xs
xsm
sm
md
lg

ค้าข้ามแดนพม่ามูลค่า $1,000 ล้านไทยอันดับ 1

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<FONT color=#3366ff> ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 14 มี.ค.2551 คนงานกำลังขนกระสอบข้าวขึ้นจากเรือที่ท่าเรือย่างกุ้ง ก่อนจะลำเลียงไปเก็บตามคลังสินค้าที่รัฐบาลควบคุม ปลายปีที่แล้วรัฐบาลทหารได้อนุญาตให้ค้าข้าวข้ามพรมแดนได้อีกครั้งหนึ่ง เป็นข้าวที่เหลือบริโภคจากเขตอิรวดี ย้างกุ้งกับเขตพะโคซึ่งอยู่ใกล้ชายแดน อ.แม่สอด จ.ตากของไทยมากที่สุด </font>

ASTVผู้จัดการรายวัน-- การค้าขายข้ามแดนของพม่าช่วง 9 เดือนแรกของปีที่แล้วมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีสินค้าเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้ กับผลผลิตการเกษตรเป็นสินค้าหลัก ไทยยังคงเป็นคู่ข้ามข้ามแดนรายใหญ่ที่สุด ตามติดๆ ด้วยจีน อินเดียกับบังกลาเทศ

ตามรายงานของสื่อของทางการพม่าซึ่งอ้างตัวเลขของทางการ การค้าขายข้ามพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ขยายตัว 8.32% ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ขณะที่การส่งออกข้ามพรมแดนซึ่งเป็นการค้าขายในระบบปกติมูลค่าพุ่งขึ้นเป็น 666 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพียง 10 ล้านดอลลาร์เทียบกับปีที่แล้ว

ตามรายงานของนิตยสารข่าวรายปักษ์ "เซเว่นเดย์นิวส์" (Seven-Day News) มูลค่าการค้าขายข้ามแดนที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลจากการส่งออกสินค้าการเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 355 ล้านดอลลาร์ กับสินค้าผลิตภัณฑ์จากป่าไม้อีก 75 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตามสื่อของทางการฉบับนี้อ้างตัวเลขกระทรวงการค้าระบุว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว การส่งออกสัตว์มีชีวิต ผลิตผลจากทะเลและแร่ธาตุต่างๆ ได้ลดปริมาณลง

จนถึงปัจจุบันการค้าขายข้ามพรมแดนโดยกระทำผ่านด่านทั้งหมด 13 แห่งตามแนวพรมแดนติดกับไทย จีน อินเดียและบังกลาเทศ เซเว่นเดย์ฯ กล่าว

รายงานอีกชิ้นหนึ่งกล่าวว่า ช่วงเดียวกันนี้การส่งออกสินค้าพวกผักและผลไม้ข้ามพรมแดนมีปริมาณสูงขึ้น รวมเป็นน้ำหนักมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 120,000 ตัน โดยมีจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด ไทย กับอินเดียรองลงไป

สื่อของทางการไม่ได้ระบุตัวเลขส่งออกสินค้าหมวดนี้

ปัจจุบันพม่าส่งออกผักผลไม้พวกแตงไทย สัปปะรด ส้มโอ ผลอาโวคาโด รวมทั้งหน่อไม้ฝรั่งกับพริก ได้มากขึ้น เนื่องที่ที่ผ่านมาทางการได้เน้นให้เกษตรกรปลูกพืชผักผลไม้ที่ให้ผลผลิตสูงตามท้องที่ต่างๆ ที่เหมาะสม นิตยสารข่าวฉบับเดียวกันกล่าว

ปัจจุบันในพม่าปลูกพืชสวนครัวกว่า 100 ชนิด ผลไม้อีก 70 ชนิด มีเนื้อที่สวนผลไม้ทั่วประเทศ 729,000 เฮกตาร์ (กว่า 4,556,000 ไร่) เป็นไร่ผักชนิดต่างๆ 405,000 ไร่ (กว่า 2,530,000 ไร่) เป็นไร่พริก หอมกับมันฝรั่งอีก 263,250 เฮกตาร์ (กว่า 1,6450,000 ไร่) ทั้งนี้เป็นตัวเลขอย่างเป็นทางการ

ในพม่ายังมีกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า สตรอเบอร์รี ทุเรียน มะม่วงพันธุ์ต่างๆ มะละกอ รวมทั้งมะพร้าว ที่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย สื่อของทางการกล่าว

ตามสถิติของกระทรวงการค้า ระหว่างเดือน เม.ย.-ธ.ค.ปีที่แล้ว (หรือ 3 ไตรมาสปีงบประมาณ 2551-2552) พม่าส่งออก ผลไม้หลากหลายชนิดผ่านด่านชายแดนต่างๆมีมูลค่ากว่า 17 ล้านดอลลาร์ แต่ช่วงเดียวกันได้นำเข้าผลไม้อีกหลายชนิดรวมน้ำหนักกว่า 50,000 ตัน มูลค่าราว 10 ล้านดอลลาร์

ตามตัวเลขของกระทรวงดังกล่าว ช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551-2552 มูลค่าการค้ากับต่างประเทศ ได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 8,500 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 21.95% เทียบกับ 7,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2550-2551

ตัวเลขการค้าต่างประเทศทั้งหมดนี้ จำนวน 7,500 ล้านดอลลาร์เป็น "การค้าปกติ" ซึ่งหมายถึงการส่งออกจากท่าเรือหลักหรือท่าอากาศยานของประเทศ ขณะที่การค้าข้ามช่องทางด่านพรมแดนต่างๆ มีมูลค่าเพียง 1,000 ล้นดอลลาร์

ในช่วงสามไตรมาสดังกล่าว การส่งออกผ่านการค้าปกติมีมูลค่ากว่า 4,500 ล้านดอลลาร์ และส่งออกผ่านด่านพรมแดนต่างๆอีก 500 ล้านดอลลาร์ ในนั้นเป็นการส่งออกข้าว 200,000 ตัน รวมมูลค่า 60 ล้านดอลลาร์

ตามรายงานก่อนหน้านี้ รัฐบาลพม่าได้อนุญาตให้ส่งออกข้าวข้ามพรมแดนได้อีกครั้งในเดือน ต.ค. 2551 โดยเป็นข้าวที่เหลือจากบริโภคในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี เขตย่างกุ้งกับเขตพะโค ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนไทยมากที่สุด
<CENTER><FONT color=cc00cc> ภาพแฟ้มเดือน ก.พ.2551 ทางการพม่ากำลังเตรียมการเปิดด่านชายแดนแม่สอด-เมียววดีอีกครั้งหนึ่งหลังปิดปรับปรุงก่อสร้างเขตการค้าเมียววดีมาพักใหญ่ ที่นี่เป็นด่านค้าขายใหญ่ที่สุดที่ชายแดนของสองประเทศ ชื่อว่าข้าว นับแสนตันจากเขตย่างกุ้ง-พะโค ส่งเข้ามาที่นี่เมื่อปีที่แล้ว </FONT></CENTER>
ตามรายงานของเซเว่นเดย์นิวส์ก่อนหน้านี้ ก่อนจะถูกพายุจากทะเลเบงกอลลูกหนึ่งพัดเข้าถล่มเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ในเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว พม่ามีเป้าส่งออกข้าว 240,000 ตัน แต่เพิ่งจะส่งออกได้เพียงประมาณ 100,000 ตันในช่วงต้นปี

ภัยพิบัติในเขตอู่ข้าวใหญ่ของประเทศได้ทำให้การส่งออกข้าวยุติลงชั่วคราว จนกระทั่งถึงเดือน ต.ค.ปีนี้ นายกรัฐมนตรี พล.อ.เต็งเส่ง Thein Sein) ได้อนุญาตให้ส่งออกข้าวข้ามแพรมแดนได้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี

ทางการพม่าได้ควบคุมทุกขั้นตอนในการส่งออกข้าว ปกติจะอนุญาตให้ส่งออกโดยผ่านท่าเรือย่างกุ้งเท่านั้น

ปัจจุบันพม่าค้าขายกับกว่า 80 ประเทศและดินแดนทั่วโลก โดยไทยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง อย่างไม่เคยเปลี่ยนแปลงตลอดหลายปีมานี้ อินเดียเป็นอันดับสองและคาดว่าฮ่องกงจะขึ้นเป็นอันดับสองในปีงบประมาณ 2551-2552 ที่จะสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค.ปีนี้ สื่อของทางการกล่าว

การส่งออกไปยังดินแดนฮ่องกงของจีนในช่วงเดือนเดียวกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 700 ล้านดอลลาร์ แต่เมื่อดูตัวเลขโดยรวมแล้วปัจจุบันจีนทั้งประเทศยังเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 7 ของพม่า เซเว่นเดย์นิวส์กล่าว

**สหรัฐฯ อายัดทรัพย์ 2 นักธุรกิจ**

สัปดาห์ที่แล้วกระทรวงการค้าสหรัฐฯ ได้ประกาศอายัดทรัพย์สินนักธุรกิจพม่าอีก 2 คนพร้อมทั้งทรัพย์สินของบริษัทต่างๆ ที่เป็นเจ้าของ โดยเชื่อว่าทั้งหมดเป็นฐานทางการเงินให้แก่ ผู้นำกับกลุ่มปกครองทหาร ที่ครองอำนาจติดต่อกันมาเป็นเวลา 44 ปี

รายแรกคือ นายวินออง (Win Aung) วัย 55 ปี เป็นนักธุรกิจก่อสร้างรายใหญ่ กับนายซอซอ (Zaw Zaw) อายุ 42 ทำธุรกิจค้าหยก อัญมณีกับแร่ธาตุล้ำค่าต่างๆ รวมทั้งธุรกิจโรงแรมกับรีสอร์ทภายใต้กลุ่ม Max Myanmar Group ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี

ทางการสหรัฐฯ ยังขยายมาตรการอายัดทรัพย์ของนายเทซา (Tay Za) ประธานสายการบินแอร์พุกาม ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปีที่แล้ว พร้อมบริษัทธุรกิจ 10 แห่งในสิงคโปร์ กระทรวงการค้ายังห้ามธุรกิจของสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์และความร่วมมือใดๆ กับนักธุรกิจกลุ่มนี้อีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น