xs
xsm
sm
md
lg

ลาวขยันสร้างเขื่อนจังหวัดเดียว 7-8 แห่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099> 4 แขวงภาคใต้ของลาว สาละวัน จำปาสัก เซกอง และ อัตตะปือ อุดมมั่งมีเต็มไปด้วยห้วยน้ำลำธาร สร้างเขื่อนได้หลายแห่ง</FONT></CENTER>
ผู้จัดการรายวัน-- การก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแขวงเซกองทางใต้สุดของลาวกำลังมีความคืบหน้าไปตามลำดับจนถึงบัดนี้ในแขวงนี้เพียงแห่งเดียวมีโครงการก่อสร้างเขื่อนถึง 7 แห่งขณะที่องค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมต่างๆ กล่าวให้กัมพูชาที่อยู่ใต้ลงไปเตรียมรับมือความหายนะจากเขื่อนในลาว

ปัจจุบันกำลังมีการเร่งการก่อสร้างเขื่อนเซกะหมาน 3 ขนาด 250 เมกะวัตต์ ซึ่งแล้วเสร็จไปประมาณ 40% และ กำลังจะเริ่มการก่อสร้างเขื่อนเซกอง 4 ที่มีกำลังติดตั้ง 600 เมกะวัตต์ในปีนี้

เขื่อนเซกะหมาน 3 เป็นโครงการลงทุนมูลค่า 273.1 ล้านดอลลาร์ โดยนักลงทุนจากเวียดนาม

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ ปัจจุบันกำลังมีการสำรวจเขื่อนใหญ่น้อยโครงการอื่นๆ อีก 3 แห่งอันได้แก่เซกอง 5 (400 เมกะวัตต์) เซกอง 3 (150 เมกะวัตต์) และ เซกะหมาน 4 โดยบริษัทร่วมทุนลาว-เวียดนามซึ่งจะทำให้แขวงภาคใต้แห่งนี้เป็น "หม้อไฟ" หม้อใหญ่ของประเทศ

ตามรายงานของสื่อทางการลาววันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมาได้มีการลงนามในสัญญาแก้ไขสัญญาสำรวจความเป็นไปได้โครงการเขื่อนเซกะหมาน 4 ใหม่ ระหว่างกระทรวงแผนการและการลงทุนของลาวกับบริษัทร่วมทุนเวียดนาม-ลาว

สัญญาฉบับใหม่ทำให้เขื่อนแห่งนี้ขยายกำลังผลิตไฟฟ้าจากเดิมเพียง 15 เมกะวัตต์ เป็น 74 เมกะวัตต์ ด้วยเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นเป็น 93.77 ล้านดอลลาร์

เวียงจันทน์ใหม่กล่าวอีกว่าปัจจุบันกำลังมีการสำรวจอีก 2 โครงการอันได้แก่เขื่อนไฟฟ้าดากลานขนาด 130 เมกะวัตต์ กับโครงการเขื่อนห้วยลำพัน ซึ่งจะทำให้แขวงเล็กๆ ทุระกันดานทางตอนใต้-องประเทศแห่งนี้มีเขื่อนผลิตไฟฟ้าทั้งหมดรวม 7 แห่ง

ต่างไปจากเขื่อนแห่งต่างๆ ในภูมิภาคอื่นของประเทศ ที่ส่วนใหญ่สร้างขึ้นกั้นลำน้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงในดินแดนลาว เขื่อนในแขวงเซกองเกือบทั้งหมดสร้างขึ้นกั้นลำน้ำเซกอง หรือ ซกะหมานไหลผ่านแขวงอัตตะปือเข้าสู่ประเทศกัมพูชา

องค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมหลายแห่งได้ออกเตือนทางการกัมพูชาให้เตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมที่ปลายน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวะภาพพันธุ์พืชและสัตว์ป่าที่ยังคงความสมบูรณ์

อย่างไรก็ตามสำหรับทางการลาวนั้น การสร้างเขื่อนจำนวนมากในแขวงที่กันดารแห่งนี้ จะทำให้ประชาชนชนซึ่งเป็นเผ่าต่างๆ กว่า 4,000 คนมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก และจะนำอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเข้าสู่จังหวัดทำให้เกิดการจ้างงานสำหรับคนในท้องถิ่น

สื่อของทางการลาวกล่าวอีกว่า นักลงทุนเวียดนามกำลังสำรวจแผนการก่อสร้างเขื่อน "เซกะหมาน 4 A" ควบคู่ไปกับเขื่อนเซกะหมาน 4 บนลำน้ำสายเดียวกัน ซึ่งถ้าหากเป็นไปได้ก็จะเป็นเขื่อนไฟฟ้าแห่งที่ 8 ในแขวงเดียวกันนี้

เมื่อต้นปีนี้กัมพูชาได้เป็นลูกค้ารายใหม่เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากลาวถึง 2,000 เมกะวัตต์โดยเริ่มใน 2-3 ปีข้างหน้านี้ ถัดจากไทยซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดเซ็นซื้อไปแล้ว 7,000 เมกะวัตต์ ตั้งแต่นี้ไปจนถึงปี 2563

จีนและเวียดนามได้กลายเป็นลูกค้ารายใหญ่เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากลาวไปแล้ว 5,000 กับ 3,000 เมกะวัตต์

ในปีนี้กำลังมีการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลาวนับ 10 แห่ง อีกกว่า 10 แห่งกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจ รวมทั้งเขื่อนกั้นลำน้ำโขงในดินแดนลาวและเป็นโครงการร่วมกับไทยอีก 8 แห่ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น