xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤตโลกลาม 30 เมกะโปรเจ็กท์เขมรล้มระนาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099> แหล่งก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้พบเห็นได้ทั่วไปในกรุงพนมเปญในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ทุกอย่างซบเซาลงอย่างรวดเร็วเมื่อวิกฤตการณ์เศรษฐกิจระดับโลกเริ่มส่งผลกระทบเข้าสู่ภูมิภาคแถบนี้ </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายสัปดาห์-- ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่เดือนกัมพูชายังมีความหวังจะได้เห็นตึกระฟ้าความสูงเกือบ 50 ชั้นในอีกไม่นานข้างหน้า ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของกรุงพนมเปญกับภาพรวมของประเทศอย่างสิ้นเชิง แต่นักลงทุนจากเกาหลีได้เลื่อนการก่อสร้างโครงการ "โกลเด้นทาวเวอร์" (Golden Tower) ออกไปอย่างไม่มีกำหนด

โครงการแห่งคามหวังนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ในเดือน ก.ย.ก่อนที่เศรษฐกิจโลกจะตกเข้าสู่วังวนแห่งความปั่นป่วน ในกัมพูชามีโปรเจ็กท์การก่อสร้างขนาดใหญ่อย่างน้อย 30 โครงการ

ปัญหาสถาบันการเงินยักษ์ล้มในสหรัฐฯ ยังไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อกัมพูชามากนัก แต่ปัญหาใหญ่เกิดขึ้นในประเทศผู้ลงทุน นักลงทุนจากเกาหลีใต้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบีเคโกลบอล (BK Global) จีเอส (GS) หรือยอนวู (Yapwoo) กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินอย่างหนัก

นายเต็งฤทธี (Teng Rithy) ผู้จัดการโครงการพารอสแม่โขง (Paros Mekong) ซึ่งเป็นของกลุ่มบีเคโกลบอล กล่าวว่าโครงการก่อสร้างย่านที่อยู่อาศัยและรีสอร์ทหรูริมน้ำมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์นี้แต่เดิมมีกำหนดจะเริ่มในเดือน ต.ค. แต่ต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังปั่นป่วน เงินเฟ้อพุ่งสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา

หมายความว่าหากทำอะไรต่อไปในตอนนี้ นักลงทุนเกาหลีใต้ในกัมพูชาจะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเงินวอนกับเงินดอลลาร์อย่างมหาศาล นอกจากนั้นยังหมายความว่า นักลงทุนไม่สามารถได้เครดิตจากธนาคารในเกาหลีที่เคยเจรจาเอาไว้อีกต่อไป จนกว่าสถานการณ์โลกจะผ่อนคลายลง

"เราเคยวางแผนจะขอกู้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับโครงการ แต่แบงก์ในเกาหลีได้งดการให้สินเชื่อสำหรับโครงการลงทุนในต่างแดนเมื่อเร็วๆ นี้" นายฤทธีกล่าว

ไม่เพียงแต่นักลงทุนที่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศเท่านั้นที่ประสบปัญหา เมื่อเร็วๆ นี้แม้แต่เครือซีเมนต์ไทยซึ่งมีฐานการเงินพร้อมที่สุดก็ยังต้องประกาศเลื่อนการขยายการผลิตของโรงงานปูนซีเมนต์กัมโป้ท (Kampot Cement) ในกัมพูชาออกไป โดยอธิบายว่าเป็นเพราะความต้องการในตลาดลดลง
<CENTER><FONT color=#660099> โครงการอาคารอพาร์ทเมนต์และสำนักงานของกลุ่มซุนหว่า (Sun Wah) จากไต้หวัน ก่อสร้างไปได้เกือบครึ่งทางแล้ว แต่การก่อสร้างหยุดชะงักลงชั่วคราว </FONT></CENTER>
สำหรับกัมพูชาไม่ใช่ว่าเรื่องเช่นนี้เพิ่งจะเกิดขึ้น โครงการใหญ่ๆ รวมทั้งโครงการพัฒนาเขตเมืองบริวาร 2-3 แห่งมูลค่านับพันล้านดอลลาร์ ได้เริ่มชะลอการก่อสร้างมาตั้งแต่กลางปี หลังจากเริ่มมีสัญญาเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ตั้งแต่ช่วงต้นปี

ผู้บริหารของบีเคโกลบอลกล่าวว่า ไม่มั่นใจโครงการพารอสแม่โขงจะยังเดินหน้าต่อไป

สถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะเรื่องแหล่งที่มาของเงินทุนเท่านั้น หากยังรวมถึงเงินในกระเป๋าของลูกค้าระดับพรีเมียมที่จะแห้งไปด้วย ซึ่งเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จในอีกปีหรือสองปีข้างหน้า ปัญหาด้านการตลาดก็อาจจะติดตามมาอีกทอดหนึ่ง

นายอิม จำรง (Im Chamrong) อธิบดีกรมก่อสร้าง กระทรวงก่อสร้างและพัฒนาเขตเมือง เปิดเผยกับสื่อในกรุงพนมเปญเมื่อเร็วๆ นี้ว่าในกัมพูชาไม่มีโครงการลงทุนด้านการก่อสร้างใหม่ๆ เข้ามาอีกเลยตลอดสองเดือนที่ผ่านมา

แต่เจ้าหน้าที่ผู้นี้ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดว่า จนถึงปัจจุบันมีกี่โครงการที่ขอเลื่อนการก่อสร้างหรือล้มเลิกไปอย่างสิ้นเชิง

นายซุงบุนนา (Sung Bonna) ประธานบริษัทบุนนาเรียลตี้กรูป (Bonna Realty Group) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการก่อสร้างในกรุงพนมเปญกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ราว 50% ของโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าวได้เลื่อนการดำเนินงานออกไปตั้งแต่เดือน ต.ค. หลังจากสถาบันการเงินได้ลดเงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างลง
<CENTER><FONT color=#660099> โครงการโกลทาวเวอร์ 42 อาคารแฝด 42 ชั้นซึ่งรองนายกรัฐมนตรีโสกอาน (Sok An) ไปร่วมในพิธีเปิดตัวเมื่อต้นปีนี้ ต้องเลื่อนการก่อสร้างออกไปและอาจจะต้องล้มเลิกไปเลย เนื่องจากธนาคารในเกาหลีใต้ตัดสินเชื่อหลังจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ล่มสลาย  </FONT></CENTER>
นายกาง จันดารารส (Kang Chandararos) ที่ประธานสถาบันศึกษาพัฒนาการกัมพูชา (Cambodia Institute of Development Study) กล่าวทำนองเดียวกันว่า นักลงทุนโครงการใหญ่น้อยกำลังขาดเงินทุนที่จะดำเนินการต่อ เนื่องจากแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตามยังมีนักลงทุนอีกจำนวนหนึ่งที่เตรียมการอย่างดีก่อนหน้านี้และยังมีเงินหมุนเวียนต่อไป แต่ต้องเลื่อนโครงการตามคำแนะนำของกระทรวงการคลัง ที่ต้องการให้เก็บเงินสดไว้ในธนาคารแห่งชาติให้มากที่สุด เตรียมรับวิกฤติที่อาจจะลุกลามโดยตรงถึงระบบการเงินของประเทศ

ในเดือน ก.ค.ปีนี้ ธนาคารแห่งขาติได้ออกกฎระเบียบบังคับให้โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต้องฝากเงิน 2% ของมูลค่าโครงการไว้กับแบงก์เป็นการจำกัดการไหลของเงินลงทุนในช่วงที่เงินเฟ้อกำลังพุ่งขึ้นสูง

ธนาคารชาติยังออกระเบียบว่า โครงการต่างๆ จะขายบ้าน อาคารชุดหรืออาคารสำนักงานได้ก็ต่อเมื่อการก่อสร้างดำเนินไปไม่น้อยกว่า 3% ของทั้งโครงการแล้วเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อจำกัดการระดมทุนอีกทางหนึ่ง

นายรู รัตนา (Rou Ratana) ผู้จัดการฝ่ายขายโครงการโกลเด้นทาวเวอร์ 42 (Golden Tower 42) กล่าวว่ากลุ่มยอนวูจากเหาลี เจ้าของสิ่งปลูกสร้างที่จะเป็นอาคารระฟ้าแห่งแรกความสูง 42 ชั้นในกรุงพนมเปญ อาจจะต้องประกาศเลื่อนโครงการเมืองใหม่มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์นี้ออกไป
<CENTER><FONT color=#660099> โกลด์ทาวเวอร์ 42 อยู่ในทำเลใจกลางกรุงพนมเปญ รัฐบาลหมายมั่นจะให้เป็นตึกระฟ้าแห่งแรก  ซึ่งจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ของเมืองหลวงไปอย่างสิ้นเชิง  </FONT></CENTER>
"เราได้เลื่อนออกไป และอาจเป็นไปได้ที่จะมีการล้มเลิกไปเลย.. บริษัทฯ รู้สึกผิดหวังในขณะที่เรากำลังเผชิญกับวิกฤติก็ยังถูกจำกัดการลงทุนเอาไว้อีก" นายรัตนากล่าว

โครงการโกลเด้นทาวเวอร์ 42 นี้เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อต้นปี และเป็นความหวังของทุกฝ่าย นายโสกอาน (Sok An) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงอื่นๆ ไปร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ด้วย

แต่ผู้แทนของกลุ่มจีเอสจากเกาหลีซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคารสำนักงานและที่อาศัยความสูง 45 ชั้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโตนเลบัสสัก (Tonly Bassac) กล่าวว่า การก่อสร้างจะยังดำเนินต่อไปจนกว่ารัฐบาลกัมพูชาจะมีคำแนะนำออกมาเป็นอย่างอื่น

นักวิเคราะห์มองว่าการเลื่อนเวลาดำเนินการของโครงการขนาดใหญ่ไม่ได้เกิดจากปัญหาเงินทุนที่เริ่มมีจำกัดเท่านั้น หากยังเกิดจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่มูลค่าลดลงราว 20% ตั้งแต่เดือน มิ.ย. แต่หลายฝ่ายก็พึงพอใจที่มีการใช้จ่ายน้อยลงซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบอุณหภูมิของเศรษฐกิจได้ง่ายขึ้น

นายชินเฮียน-คีว (Shin Huyn-kyu) ผู้จัดการของธนาคารบีเอสพี (BSP Bank) จากเกาหลีใต้ที่เพิ่งจะเปิดใหม่ในกรุงพนมเปญให้สัมภาษณ์ในปลายเดือน ต.ค. ว่า เงินลงทุนจากเกาหลีได้เพิ่มขึ้นเป็น 830 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว ทำให้กัมพูชาเป็นปลายทางลงทุนอันดับที่หกของนักลงทุนจากแดนโสม

นายชินเฮียน-ซุก (Shin Huyn-suk) เอกอัครราชทูตเกาหลีกล่าวในช่วงเดียวกันว่า สถาบันการเงินต่างๆ ในกัมพูชายังคงปลอดภัยจากวิกฤตการเงินในระดับโลก แต่ได้เตือนให้ระวังผลกระทบเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้ภาคส่งออกกับการท่องเที่ยวของกัมพูชาได้รับผลกระทบไปด้วย

นายจัมประสิทธิ์ (Cham Prasidh) รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมกัมพูชาเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เงินลงทุนจากต่างประเทศได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก จากเพียง 483 ล้านในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 2,700 ล้านในปี 2550 และเพิ่มขึ้นเป็น 8,900 ล้านดอลลาร์ในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2551

ขณะเดียวกันรายได้ต่อหัวประชากรต่อปี (per capita) ของชาวกัมพูชาได้เพิ่มขึ้นจาก 288 เป็น 583 ดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว
<CENTER><FONT color=#660099> ใหญ่กว่านั้นยังมีโครงการเมืองใหม่ แคมโค (Camko City) มูลค่าการลงบทุนหลายพันล้านดอลลาร์ การก่อสร้างโครงการเริ่มชลอมาตั้งแต่กลางปี หลังเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบจากเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยในสหรัฐฯ </FONT></CENTER>
ในช่วงปีใกล้ๆ นี้ การก่อสร้างได้กลายเป็นแขนงการลงทุนที่เฟื่องฟูในกัมพูชา ไม่เพียงแต่ในกรุงพนมเปญเท่านั้น แต่ยังขยายตัวไปยังเมืองท่องเที่ยวสำคัญ เช่น เสียมราฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีหนุวิลล์ ที่เงินทุนมหาศาลเริ่มไหลเข้าสู่แขนงก่อสร้างเพื่อการท่องเที่ยว

ภาคก่อสร้างเป็นกลจักรสำคัญอันดับต้นๆ ในการขับดันการขยายตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาที่มีอัตราเฉลี่ยสูง 10-12% ในช่วงปีใกล้ๆ นี้ แต่สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไป

กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (International monetary Fund) ออกรายงานในสัปดาห์เมื่อต้นเดือน พ.ย.ว่าเศรษฐกิจกัมพูชาอาจจะขยายตัวเพียง 6.5% ในปีนี้และลดลงเหลือเพียง 4.8% ในปี 2552.

การลงทุนของต่างประเทศในปี 2551 นี้จะมีมูลค่ารวมกันประมาณ 750 ล้านดอลลาร์ และตัวเลขจะลดลง 25-30% ในปีหน้า

ตามข้อมูลของไอเอ็มเอฟ ปีที่แล้วเสื้อผ้าสำเร็จรูปนำรายได้เข้าประเทศรวม 3,800 ล้านดอลลาร์ และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า 2.1 ล้านคน ซึ่งทำให้กัมพูชามีเสถียรภาพดีขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง

ไม่เพียงแต่การก่อสร้างเท่านั้นที่กำลังมีปัญหา ตามความต้องการสินค้าหลักของกัมพูชาคือ เสื้อผ้าสำเร็จรูปก็จะลดลงในปีข้างหน้านี้ อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์การเงินและเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก จำนวนนักท่องเที่ยวก็จะน้อยลงเช่นเดียวกัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น