xs
xsm
sm
md
lg

เหมืองภูเบี้ยจ่ายค่าต๋งลาวรวยทองอีก 2,000 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพจากเว็บไซต์ของ Pan Australia Resources เครื่องกลหนักของบริษัทกำลังทำงานในเหมืองทอง ขณะเดียวกันเหมืองภูเบี้ย แขวงเวียงจันทน์ของลาว เริ่มส่งออกและส่งรายได้เป็นค่าสัมปทานกับค่าภาษีต่างๆ ให้กับลาวแล้ว  </FONT></CENTER>

ผู้จัดการ360รายสัปดาห์-- ขณะที่โลกภายนอกกำลังปั่นป่วนในปีแห่งวิกฤตทางการเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกลับรวยขึ้นมาอย่างเงียบๆ เมื่อเหมืองภูเบี้ยมีรายได้จากการส่งออกในปีแรกเฉียด 100 ล้านดอลลาร์ ในนั้นทางการลาวจะได้เป็นค่าสัมปทานและภาษีอากรเกือบ 60 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2,000 ล้านบาท

นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นในปีแรกที่ทำการผลิต คาดกันว่าเหมืองใหญ่ในแขวงเวียงจันทน์แห่งนี้จะผลิตทองแดง ทองคำและเงินรวมกันได้หลายแสนตัน ตลอดเวลาสัมปทานที่เหลืออยู่ 12 ปีข้างหน้า

ตัวเลขต่างๆ ได้รับการเปิดเผยในสัปดาห์ต้นเดือน ธ.ค. เมื่อนายไซสมพอน พมวิหาน รองประธานสภาแห่งชาติระหว่างสมาชิก นำสมาชิกฯ จำนวนหนึ่งเดินทางไปเยี่ยมชมกิจการของเหมือง ในเขตเมืองไซสมบูน ที่อยู่ภายใต้สัมปทานของบริษัทแพนออสเตรเลียนรีสอร์สเซสจำกัด (Pan Australia Resources)

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ "ประชาชน" หนังสือพิมพ์รายวันของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ปัจจุบันที่เหมืองแห่งนี้ผลิตทองคำได้เฉลี่ยเพียง 100 กิโลกรัมต่อเดือน และ จะผลิตผลิตทองแดงเพียง 200,000 ตันในปีแรก
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพจากแฟ้ม-- วิศวกรชาวออสเตรเลียถือทองคำแท่งโชว์ นี่คือช่วงที่เริ่มทำการผลิตและยังไม่ได้ส่งออกเมื่อปีที่แล้ว </FONT></CENTER>
นับตั้งแต่เริ่มการผลิตในเดือน พ.ค.จนถึงเดือน พ.ย. เหมืองภูเบี้ย ผลิต "แร่ทองเข้มข้น" ซึ่งมีทองแดง ทองคำและแร่เงินผสมกันได้กว่า 92 ตัน ส่งออกแล้วกว่า 81 ตัน ทำรายได้กว่า 89 ล้านดอลลาร์ คาดว่ายอด ส่งออกจะเพิ่มขึ้นอีกเมื่อสิ้นปี เช่นเดียวกันกับเงินรายได้

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ "ประชาชน" รัฐบาลลาวกำลังจะได้รับส่วนแบ่งเป็นค่าภาคหลวง 36% ของรายได้ นั่นคือประมาณ 15.26 ล้านดอลลาร์ ภาษีกำไร 25% ประมาณ 20.24 ล้านดอลลาร์ และภาษีเงินได้ของพนักงานเหมืองแห่งนี้อีกราว 15.26 ล้านต่อปี คาดว่าปีนี้ ส่วนแบ่งที่ลาวได้รับจะสูงกว่า 60 ล้านดอลลาร์ (กว่า 2,100 ล้านบาท)

ไม่เพียงแต่เหมืองทองแห่งที่สองของประเทศจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่เท่านั้น ที่นั่นยังจ้างแรงงานประเภทต่างๆ กว่า 1,700 คน 90% เป็นคนลาว และ 30% เป็นคนในท้องถิ่น และ 30% เป็นแรงงานสตรี "ประชาชน" กล่าว

ตามรายงานของสื่อทางการภายใต้สัญญาสัมปทานนั้น บริษัทภูเบี้ยไมนิ่ง ยังจะต้องจ่ายให้โครงการพัฒนาต่างๆ ในท้องถิ่น 50,000 ดอลลาร์ในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ดอลลาร์ในปี 2546 เป็น 200,000 ดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว และเป็น 300,000 ดอลลาร์ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

รัฐบาลลาวได้ให้สัมปทานแก่ บริษัทภูเบี้ยไมนิ่ง (Phu Bia Mining) ในเดือน ม.ค.2537 โดยตกทอดจากเจ้าของสัมปทานเดิม บริษัทนี้ผ่านวิกฤติการการเงินครั้งใหญ่ในเอเชีย และใช้เวลารวมกัน 10 ปีในการตั้งหลัก

ปี 2547 แพนออสเตรเลียระดมทุนได้ 30 ล้านดอลลาร์ (ออสเตรเลีย) ต่อมาเดือน เม.ย. 2548 ได้จัดการกับหนี้สินที่ตกทอด

แพนออสเตรเลียเคยถือหุ้น 80% ในโครงการภูเบี้ย ในเดือน ก.ย.2548 ได้ซื้อหุ้น 20% จากบริษัทนิวมอนท์ เซาธ์อีสเอเชีย (Newmont SEA) ทำให้เป็นผู้ถือหุ้นสิทธิขาด 100% สามารถดำเนินกิจการต่อมาได้ การก่อสร้างโรงงานและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ แล้วเสร็จในสิ้นปี

เมื่อต้นปี 2551 รัฐบาลลาวได้ใช้สิทธิ์ตามข้อตกลงเข้าซื้อหุ้น 10% ในโครงการภูเบี้ย
<CENTER><FONT color=#FF0000> ทองแท่งตีตรา PBM หรือ Phu Bia Mining Co บอกให้รู้ถึงแหล่งผลิต เชื่อว่ารัฐบาลลาวจะมีรายได้จากเหมืองแห่งนี้นับพันล้านดอลลาร์ตลอดอายุสัมปาน </FONT></CENTER>
ปัญหาของเหมืองทองแห่งที่สองของประเทศนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของเหมืองภูคำอย่างแยกกันไม่ออก ที่นั่นเป็นเหมืองทองแห่งที่สามและมีกำหนดจะเริ่มการผลิตในต้นปีหน้า

นับเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยตัวเลขรายได้จากเมืองภูเบี้ย หลังจากเมื่อปีที่แล้วเหมืองเซโปนโดยบริษัทล้านช้างมิเนอรัล (Lane Xang Mineral) ที่ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัทออกเซียน่ารีสอร์สเซส (Oxiana Resources) จากออสเตรเลีย จ่ายค่าตอบแทนต่างๆ ให้แก่รัฐบาลลาวถึง 72 ล้านดอลลาร์

ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว (ขปล.) ทางการได้ยกเว้นภาษีให้แก่เหมืองเซโปนเป็นเวลา 2 ปีระหว่างปี 2546-2547 ล้านช้างมิเนอลรัลเสียภาษีให้แก่รัฐบาลครั้งแรกในปี 2548 เป็นเงิน 7.1 ล้านดอลลาร์ และ ในปี 2549 เงินค่าตอบแทนที่ให้แก่รัฐได้เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าตัว เป็น 49.6 ล้านดอลลาร์

ลาวอุดมไปด้วยสินแร่ลำค่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีเหมืองทองผุดขึ้นมาอีกหลายแห่ง กลางปีที่ผ่านมาบริษัทอมันตารีซอร์สเซสจำกัด (Amanta Resources Ltd) จากคานาดา ได้เริ่มสำรวจแหล่งทองแดงและอื่นๆ ในแขวงอุดมไซกับแขวงหลวงน้ำทาทางตอนเหนือของประเทศ

บริษัทเหมืองแร่จากจีนแห่งหนึ่งกำลังสำรวจแหล่งทองแดง-ทองคำในแขวงหัวพัน อีกแห่งหนึ่งกำลังสำรวจอยู่ในแขวงอุดมไซทางตอนเหนือของลาว

ล่าสุดเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ทางการลาวเพิ่งอนุญาตให้บริษัทจากเวียดนามแห่งหนึ่งเข้าสำรวจแร่ทองแดง-ทองคำ ในแขวงเซกองทางใต้สุดของประเทศ

ลาวมีประชากรเพียงประมาณ 5.8 ล้านคน รายได้จากเหมืองแร่มีส่วนสำคัญทำให้รายได้ต่อหัวประชากรต่อปีของประเทศนี้เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ทางการตั้งเป้าจะขจัดความยากจนให้หมดจากสังคมภายในปี 2553.
กำลังโหลดความคิดเห็น