xs
xsm
sm
md
lg

เลือกตั้ง 27 ก.ค.เริ่มเผด็จการรัฐสภาเต็มใบในเขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

  <CENTER><FONT color=#3366FF> สตรีหมายเลข 1 ท่านผู้หญิงบุนรานีฮุนเซน หลังบ้านที่ทรงพลังอำนาจ ชูนิ้วจุมสี ให้ช่างภาพดูหลังไปใช้สิทธิ์พร้อมกับสามีนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่คูหาใกล้บ้านพักเมืองตาขะเมา จ.กันดาล ชานกรุงพนมเปญ เมื่อวันอาทิตย์นี้ (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์ -- ชาวกัมพูชาที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งราว 8 ล้านคน ได้ทยอยไปใช้สิทธิในวันอาทิตย์ (27 ก.ค.) นี้ สำหรับการเลือกตั้งที่เชื่อว่าจะทำให้พรรคประชาชนกัมพูชา กับ สมเด็จฯ ฮุนเซน จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศต่อไปอีก 5 ปี และอย่างมีอำนาจสิทธิ์ขาด

นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 4 หลังจากมีการเซ็นสัญญาสันติภาพกรุงปารีส ในเดือน ต.ค.2534 และกัมพูชาถูกปกครองโดยองค์การอำนาจชั่วคราวของสหประชาชาติ ที่เรียกว่า UNTAC (UN Transitional Authority for Cambodia) นำมาสู่การเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2536

นักวิเคราะห์กล่าวว่า กรณีพิพาทพรมแดนกับไทย ได้ทำให้ชาวกัมพูชาตื่นตัวแห่ไปใช้สิทธิกันมากขึ้น และเชื่อว่า พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party) จะมีชัยอย่างท่วมท้น ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นยุคเผด็จการรัฐสภาแบบเต็มๆ เมื่อรัฐบาลได้เสียงข้ามากอย่างเด็ดขาด

พรรค CPP กับ สมเด็จฯ ฮุนเซน ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผลงานที่เศรษฐกิจของประเทศนี้เติบในอัตราเฉลี่ย 10% ในช่วงปีใกล้ๆ นี้ จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออก ที่ทำรายได้อันดับ 1 ให้แก่ประเทศ และมีการจ้างงานกว่า 300,000 ตำแหน่ง

พรรครัฐบาลยังคงได้รับความนิยมอย่างสูง แม้ว่าปัจจุบันเงินเฟ้อในประเทศพุ่งขึ้นสูงถึง 25% หรืออาจจะกว่านั้น เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้เผยแพร่ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI (Consumer Price Index) ติดต่อกันมา 2 เดือนแล้ว

รัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งควบคุมกลไกอำนาจรัฐในทุกระดับ ควบคุมสื่อวิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เอาในมือ ยังคงได้รับความนิยมอย่างสูง แม้ว่าประเทศนี้จะยังอยู่ในอันดับต้นๆ บัญชีรายชื่อประเทศที่คอร์รัปชั่นมากที่สุดในโลกก็ตาม
<CENTER><FONT color=#3366FF>  สมเด็จฯ ฮุนเซน แสดงนิ้วชี้ที่จุ่มสีหลังใช้สิทธิ์หย่อนบัตรลงคะแนนไปก่อน เชื่อกันว่าพรรคประชาชนกัมพูชาที่กุมอำนาจมายาวนาน กุมกลไกรัฐและควบ คุมสื่อในมือ จะมีชัยอย่างท่วมทัน (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#3366FF>นายกฯ กัมพูชา บรรจงดมบัตรเลือกตั้งฟอดใหญ่ๆ ก่อนจะย่อนลงหีบเมื่อวันอาทิตย์ฯี้ (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>
แม้จะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองทางเลือกใหม่ขึ้นมาหลายพรรค ก่อนจะมีการประกาศการเลือกตั้งไม่นาน แต่ก็ยังไม่มีพรรคใดที่สามารถท้าทายการนำของ CPP และกลุ่มสมเด็จฯ ฮุนเซน สมเด็จฯ เฮงสัมริน กับ สมเด็จฯ เจียซิม ได้ แม้กระทั่งพรรคสมรังสีซึ่งเป็นฝ่ายค้านพรรคใหญ่ที่สุด

พรรคสมรังสี ชูนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ต่อต้านการเล่นพรรคเล่นพวก และให้สัญญาจะคืนที่ดินหรือทรัพย์สินที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งกลุ่มนายทุนอิทธิพลแย่งชิงเอาไปคืนให้แก่ราษฎร ชูการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาเร่งด่วนในเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติในการเลือกตั้งครั้งนี้

แต่นักวิเคราะห์มองว่า แม้พรรคสมรังสี จะมีคะแนนนิยมตีตื้นขึ้นมาอย่างสูงในปีใกล้ๆ นี้ แต่ในสนามเลือกตั้งมีโอกาสอย่างสูงที่จะถูกพรรคการเมืองทางเลือกอื่นๆ แย่งคะแนนไป ไม่ว่าจะเป็นพรรคฟุนซินเปก พรรคนโรดมรณฤทธิ์ หรือพรรคสิทธิมนุษยชน (Human Right Party) ที่ตั้งขึ้นใหม่ของนายแกม สุขะ (Kem Sokha)

CPP มีชัยในการเลือกตั้งมา 3 ครั้ง ยกเว้นเพียงครั้งปี 2536 ที่พ่ายแพ้ แต่ CPP ได้อำนาจการทหารและการปกครองที่อยู่ในมือมายาวนานตั้งแต่ยังเป็นพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา หรือพรรคคอมมิวนิสต์ หรือ KPRP (Kampuchean People’s Revolutionary Party) ในการต่อรอง ทำให้ได้ร่วมรัฐบาลกับพรรคฟุนซินเปก จนทำให้ประเทศนี้มีนายกรัฐมนตรีพร้อมดัน 2 คน
<CENTER><FONT color=#3366FF>  สม รังสีผู้นำฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวในสภาพผู้แทนฯ ชูนิ้วที่จุมสีเป็นรูปตัววี เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะหลังไปใช้สิทธิ์ในกรุงพนมเปญเมื่อวันอาทิตย์</FONT></CENTER>
การเลือกตั้งปี 2541 เต็มไปด้วยความรุนแรงที่ผู้สนับสนุนของพรรค CPP ก่อขึ้น มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 100 ราย เกือบทั้งหมดเป็นผู้สนับสนุนพรรคฟุนซินเปกของกรมพระนโรดมรณฤทธิ์ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญที่สุด

การเลือกครั้งก่อนหน้านี้ ในปี 2546 พรรค CPP ที่มีเสียงข้างมากไม่เด็ดขาด ต้องเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคฟุนซินเปก อยู่เป็นเวลาแรมปีก่อนจะตกลงกันได้ โดยทิ้งให้พรรคสมรังสี เป็นฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวในรัฐสภา

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างสองพรรครัฐบาลลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอด จนกระทั่งถึงจุดแตกหัก เมื่อ สมเด็จฯ ฮุนเซน ใช้กฎหมายอาญาเล่นงานกรมพระนโรดมรณฤทธิ์ หัวหน้าพรรคฟุนซินเปก ในขณะนั้นในข้อหาหมิ่นประมาท

สมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งมีสัมพันธ์อันดีกับพรรคฟุนซินเปก ภายใต้ผู้นำชุดใหม่ ใช้กฎหมายห้ามมีชู้ที่เพิ่งประกาศใช้ลงดาบสอง เล่นงานกรมพระนโรดมรณฤทธิ์ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภา ทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ และต้องพำนักอยู่ในกรงกัวลาลัมเปอร์ กับพระชายาใหม่มาตั้งแต่นั้น

พรรคฟุนซินเปก ที่แตกแยกกันภายในตลอด 2 ปีให้หลังนี้ ไม่ใช่คู่แข่งที่น่าเกรงขามของ CPP อีกต่อไป

พรรคนโรดมรณฤทธิ์ ที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อปีที่แล้ว เป็น 1 ใน 11 พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งครั้งนี้ กรมพระรณฤทธิ์ หัวหน้าพรรค ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งใน จ.กัมปงจาม บ้านเกิดของสมเด็จฯ ฮุนเซน ขณะที่ยังคง “ลี้ภัย” อยู่ในมาเลเซีย
<CENTER><FONT color=#3366FF>  ชาวกัมพูชาไปใช้สิทธิ์กันคับคั่ง บางหน่วยเลือกตั้งไปเข้าคิวตั้งแต่ 7 โมงเช้า ว่ากันว่ากรณีพิพาทชายแดนด้านพระวิหารทำให้ผู้คนตื่นตัวไปใช้สิทธิ์กันมาก (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#3366FF> ชาวกัมพูชานับแสนๆ ออกเดินทางจากกรุงพนมเปญเมื่อวันศุกร์ เพื่อกลับไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในภูมิลำเนาต่างจังหวัด (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#3366FF> เจ้าหญิงนโรดมอรุณรัศมี พระราชธิดาในสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ทรงนำหน้าขบวนพรรคฟุนซินเปกหาเสียงโค้งสุดท้ายในกรุงพนมเปญเมื่อวันศุกร์ (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#3366FF>รอยแผลเก่า-- พรรคสิทธิมนุษยชนของนายแกม สุขะ ที่ตั้งขึ้นใหม่ยังไม่ใช่คู่แข่งของ CPP แต่จะไปดึงคะแนนของพรรคสมรังสีฝ่ายค้านให้ต่ำลง  (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>
ปัจจุบัน CPP มี ส.ส.ถึง 73 คน การเลือกตั้งครั้งนี้ คาดว่า จะมีที่นั่งเพิ่มขึ้นเป็น 85 คน ในสภาผู้แทนที่มี ส.ส.จำนวน 123 คน กลายเป็นพรรครัฐบาลที่มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการตัดสินทุกปัญหา รวมทั้งการตัดสินใจเกี่ยวกับขุมพลังงานมหาศาล คือ บ่อน้ำมันและก๊าซ ที่เพิ่งค้นพบใหม่ในอ่าวไทย

นักวิเคราะห์กล่าวว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศนี้ อ่อนแอลงเรื่อยๆ หลังจากสมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงสละราชสมบัติ เมื่อปี 2547 เปิดทางให้พระราชโอรส คือ สมเด็จพระนโรดมสีหมุนี ขึ้นครองราชย์แทน

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความนิยมในสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่เคยยิ่งใหญ่นี้ลดน้อยลงตามลำดับ ขณะที่อำนาจของนักการเมือง นักเลือกตั้งอาชีพได้ค่อยๆ ผงาดขึ้นมาบดบัง

สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุนเซน จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป หลังจากอยู่ในตำแหน่งนี้ติดต่อกันมาเป็นเวลา 23 ปี เป็นผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในเอเชีย
กำลังโหลดความคิดเห็น