xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามอวดสาวสวยชนเผ่า..ช้างเผือกในป่าใหญ่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> สาวชาว ซ-หยาวแดง สวมหมวกผ้าหรือผ้าโพกศีรษะสีฉูดฉาดอย่างมีเอกลักษณ์ </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ทางการเวียดนามได้นำภาพสวยของหญิงสาวชนชาติส่วนน้อยหลายชนเผ่าจากจังหวัดภาคเหนือ ออกอวดสายตานักท่องเที่ยวต่างชาติ นี่คือชนเผ่ากลุ่มใหญ่ที่มีอยู่กว่าแปดสิบกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในวิถีดั้งเดิม ในเขตป่าและภูเขาสูงทางตอนเหนือของประเทศ

ภาพทั้งหมดตีพิมพ์บนเว็บไซต์ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ตามแผนการที่จะแสดงให้เห็นความขยันขันแข็งในการออกแรงทำงานและการประกอบสัมมาอาชีพตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่ดั้งเดิมชนเผ่าต่างๆ

สื่อทางการรายงานก่อนหน้านี้ ขณะที่บางส่วนของประเทศกำลังเจริญรุ่งเรืองเต็มไปด้วยแสงสีกับกลิ่นอายของสังคมเมือง แต่พรรคคอมมิวนิสต์มีนโยบายที่แน่ชัดในการธำรงรักษาและปกป้องชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ให้สามารถสืบทอดขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ต่อไป โดยมิให้ "สิ่งใหม่" เข้าไปกล้ำกลาย

สำนักข่าวเวียดนาม (วีเอ็นเอ) รายงานบนเว็บไซต์ของพรรคคอมมิวนิสต์ระบุว่า หญิงสาวชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ในประเทศล้วนสวยงามและเปี่ยมด้วยเสน่ห์ ไม่ว่าจะเป็นชาวด๋าว ชาวเตย (Tay) ชาว นุง (Nung) หรือชาวเผ่าม้ง (Mong) เพียงแต่มองจากเครื่องแต่งกาย ผู้ที่ผ่านไปพบก็จะทราบได้ทันทีว่าสาวงามเหล่านี้เป็นชนชาติใด

"จังหวัดในเขตเขาทางภาคเหนือของประเทศ ไม่เพียงแต่มีขุนเขาอันสลับซับซ้อนและสวยงามอย่างโดดเด่นเท่านั้น แต่ยังมีถิ่นที่อยู่ของชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ทุกๆ แห่งล้วนมีเอกลักษณ์ของตน" สำนักข่าวของทางการกล่าว

ทั้งหมดที่เว็บไซต์พรรคคอมมิวนิสต์นำออกเผยแพร่ในขณะนี้ เป็นภาพของหญิงสาวชนชาติส่วนน้อยของประเทศในเครื่องแต่งกายวัฒนธรรมและถ่ายทำในขณะที่พวกเธออยู่ในอิริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
<CENTER><FONT color=#FF0000> สาวชาว ซ-หยาว แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่รัดกุม ชนชาตินี้ตั้งถิ่นฐานเกาะกลุ่มกันใน จ.ลายโจว (Lai Chau) ที่อยู่ตอนเหนือสุดของประเทศ </FONT></CENTER>
สำหรับชาว "ซ-หยาว" (Dao) ยังแบ่งออกเป็น "ซ-หยาวแดง" กับ "ซ-หยาวขาว" โดยเรียกตามเครื่องแต่งกายที่โดดเด่นของพวกเธอเป็นหลัก สาวชาวซ-หยาวแดงจะสวมกางเกงรัดรูปสีแดง
<CENTER><FONT color=#FF0000> หญิงสาวชาว ซ-หยาวเตียน มีวัจปฏิบัติแตกต่างออกไปและแยกกลุ่มออกไปตั้งถิ่นฐานในท้องถิ่นอื่น</FONT></CENTER>
ส่วนชาวด๋าวขาวจะสวมกางเกงหลวมๆ สบายๆ ตัดเย็บด้วยผ้าสีขาว นอกจากนั้นยังมีชาวซ-หยาวเตียน (Dao Tien) ที่แยกกลุ่มออกไปตั้งภูมิลำเนาจากกลุ่มอื่นๆ ต่างหาก

แต่สิ่งที่หญิงสาวชาวซ-หยาวมีร่วมกันก็คือ วัฒนธรรมการสวมหมวกหรือผ้าโพกศีรษะ สวมเสื้อคลุมสีสันฉูดฉาด สวมกางเกงในหน้าหนาวและเปลี่ยนเป็นกระโปรงในหน้าร้อน หญิงสาวชาวด๋าวจะสวมเสื้อผ้ามิดชิดและแนบเนียนมาก วีเอ็นเอกล่าว
<CENTER><FONT color=#FF0000> สาวชาวเผ่าม้งดำขยันขันแข็งทำงาน ใช้ชีวิตประจำวันดั้งเดิม</FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000> สาวชาวห่าญี (Ha Nhi) สวมเสื้อลายสีสดใส เปียผมและมัดเรียบร้อย เก็บหาอาหารในป่าและตามลำธารธรรมชาติ </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000> สาวชาวเส่ย (Giay) กับวัฒนธรรมการทำนาขั้นบันได </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000> สาวชนเผ่าลาจิ (La Chi) อยู่ไกลสุดติดชายแดนจีน ญาติๆ ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลหยุนหนัน   </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000> สาวชาวเตย (Tay) ในเขตเมืองซาปาแต่งกายเรียบง่าย กลุ่มใหญ่อาศัยอยู่ใน จ.ล่าวกาย (Lao Cai) ติดชายแดนจีน </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000> หญิงสาวชาวปาดี (Pa Di) กับชาวไท (Thai) ยืนคู่กันอย่างบังเอิญที่เมืองซาปา ทั้งสองชนเผ่าอาศัยหนาแน่นใน จ.เซินลา (Son La) ที่อยู่ใต้ลงไป </FONT></CENTER>
ไกลออกไปทางตอนเหนือสุดของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นใน จ.ล่าวกาย (Lao Cai) ลายโจว (Lai Chau) เซินลา (Son La) หรือ ใต้ลงไปที่ จ.เดียนเบียน (Dien Bien) ของเวียดนาม ล้วนเป็นถิ่นอาศัยของชนชาติส่วนน้อยที่อยู่ในวัฒนธรรมหลากหลาย

ท้องถิ่นต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้อยู่ห่างไกลจากกรุงฮานอย อันเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองในภาคเหนือมากนัก เพียงแต่ว่าทางการคอมมิวนิสต์มีนโยบายที่จะป้องกันมิให้ "วัฒนธรรมภายนอก" เหล่านั้นไหลบ่าเข้าไปกลืนวิถีชีวิตของชนชาติส่วนน้อยเหล่านี้
<CENTER><FONT color=#FF0000> หญิงสาวชนชาติญุง (Nhung) ที่ตลาดนัด อ.บั๊กห่า (Bac Ha) ใกล้กับเมืองซาปา ซึ่งเป็นปลายทางยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งของฉิ่งฉับทัวร์ทั้งหลาย </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000> หญิงสาวชาวฝูลา (Phu La) ในหมู่บ้านของพวกเธอเองที่ จ.เซินลา จังหวัดในเขตเขาทางภาคเหนือเป็นศูนย์รวมของ ช้างเผือก ที่ทางการเวียดนามเริ่มนำออกอวดชาวโลก </FONT></CENTER>
ใต้ลงไปในเขตที่ราบสูงภาคกลาง (Tay Nguyen) ยังมีชนชาติส่วนน้อยกลุ่มใหญ่ เช่น ชาวดั๊กลัก (Dak Lak) ชาวนง (Nong) และ ชาวยาลาย (Gia Lai) หลายจังหวัดในเขตเขาตั้งชื่อตามชื่อชนชาติส่วนน้อยที่เป็นพลเมืองส่วนใหญ่

ต่างไปจากทางตอนเหนือของประเทศ ปัจจุบันเขตที่ราบสูงภาคกลางอุดมไปด้วยสินแร่เศรษฐกิจสำคัญที่โลกกำลังต้องการ จึงเป็นที่หมายตาของนักลงทุนต่างชาติ

ตามรายงานของสื่อทางการเมื่อเดือนที่แล้ว เหมืองบ๊อกไซต์ (Bauxite) กำลังทำลายสภาพแวดล้อมอย่างหนักใน จ.ดั๊กลัก ซึ่งทำให้น้ำในแม่น้ำลำธารทั้งสายเกิดเน่าเสีย

ราษฎรทั้งที่เป็นชาวเวียดนามเองและชนชาติส่วนน้อยในท้องถิ่นจำนวนหนึ่งถูกบังคับให้อพยพออกนอกเขตเหมืองที่ต้องการพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ชีวิตประจำวันของคนเหล่านั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากวิถีดั้งเดิม.. อย่างน่าเป็นห่วง สื่อของทางการกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น