xs
xsm
sm
md
lg

เว็บบล็อกเริ่มเติบใหญ่ในกัมพูชา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>กลุ่มชาวบล็อกหรือที่เรียกตัวเองว่า Cloggers โดยมีนายหอ วิรัก (กลาง) นายเบ จันทรา (ที่ 2 จากขวา) และนางซเร็ง นารีรัตน์ (ซ้าย)นักเรียนกฎหมาย ขณะนั่งรวมกลุ่มกันที่ Coffee shop แห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2551 (ภาพ : เอเอฟพี).</CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์ -- เมื่อ หอ วิรัก (Hor Virak) เริ่มเขียนเว็บบล็อกของเขาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ทำเว็บบล็อกซึ่งมีเพียงจำนวนไม่มากนักในกัมพูชา แต่หลังจากนั้นไม่นานผู้เข้ามาเขียนแสดงความเห็นในเว็บบล็อกของเขาก็ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

นายวิรัก กล่าวว่า เขาเริ่มจากการขี่มอเตอร์ไซค์ไปรอบๆ จากนั้นก็ถ่ายรูปที่น่าสนใจแล้วนำมาใส่ลงในเว็บบล็อกของตน

เมื่อต้นปีที่แล้ว บล็อกของเขาได้ดึงดูดผู้อ่านจำนวนหลายร้อยคนต่อวัน และตอนนี้เขาได้เผยว่า รู้สึกตื่นเต้นอย่างมากกับการเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงคนใหม่

“ตอนที่เริ่มเล่นเว็บบล็อกก็ไม่เคยคิดว่าจะทำให้ผมเป็นที่รู้จักมากขนาดนี้” นายวิรัก กล่าว โดยเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ที่เล่นเว็บบล็อก หรือกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “clogger” ซึ่งเป็นเสมือนกลุ่มที่เปิดประเทศกัมพูชาให้โลกภายนอกได้รู้จักมากขึ้นผ่านทางบล็อก รวมทั้งยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

จากข้อมูลของทางรัฐบาลแสดงให้เห็นว่า มีประชากรเพียง 10% เท่านั้นจากประชากรทั้งหมด 14.4 ล้านคนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ชาวบล็อกจำนวนมากได้เขียนไดอารี่ออนไลน์เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของชีวิตส่วนตัว โรงเรียน ประเด็นทางสังคม การแสดงความคิดเห็นซึ่งก่อนหน้านี้มักจะถูกเก็บเป็นเรื่องส่วนตัว
<CENTER><FONT color=#FF0000>นายเบ จันทรา (ขวา) กำลังสอนการทำเว็บบล็อกให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2551(ภาพ : เอเอฟพี).</CENTER>
“การแสดงความเห็นในรูปแบบนี้เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมของเรา” เบ จันทรา (Be Chantra) ซึ่งได้ฝึกสอนชาวบล็อกจำนวนมากผ่านทางองค์กรที่มีชื่อว่า Open Institute กล่าว

การเล่นเว็บบล็อกในกัมพูชาไม่ได้เริ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย ในปี 2003 จันทราและเพื่อนร่วมงานอีก 2 คนได้เดินทางไปทั่วประเทศเพื่อฝึกสอนนักเรียนว่า 2,000 คนให้สามารถทำบล็อกได้ด้วยตัวเอง โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากบริษัท ไมโครซอฟท์ และองค์กรช่วยเหลือต่างๆ จากสหรัฐฯ

มีนักเรียนจำนวนน้อยกว่า 5% ในจำนวนดังกล่าวที่ยังคงสามารถเล่นเว็บบล็อกต่อไปได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แต่หลังจากนั้น มีชาวกัมพูชามากกว่า 1,000 คนที่หันมาเล่นบล็อก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนที่เริ่มทำบล็อกด้วยตัวเอง จันทรา กล่าว

ชาวบล็อกในกัมพูชามักจะนัดพบกันบ่อยๆ เพื่อสอนหรือแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมใหม่ๆ หลายคนมองว่านี่เป็นความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเข้ามาที่นี่เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว

เธอกล่าวต่อว่า “ถ้าอินเทอร์เน็ตมีราคาถูกลง มีความเร็วมากขึ้น และง่ายต่อการเข้าถึง ก็คงจะมีผู้ที่เล่นเว็บบล็อกมากกว่านี้”

แม้กลุ่มผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตจะมีไม่มาก แต่ นางสาวแก้ว กัลยานี (Keo Kalyan) นักศึกษาวัย 20 ปีได้เริ่มมีรายได้เป็นของตัวเองจากการเขียนเรื่องราวต่างๆ ผ่านบล็อกของเธอ โดยใช้ชื่อว่า “DeeDee, School Girl Genius”

มีผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกเพื่ออ่านเรื่องที่เธอเขียนจำนวนกว่า 200 คนต่อวัน โดยมักจะเขียนด้วยตัวหนังสือสีชมพู และทำให้บริษัท Shaadi ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องสำอางจากอินเดียเข้ามาซื้อพื้นที่โฆษณาในเว็บบล็อกของเธอ

“เงินที่ได้รับนั้นไม่ได้มากมาย แต่มีความสุขที่เสียงของฉันได้รับการรับฟัง” กัลยานี กล่าว
<CENTER><FONT color=#FF0000>กลุ่มชาวบล็อก หรือ clogger ขณะกำลังใช้โน้ตบุ๊กของพวกเขาเล่นเล่นอินเทอร์เน็ตในร้าน Coffee shop แห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2551 (ภาพ : เอเอฟพี).</CENTER>
ชาวบล็อกในกัมพูชาส่วนใหญ่จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้น พวกเขาจึงสามารถดึงดูดผู้อ่านได้ทั่วโลก แต่มีจำนวนน้อยมากที่เข้ามาอ่านเกี่ยวกับหัวข้อเกี่ยวกับการเมือง

บล็อกของจันทราซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องตลกที่เขียนเป็นภาษาเขมรได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้อ่านชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น แต่ก็มีข้อความ “เขตปลอดการเมือง” (No Politics Here) เขียนไว้อย่างชัดเจนสำหรับผู้ที่คาดหวังว่าจะได้อ่านอะไรที่มากกว่าเรื่องตลกขำขัน

“การเมืองสามารถทำร้ายคุณได้อย่างง่ายดาย และมันก็เป็นเรื่องไร้สาระ” จันทรา กล่าว

เมื่อปีที่แล้ว วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia) รายงานว่า แหลม พิศพิสัย (Lem Pichpisey) ต้องหลบหนีไปยังประเทศไทย เนื่องจากรับข้อความข่มขู่ หลังจากที่เขาได้เขียนกล่าวหาผู้นำทางการเมืองของกัมพูชาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าไม้ผิดกฎหมาย

นักวิจารณ์ กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมานี้ การใช้กำลังเข้าทำร้ายนักหนังสือพิมพ์ในกัมพูชาได้ลดลง ขณะที่รัฐบาลได้หันไปใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการตัดสินลงโทษบรรดาผู้สื่อข่าว หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายสิ่งพิมพ์

เมื่อปีที่แล้ว จัก สุภาพ (Chak Sopheap) นักศึกษาคนหนึ่งซึ่งได้เริ่มเล่นเว็บบล็อกโดยใช้ชื่อของตนเอง ซึ่งบล็อกของเธอได้ดึงดูดความสนใจคนส่วนมากมาที่สังคมอันยากจนในชนบทของกัมพูชา โดยได้กล่าวว่า เธอถูกข่มขู่เนื่องจากไปวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของพรรคประชาชนกัมพูชา หรือ CPP

“ข้อความนั้นกล่าวว่า --ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันจะหนีไป ไม่อย่างนั้นคุณก็จะโดนฆ่า--” สุภาพ กล่าว

ขณะที่เพื่อนๆ ของเธอยังคงเก็บความเห็นทางการเมืองของพวกเขาไว้เป็นความลับ แต่สุภาพจะเขียนแสดงความคิดเห็นต่อไป โดยกล่าวว่า บล็อกของเธอมีเสรีภาพในการแสดงออกมากกว่าสื่อต่างๆ ของกัมพูชา
กำลังโหลดความคิดเห็น