ศูนย์ข่าวศรีราชา -โครงการ “จันทบุรี นครแห่งอัญมณี” ที่รัฐบาลทักษิณเคยวาดฝันให้เป็นศูนย์กลางผลิตและจำหน่ายพลอยและอัญมณีคุณภาพแห่งใหญ่ของโลกยังไกลเกินฝัน ปัจจุบันยังประสบปัญหารอบด้าน จี้รัฐเร่งแก้ปัญหา และตั้งองค์กรเพื่อให้ความรู้ผู้ผลิตสำหรับผลิตสินค้าให้ตรงต่อความต้องการของตลาด ก่อนตลาดพลอยจันท์จะเหลือเพียงตำนาน ขณะที่ ปัญหาใหม่อยู่ที่แหล่งวัตถุดิบใหญ่อย่างมาดากัสการ์ เริ่มเข้มงวดเรื่องการส่งวัตถุดิบป้อน
นายเกษมศักดิ์ ขันติมงคล อุปนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี เผยถึงภาวะการค้าพลอยของจังหวัดจันทบุรีนับแต่ช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบันว่า ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมถึงการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันและทองคำ จนส่งผลต่อจิตวิทยาของกลุ่มผู้ซื้อในตลาดหลักอย่าง อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น อินโดนีเซียและฮ่องกง ที่ลดคำสั่งซื้อล่วงหน้า จนทำให้ผู้ผลิตและโรงงานประกอบตัวเรือนในจังหวัดไม่สามารถขายสินค้าที่ผลิตได้
ที่สำคัญ การส่งขายอัญมณีและเครื่องประดับผ่านพ่อค้าคนกลางทั้งชาวไทยและต่างชาติยังทำให้สินค้าพลอยและอัญมณีของจันทบุรีถูกกดราคาอย่างหนัก จนผู้ประกอบการต้องยอมแบกรับภาระขาดทุน เนื่องจากต้องการนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงาน
“ปัญหาที่เราเจอตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา คือ 1.สินค้าทั้งพลอยและอัญมณีขายไม่ได้ 2.ตลาดต่างประเทศยกเลิกวิธีการซื้อแบบเหมา เป็นการคัดเฉพาะพลอยคุณภาพ ผู้ประกอบการจึงต้องแบกรับภาระทางการตลาด 3.ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะแบงก์ไม่ให้เครดิตแก่ธุรกิจประเภทนี้ นอกจากนั้นเรายังต้องเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้คำสั่งซื้อแทบหยุดชะงัก ที่สำคัญผู้ส่งวัตถุดิบรายใหญ่อย่างประเทศมาดากัสการ์ ที่เรานำเข้าพลอยเนื้อแข็งถึง 80% เริ่มเข้มงวดในการส่งพลอยดิบออกนอกประเทศ ทำให้เราจำเป็นต้องเร่งหาแหล่งวัตถุดิบใหม่”
ทั้งนี้ สิ่งที่สมาคมฯ ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ทั้งจากรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับแห่งประเทศไทย ก็คือการหาตลาดส่งออกสินค้าพลอย อัญมณีและเครื่องประดับในตลาดใหม่ที่กลุ่มผู้ผลิตสามารถกำหนดราคาขายได้เองโดยที่ไม่ต้องเจอกับการถูกกดราคาอย่างที่ผ่านมา
นอกจากนั้น รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดตั้งองค์กรในการดูแลด้านการตลาดและพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทั้งการประกอบตัวเรือนและการออกแบบสินค้าให้ตรงต่อความต้องการของตลาด รวมถึงกำหนดให้แหล่งเงินทุนปล่อยเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่จะพิจาณาจากประสบการณ์ของผู้ประกอบการ
นายเกษมศักดิ์ ยังเผยถึงการจัดตั้งโครงการ “จันทบุรี นครแห่งอัญมณี” ซึ่งรัฐบาลทักษิณ เคยวาดฝันให้จังหวัดจันทบุรีเป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายสินค้าพลอย อัญมณีและเครื่องประดับที่มีคุณภาพของโลกว่า ยังเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายประการ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาที่ผู้ประกอบการแบกรับมีมาก เกินกว่าจะพัฒนาไปสู่จุดดังกล่าวได้ เห็นได้จากโรงงานประกอบตัวเรือน และเจียระไนพลอยที่ปิดกิจการไปแล้วเป็นจำนวนมาก จากเดิมที่เคยมีหลายพันโรงงานกลับเหลือเพียงหลักร้อยโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานขนาดเล็ก ไม่สามารถแบกรับต้นทุนดำเนินการและไม่สามารถหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าได้
“ปัญหาคือ เราไม่สามารถทำตลาดได้เอง เช่น การจัดโรดโชว์ในต่างประเทศ ทั้งตลาดหลักอย่างอเมริกา หรือสวิตเซอร์แลนด์ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลควรจะเข้ามาเป็นผู้นำในการจัดระบบการพัฒนาตลาดพลอยในประเทศใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะในอนาคตหากเราไม่เร่งรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพในการผลิต ออกแบบและเจียระไน ก็อาจจะถูกประเทศผู้ผลิตใหญ่ ดึงบุคลากรเหล่านี้ไปผลิตสินค้าที่มีคุณภาพในประเทศเขาได้ เมื่อถึงวันนั้นตลาดพลอยจันท์อาจเหลือเพียงตำนาน ”
นายเกษมศักดิ์ ยังกล่าวถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบันว่า ไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากผู้ผลิตและจำหน่ายในจังหวัดจันทบุรีไม่มีการรวมตัวกันอย่างชัดเจน จนทำให้ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลระหว่างกัน และยังเป็นจุดอ่อนให้ตลาดพลอยจันท์ไม่สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ดังนั้น ในอนาคตหากมีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก็น่าจะทำให้อนาคตของตลาดพลอยจันท์กลับมาแข็งแกร่ง ดั่งเมื่อ 20 ปีก่อน ที่เคยมีมูลค่าตลาดเฉลี่ยหลายร้อยล้านบาทต่อเดือน
นายเกษมศักดิ์ ขันติมงคล อุปนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี เผยถึงภาวะการค้าพลอยของจังหวัดจันทบุรีนับแต่ช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบันว่า ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมถึงการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันและทองคำ จนส่งผลต่อจิตวิทยาของกลุ่มผู้ซื้อในตลาดหลักอย่าง อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น อินโดนีเซียและฮ่องกง ที่ลดคำสั่งซื้อล่วงหน้า จนทำให้ผู้ผลิตและโรงงานประกอบตัวเรือนในจังหวัดไม่สามารถขายสินค้าที่ผลิตได้
ที่สำคัญ การส่งขายอัญมณีและเครื่องประดับผ่านพ่อค้าคนกลางทั้งชาวไทยและต่างชาติยังทำให้สินค้าพลอยและอัญมณีของจันทบุรีถูกกดราคาอย่างหนัก จนผู้ประกอบการต้องยอมแบกรับภาระขาดทุน เนื่องจากต้องการนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงาน
“ปัญหาที่เราเจอตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา คือ 1.สินค้าทั้งพลอยและอัญมณีขายไม่ได้ 2.ตลาดต่างประเทศยกเลิกวิธีการซื้อแบบเหมา เป็นการคัดเฉพาะพลอยคุณภาพ ผู้ประกอบการจึงต้องแบกรับภาระทางการตลาด 3.ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะแบงก์ไม่ให้เครดิตแก่ธุรกิจประเภทนี้ นอกจากนั้นเรายังต้องเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้คำสั่งซื้อแทบหยุดชะงัก ที่สำคัญผู้ส่งวัตถุดิบรายใหญ่อย่างประเทศมาดากัสการ์ ที่เรานำเข้าพลอยเนื้อแข็งถึง 80% เริ่มเข้มงวดในการส่งพลอยดิบออกนอกประเทศ ทำให้เราจำเป็นต้องเร่งหาแหล่งวัตถุดิบใหม่”
ทั้งนี้ สิ่งที่สมาคมฯ ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ทั้งจากรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับแห่งประเทศไทย ก็คือการหาตลาดส่งออกสินค้าพลอย อัญมณีและเครื่องประดับในตลาดใหม่ที่กลุ่มผู้ผลิตสามารถกำหนดราคาขายได้เองโดยที่ไม่ต้องเจอกับการถูกกดราคาอย่างที่ผ่านมา
นอกจากนั้น รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดตั้งองค์กรในการดูแลด้านการตลาดและพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทั้งการประกอบตัวเรือนและการออกแบบสินค้าให้ตรงต่อความต้องการของตลาด รวมถึงกำหนดให้แหล่งเงินทุนปล่อยเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่จะพิจาณาจากประสบการณ์ของผู้ประกอบการ
นายเกษมศักดิ์ ยังเผยถึงการจัดตั้งโครงการ “จันทบุรี นครแห่งอัญมณี” ซึ่งรัฐบาลทักษิณ เคยวาดฝันให้จังหวัดจันทบุรีเป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายสินค้าพลอย อัญมณีและเครื่องประดับที่มีคุณภาพของโลกว่า ยังเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายประการ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาที่ผู้ประกอบการแบกรับมีมาก เกินกว่าจะพัฒนาไปสู่จุดดังกล่าวได้ เห็นได้จากโรงงานประกอบตัวเรือน และเจียระไนพลอยที่ปิดกิจการไปแล้วเป็นจำนวนมาก จากเดิมที่เคยมีหลายพันโรงงานกลับเหลือเพียงหลักร้อยโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานขนาดเล็ก ไม่สามารถแบกรับต้นทุนดำเนินการและไม่สามารถหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าได้
“ปัญหาคือ เราไม่สามารถทำตลาดได้เอง เช่น การจัดโรดโชว์ในต่างประเทศ ทั้งตลาดหลักอย่างอเมริกา หรือสวิตเซอร์แลนด์ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลควรจะเข้ามาเป็นผู้นำในการจัดระบบการพัฒนาตลาดพลอยในประเทศใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะในอนาคตหากเราไม่เร่งรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพในการผลิต ออกแบบและเจียระไน ก็อาจจะถูกประเทศผู้ผลิตใหญ่ ดึงบุคลากรเหล่านี้ไปผลิตสินค้าที่มีคุณภาพในประเทศเขาได้ เมื่อถึงวันนั้นตลาดพลอยจันท์อาจเหลือเพียงตำนาน ”
นายเกษมศักดิ์ ยังกล่าวถึงมูลค่าตลาดในปัจจุบันว่า ไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากผู้ผลิตและจำหน่ายในจังหวัดจันทบุรีไม่มีการรวมตัวกันอย่างชัดเจน จนทำให้ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลระหว่างกัน และยังเป็นจุดอ่อนให้ตลาดพลอยจันท์ไม่สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ดังนั้น ในอนาคตหากมีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก็น่าจะทำให้อนาคตของตลาดพลอยจันท์กลับมาแข็งแกร่ง ดั่งเมื่อ 20 ปีก่อน ที่เคยมีมูลค่าตลาดเฉลี่ยหลายร้อยล้านบาทต่อเดือน