ามพรมแดนผ่านด่านชายแดนรวม 13 แห่งตามแนวพรมแดนติดกับไทย จีน อินเดียและบังกลาเทศ เซเว่นเดย์ กล่าว
รายงานอีกชิ้นหนึ่งกล่าวว่า ช่วงเดียวกันนี้การส่งออกสินค้าพวกผักและผลไม้ข้ามพรมแดนมีปริมาณสูงขึ้น 3 ไตรมาสปีงบประมาณ 2551-2552) รายการนี้มีมูลค่าส่งออกกว่า 17 ล้านดอลลาร์ แต่ช่วงเดียวกันได้นำเข้าผลไม้อีกหลายชนิดรวมน้ำหนักกว่า 50,000 ตัน มูลค่าราว 10 ล้านดอลลาร์
ตามตัวเลขของกระทรวงดังกล่าว ช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551-2552 มูลค่าการค้ากับต่างประเทศ ได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 8,500 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 21.95% เทียบกับ 7,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2550-2551
ตัวเลขการค้าต่างประเทศทั้งหมดนี้ จำนวน 7,500 ล้านดอลลาร์ เป็น “การค้าปกติ” ซึ่งหมายถึงการส่งออกจากท่าเรือหลักหรือท่าอากาศยานของประเทศ ขณะที่การค้าข้ามช่องทางด่านพรมแดนต่างๆ มีมูลค่าเพียง 1,000 ล้านดอลลาร์