xs
xsm
sm
md
lg

“ฮุนเซน” หวานเจี๊ยบพร้อมเจรจาแบ่งเค้กน้ำมันอ่าวไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=6600099> ภาพ AFP นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ต้อนรับ พล.อ.ประวิทย์ วงศ์สุวรรณ ที่ไปเยือนอย่างเป็นทางการวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา สมเด็จฯ ฮุนเซนกล่าวในสัปดาห์นี้ว่า ไทยกับกัมพูชาไม่ได้ทำสงครามกัน และพร้อมจะเจรจากับฝ่ายไทยเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์เกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซในเขตทับซ้อนน่านน้ำอ่าวไทย   </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการรายวัน -- นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุนเซน กล่าวว่า ยินที่ฝ่ายไทยเรียกร้องให้รื้อฟื้นการเจรจาแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติในเขตทับซ้อนอ่าวไทย ซึ่งฝ่ายกัมพูชาพร้อมแล้ว โดยจะมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งนำทีมไปประเทศไทย

สมเด็จฯ ฮุนเซน ระบุดังกล่าวในการประชุมสัมมนาโต๊ะกลม วันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา อันเป็นส่วนหนึ่งของการประชุม Economists Conference ที่จัดขึ้นในเมืองเสียมราฐ เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชาให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ เป็นรายงานของสำนักข่าวเอเคพี (Agence Kampuchean-Presse) ซึ่งเป็นสำนักข่าวของรัฐบาล

“เป็นข่าวดีที่ฝ่ายไทยได้เรียกร้องให้มีการหารือต่อไปเกี่ยวกับผลประโยชน์น้ำมัน และก๊าซทางทะเล และยังเป็นเครื่องหมายอันเป็นบวกระหว่างสองประเทศ..” สมเด็จฯ ฮุนเซน กล่าว โดยหมายถึงสิ่งที่ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ได้หยิบยกขึ้นหารือ ครั้งไปเยือนอย่างเป็นทางการปลายเดือนที่แล้ว

การเจรจาเรื่องดังกล่าวต้องล้มเลิกไปอันเนื่องมาจากกิจการภายในประเทศไทย เอเคพี กล่าว

ผู้นำกัมพูชา กล่าวว่า นายโสกอาน (Sok An) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้นำทีมไปเจรจาเรื่องนี้กับฝ่ายไทยต่อไป โดยไม่ได้ระบุเกี่ยวกับเงื่อนเวลา

ไทย กับ กัมพูชา ได้ร่วมลงนามในความตกลงฉบับหนึ่งจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อสำรวจและพัฒนาน้ำมันดิบและก๊าซในทะเลอ่าวไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลถึง 400 ตารางกิโลเมตร

สมเด็จฯ ฮุนเซน ยืนยันว่า กัมพูชา กับ ไทย ไม่เคยทำสงครามกันอย่างจริงจัง การปะทะด้วยอาวุธระหว่างทหารไทย กับทหารฝ่ายกัมพูชา วันที่ 15 ต.ค.ปีที่แล้ว เป็นเพียง “อุบัติเหตุ” เท่านั้น และหวังว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก

“เราไม่ได้มุ่งหวังว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นแขนงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การค้า เศรษฐกิจ และการลงทุน”

ผู้นำกัมพูชา กล่าวอีกว่า สองฝ่ายได้แสดงความอดกลั้นในการแสวงหาการประนีประนอมในข้อตกลงต่างๆ รวมทั้งบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจฉบับหนึ่งที่ลงนามกันในปี 2543

ผู้นำกัมพูชาที่เคยแสดงท่าทีแข็งกร้าว หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นในกรุงเทพฯ ได้มีท่าที่ที่ผ่อนปรนมากยิ่งขึ้น หลังการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของไทย ที่ติดตามด้วยการเยือนของรัฐมนตรีรกลาโหมคนใหม่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แม้ว่าสองฝ่ายจะไม่สามารถบรรลุการตกลงเกี่ยวกับการถอนทหารออกจากเขตแดนพิพาทเขาพระวิหาร ก็ตาม

ผู้นำกัมพูชา กล่าวในคราวนั้น ว่า ไทย กับ กัมพูชา ได้ตกลงจัดตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทำการเก็บกวาดวัตถุระเบิดในพื้นที่พิพาทด้านปราสาทพระวิหาร ก่อนจะมีการปักปันเขตแดนร่วมกัน

สมเด็จฯ ฮุนเซน เคยวิจารณ์อย่างแข็งกร้าวต่อการที่ไทยได้เลื่อนจัดประชุมผู้นำอาเซียนออกไปหลายครั้ง และแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยที่จะมีการแบ่งการประชุมผู้นำอาเซียนออกจากการประชุมร่วมกับประเทศหุ้นส่วนต่างๆ ที่เรียกว่า “อาเซียน+3” และ “อาเซียน+6”

ในขณะหนึ่งผู้นำกัมพูชา เคยกล่าวว่า อาจจะไม่สามารถเดินทางมาร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.-1 มี.ค.นี้ แต่ก็ได้ยืนยันกับ รมว.ต่างประเทศ ของไทย ว่า จะมาร่วมประชุมในที่สุด
กำลังโหลดความคิดเห็น