xs
xsm
sm
md
lg

เขมรเล็งทุนนอก $3 พันล้านแลก 99 ปีที่ดินล้านไร่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพจากแฟ้มเดือน มิ.ย.2551 ชาวพนมเปญเดินผ่านแผ่นคัตเอ้าท์ขนาดใหญ่โฆษณาโครงการก่อสร้างอาคาร International Finance Complex พิธีวางศิลาฤกษ์จัดขึ้นในวันที่ 18 ที่นี่กำลังจะมีอาคารสูง 52 ชั้นหลังหนึ่ง ซึ่งจะกลายเป็นแลนด์มาร์คในเมืองหลวงกัมพูชาที่เต็มไปด้วยอาคารต่ำ ผู้ลงทุนได้กรรมสิทธิ์ที่ดินผืนงามเป็๋นเวลา 99 ปี แต่การก่อสร้างได้ยุติลงแล้วเนื่องจากผู้ลงทุนจากเกาหลีขาดสภาพคล่อง (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>

ผู้จัดการราย 360 องศาสัปดาห์-- ทางการกัมพูชากำลังเจรจากับนักลงทุนในเอเชียและจากตะวันออกกลาง โดยตั้งเป้าจะให้ได้เงินลงทุนไหลเข้าประเทศอีกราว 3,000 ล้านดอลลาร์ โดยแลกกับสิทธิ์ครอบครองที่ดินระยะยาวนับล้านๆ ไร่

นายสัวส์ยะรา (Suos Yara) ปลัดกระทรวงคนหนึ่งที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ เป็นผู้เปิดเผยเรื่องนี้ในการประชุมสัมมนาในกรุงพนมเปญเมื่อเร็วๆ นี้ โดยย้ำด้วยว่าบางโครงการจะลงเอยกันได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

การเปิดเผยเรื่องนี้ยังมีขึ้นในขณะที่นักลงทุนจากตะวันออกกลางกับประเทศใกล้เคียง ซึ่งรวมทั้งจีน เวียดนาม มาเลเซียและประเทศไทย ต่างมุ่งหน้าเข้าไปครอบครองผืนดินอันอุดมของกัมพูชา เพื่อโครงการด้านการเกษตรต่างๆ

เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลของนายกรัฐมนตรี สมเด็จฯ ฮุนเซน สามารถให้นักลงทุนครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ถึง 90 ปี ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในก็คือ สนามกอล์ฟโภคีธาราในเสียมราฐ ซึ่งเป็นของกลุ่มไทยนครพัฒนาจากประเทศไทย ที่ได้กรรมสิทธิ์เหนือที่ดินนานถึง 70 ปี

รัฐบาลคูเวตกับรัฐบาลกาตาร์ ได้แสดงความสนใจอย่างยิ่งต่อแผนการทำนาในกัมพูชา เช่นเดียวกันกับนักลงทุนเกาหลีและฟิลิปปินส์ ซึ่งไม่สามารถขยายพื้นที่นาในประเทศได้อีก นายยะรากล่าว

กระแสตื่นที่ดินเพื่อการเกษตรในกัมพูชาเริ่มขึ้นในปีนี้ เมื่อเกิดยุคข้าวยากหมากแพง หลายประเทศไม่สามารถหาซื้อข้าวในตลาดโลกได้เป็นเวลาหลายเดือน

การลงทุนในที่ดินดูจะเหมาะกับยุคสมัยยิ่งขึ้นเมื่ออุตสาหกรรมแขนงอื่นๆ กำลังได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในขณะนี้

ไม่กี่เดือนมานี้รัฐบาลคูเวตได้ปล่อยกู้ให้แก่กัมพูชารวมเป็นเงิน 546 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปพัฒนาระบบชลประทานและก่อสร้างเขื่อนสนองน้ำให้แก่ผืนนาใน จ.กัมปงธม (Kampong Thom) อู่ข้าวใหญ่ในภาคกลางของประเทศ
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพถ่ายทางอากาศเกาะรง (Rong) จากเว็บไซต์แห่งหนึ่ง กลุ่มทุนใหญ่โรยัลกรู๊ป (Royal Group) ได้สิทธิ์สัมปทานพื้นที่เกือบทั้งหมดของเกาะใหญ่นอกชายฝั่งเมืองสีหนุวิลล์แห่งนี้เป็นเวลา 99 ปีเพื่อพัฒนาเป็นเกาะท่องเที่ยวชั้นนำในอ่าวไทย บริษัทนี้กำลังจะใช้เงินราว 200 ล้านดอลลาร์ก่อสร้างและพัฒนาถนนหนทางระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งสนามบินและกำลังมองหาผู้ร่วมทุน </FONT></CENTER>
เงินกู้คูเวตนับเป็นทุนก้อนโตดันดับสองรองจากเงินให้เปล่ากับเงินช่วยเหลือจำนวน 601 ล้านดอลลาร์ที่รัฐบาลจีนหยิบยื่นให้เมื่อปีที่แล้ว

สำหรับบางประเทศ การออกลงทุนทำธุรกิจการเกษตรในต่างแดนเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นทุกวัน

เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทแดวูโลจิสติกส์ (Daewoo Logistics) จากเกาหลีใต้ได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลมาดากัสการ์ซึ่งเป็นประเทศเกาะใหญ่นอกฝั่งทวีแอฟริกาทางตะวันออก แดวูฯ ได้กรรมสิทธิ์ที่นา 1.3 ล้านเฮกตาร์ (1 เฮกตาร์= 6.25 ไร่) เป็นเวลาถึง 99 ปี

เจ้าหน้าที่กัมพูชาไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับแผนการลงทุนของต่างชาติ แต่ก็กล่าวว่าการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการเช่าที่นับล้านๆ เฮกตาร์ โดยมีอายุเวลาการเช่า 70-90 ปี
<CENTER><FONT color=#FF0000> ที่นี่คือ หมู่บ้านร๊อตไวเลอร์ (Rotweiler Village) ตามที่นักท่องเที่ยวจากตะวันตกเรียกขานชุมชนใหญ่ที่สุดบนเกาะรง เนื่องจากมีสุนัขเป็นจำนวนมาก ทัศนียภาพเกาะที่เห็นอยู่เบื้องหลังโน้นเป็นเกาะใหญ่น้อยที่รัฐบาลให้นักลงทุนต่างชาติเช่าไปแล้วตั้งแต่ 70-99 ปี ตามขนาดของโครงการลงทุน </FONT></CENTER>
ตามข้อมูลของรัฐบาลทั่วกัมพูชามีที่ดินที่สามารถใช้ทำประโยชน์ทางการเกษตรได้ทั้งหมดประมาณ 6 ล้านเฮกตาร์ ในนั้น 2.5 ล้านเฮกตาร์คือ พื้นที่นาในปัจจุบัน

ชาวกัมพูชาโดยพื้นฐานประกอบอาชีพการเกษตรโดยทำนาเป็นหลัก ปีที่แล้วผลิตข้าวได้รวมกัน 2.5 ล้านตันข้าวสาร และส่งออกได้แล้วประมาณ 1.3 ล้านตัน เจ้าหน้าที่กล่าวว่าหากมีระบบชลประทานที่ดีขึ้น และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการปีที่แล้ว มีเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลเข้า 3,000 ล้านดอลลาร์ แต่ 45% ของทั้งหมดเป็นการลงทุนเข้าในโครงการก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันกำลังย่ำแย่ เพียง 25% ที่เข้าลงทุนในภาคผลิตการเกษตร

นายยะรากล่าวว่า รัฐบาลได้ตั้งเป้าจะให้มีเงินลงทุนเข้าในภาคการเกษตรในปริมาณเท่าๆ กัน และ การลงทุนในแขนงการเกษตรนั้นมีความยั่งยืนมากกว่า
<CENTER><FONT color=#FF0000> ก่อนหน้านี้ไม่นานนักลงทุนพากันออกล่าที่ดินเช่าระยะยาวบนเกาะฟุก๊วก (Phu Quoc) ของเวียดนามในอ่าวไทย แต่ที่นั่นให้เวลาสัมปทาน 25-30 ปีเท่านั้น ทุนล่าที่ดินจำนวนมากจึงบ่ายหน้าเข้ากัมพูชาแทน </FONT></CENTER>
ในช่วงปีใกล้ๆ นี้ ทางการกัมพูชาไปให้สัมปทานที่ดินแก่บริษัทจีนและเวียดนามไปหลายแสนไร่ สำหรับโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ทำสวนยางพาราและปลูกพืชน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือกซึ่งรวมทั้งสวนปาล์มกับไร่สบู่ดำด้วย

อย่างไรก็ตามนักลงทุนจากจีนและเกาหลีใต้จำนวนไม่น้อยได้สัมปทานที่ดินอีกนับแสนไร่ในโครงการลงทุนก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษกรุงพนมเปญ และศูนย์อุตสาหกรรมริมทะเลอ่าวไทยในภาคใต้ของประเทศ

ในช่วงปีใกล้ๆ นี้รัฐบาลกัมพูชายังให้สัมปทานเกาะกว่า 10 แห่งในอ่าวไทย ในเขตนอกชายฝั่งเมืองสีหนุวิลล์ สำหรับนักลงทุนที่เข้าไปแสวงหาโอกาสทางด้านการท่องเที่ยว

นักลงทุนเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเหล่านั้นมีทั้งชาวกัมพูชาเอง ชาวจีน เกาหลีใต้ บางรายไปไกลจากรัสเซีย อังกฤษและฝรั่งเศสด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น