xs
xsm
sm
md
lg

ภัตตาคารที่นี่มีเสือแขวนเป็นตัวๆ รอลูกค้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>ร้านอาหารแห่งนี้อยู่ใกล้กับเจดีย์น้ำหอมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญใน จ.ห่าไต (Ha Tay) ห่างจากกรุงฮานอยเพียงประมาณ 30 กม. หน้าร้านมีเสือดาวหนุ่ม มีอีเหนลายทาง หมีขอ มีนกป่ากับสัตว์ป่าหายากอีกหลายชนิด ทั้งหมดแขวนไว้ที่หน้าร้านรอลูกค้าท้าทายอำนาจกฏหมายในเวียดนาม (ภาพ: AFP).</CENTER>

ผู้จัดการรายวัน— นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยัง จ.ห่าไต (Ha Tay) พากันตกตะลึง ตกใจปนกับความรู้สึกคั่งแค้นที่ได้เห็น สัตว์ป่าถูกนำขึ้นแขวนรอลูกค้าตามร้านอาหารบางแห่ง “อาหาร” เหล่านั้นล้วนเป็นสัตว์ป่าหายาก รวมทั้งเสือโคร่งพันธุ์อินโดจีนที่มีเหลืออยู่น้อยนิดในป่าธรรมชาติ

การค้าสัตว์ป่ามูลค่านับหมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี ยังคงเฟื่องฟูในเวียดนาม ขณะที่ตลาดยังคงต้องการ ทั้งในรูปเนื้อสด ยาโด๊ปและยาโป๊ว แม้ว่าประเทศนี้จะได้ออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าบังคับใช้และมีบทบทลงโทษรุนแรงขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นผล

ความต้องการสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่ายังคงมีสูงต่อไปในเวียดนาม ชิ้นส่วนต่างๆ เป็นสินค้าที่ขายได้ราคาดียั่วยวนแก๊งลักลอบและนักล่าให้เสี่ยงเพื่อเงินก้อนงามต่อไป

ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้อีกคนหนึ่งสัปดาห์ที่แล้ว ฐานลักลอบนำซากเสือข้ามจากลาวเพื่อซึ่งจะนำไปทำเป็นยาแผนโบราณ

นายฟัมดิ่งวัน (Pham Dinh Van) ถูกจับกุมฐานลักลอบขนสัตว์ป่ารวมน้ำหนัก 190 กก. คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ดอลลาร์ บริเวณด่านชายแดนจากลาวทางด้าน จ.ห่าติ๋ง (Ha Tinh) ในภาคกลาง ซากสัตว์ป่านี้โดยเฉพาะในส่วนกระดูกจะถูกนำไปต้มเพื่อทำเป็นยาแผนโบราณ

นายวัน ถูกจับได้ในกรุงฮานอยเมื่อวันศุกร์ (6 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ขณะที่กำลังขนส่งซากเสือแช่แข็ง ซึ่งถูกหั่นออกเป็น 5 ชิ้น เวียดนามนิวส์ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของเวียดนามรายงานในฉบับวันจันทร์นี้

การจับกุมนี้มีขึ้นไม่กี่วันหลังจากรัฐสภาเวียดนามได้ผ่านร่างรัฐบัญญัติว่าด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าออกมาใช้ โดยมีมีบทบัญญัติที่ระบุห้ามชนิดสัตว์ป่าที่สามารถเพาะเลี้ยงได้หรือไม่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมทั้งเสือเกือบทุกชนิดด้วย

เจ้าหน้าที่กล่าวว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าล้วนมีปลายทางใหญ่คือ การชำแหระชิ้นส่วนเพื่อจำหน่ายสนองความต้องการในตลาดทางซีกโลกตะวันออกที่เชื่อกันว่า รับประทานเนื้อสัตว์ป่าแล้วจะมีอายุยืนยาว ชิ้นส่วนหลายชนิดสามารถนำไปปรุงเป็นอาอายุวัฒนะ รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้สารพัด
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพเมื่อวันที่ 21 มี.ค.2551 : เสือซึ่งถูกแขวนขายในร้านอาหารแห่งหนึ่งในบริเวณเจดีย์น้ำหอม (Perfume Pagoda) ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจ ในจังหวัดห่าไต (Ha Tay) ใกล้กับกรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม (ภาพ : เอเอฟพี).</CENTER>
เสือทุกสายพันธุ์นั้นกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เชื่อว่า ปัจจุบันมีเสือน้อยกว่า 100 ตัวเท่านั้นที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในป่าของประเทศเวียดนาม การสูญเสียที่อยู่อาศัยและการรุกล้ำพื้นที่ป่าในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานี้ทำให้ทั้งพืชและสัตว์เผชิญกับอัตราความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์สูงมากขึ้น

แต่การจับกุมกรณีล่าสุดนี้ก็เป็นเสมือนยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาให้เห็นเท่านั้น ใต้ลงไปการค้าสัตว์ป่าในเวียดนามเป็นขบวนการที่ใหญ่โตมาก

เดือน ก.ย.ปีที่แล้วตำรวจเวียดนามตรวจพบชิ้นส่วนเสือถูกชำแหละเพื่อทำเป็นยาแผนโบราณและซุปเสือที่อพาร์ทเมนท์หลังหนึ่งในเขต อ.แถ่งซวน (Thanh Xuan) กรุงฮานอย จากการสอบสวนสืบสวนได้พบว่าเป็นชิ้นส่วนของเสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอลจำนวน 4 ตัว

ยังไม่เคยพบว่ามีเสือโครงสายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติของเวียดนามและลาว ถิ่นที่อยู่ของเสือพันธุ์นี้คือป่าลึกในพม่า อินเดียและบังกลาเทศ

นอกจากเสือ 4 ตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจยังพบอุ้งตีนของหมีจำนวน 5 ตัว พร้อมหัววัวป่า 8 ตัวและหัวกวาง 2 ตัว ซึ่งยังมีเขาติดอยู่ รวมทั้งงาช้าง 2 คู่ และ ชิ้นส่วนสัตว์หายากอีกจำนวนมาก ทั้งหมดล้วนเป็นของจริง

ตำรวจได้จับกุมผู้ต้องหา 4 คน เพื่อทำการสอบสวนต่อไป และยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ อีกหลังจากนั้น

ชิ้นส่วนต่างๆ ของเสือโคร่งทั้งสองตัวนี้มีน้ำหนักรวมกันถึง 250 กิโลกรัม ซึ่งตำรวจเชื่อว่า ชิ้นส่วนดังกล่าวจะถูกนำไปทำยาหม่องเสือ และต้มซุป เจ้าหน้าที่ยังพบลิงพันธุ์หายากอีก 2 ตัวอยู่ในหม้อต้มในสภาพทั้งตัว เพื่อเตรียมส่งร้านอาหารประเภทเปิบพิสดารราคาแพงอีกหลายแห่งด้วย



เจ้าหน้าที่เวียดนามยังคงติดตามจับยึดซากสัตว์ป่าได้หลายชนิด บางชนิดเกือบจะสูญพันธุ์เต็มที และบางชนิดไม่มีอยู่ในป่าธรรมชาติของเวียดนาม ทำให้เชื่อกันว่าสัตว์ป่าพวกนี้ถูกขนส่งข้ามประเทศ เข้าสู่ตลาดในเอเชียตะวันออก โดยกระบวนการผิดกฎหมายที่ยอมจ่ายมหาศาลให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐประเทศทางผ่าน

เมื่อเดือนที่แล้วขณะที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างกฎหมายต่อต้านการค้าสัตว์ป่า ตำรวจสามารถจับกุมผู้ที่ลักลอบเป็นจำนวนมาก รวมถึงชายคนหนึ่งที่ใช้รถยนต์ขนส่งเสือจำนวน 2 ตัว ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในกรุงฮานอย ด้วย

เจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่าเคยประมาณเอาไว้อย่างคร่าวๆ ว่าการค้าขายสัตว์ป่าในเวียดนามและในซีกโลกแถบนี้อาจจะมีมูลค่าปีละ 6,000-10,000 ล้านดอลลาร์

นายไมเคิล มิเชลัค (Michael Michalak) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำเวียดนาม ได้เขียนบทความแสดงข้อคิดเห็นลงในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่าแม้จะมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น ธุรกิจการค้าสัตว์ป่าในเวียดนามรวมทั้งในประเทศอื่นๆ นั้นยังคงเฟื่องฟูขึ้นเรื่อยๆ
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพเมื่อวันที่ 21 มี.ค.2551 : ร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดห่าไต (Ha Tay) ซึ่งจำหน่ายเนื้อสัตว์ป่าหลากหลายชนิด จากการายงานขององค์กร TRAFFIC พบว่าเวียดนามเป็นประเทศที่มีการค้าขายเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายมากที่สุดแห่งหนึ่ง.</CENTER>
นายมิเชลัค ยังกล่าวว่า “ในเวียดนาม ผู้คนจำนวนมากชอบกินเนื้อสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครอง เช่น ชะมด เช่นเดียวกับงูหรือเต่าบางชนิด...ยาพื้นบ้านหรือยาแผนโบราณบางประเภทยังคงทำมาจากกระดูกของเสือหรือน้ำดีจากหมี”

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาตินั้น ทำให้เวียดนามกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย ไวน์หรือยาที่ทำมาจากสัตว์ป่า ซึ่งมีความเชื่อว่าจะช่วยในการรักษาโรค เป็นยาบำรุง หรือมีสรรพคุณในการกระตุ้นความต้องการทางเพศ

การต้อนรับแขกที่มาเยือนโดยการให้ลองลิ้มรสเนื้อสัตว์ป่าต่างๆ นั้นถูกมองว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสถานะทางสังคมและความมั่งคั่ง ในการสำรวจขององค์การ TRAFFIC ซึ่งเป็นหน่วยงานสอดส่องดูแลและต่อต้านการค้าสัตว์ป่าทั่วโลกเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงฮานอยกว่าครึ่งหนึ่งเคยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ

ไม่เพียงแต่เวียดนามจะเป็นตลาดใหญ่ผู้บริโภคสัตว์ป่าเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าประเทศนี้ยังเป็นศูนย์รวม เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่ส่งออกสัตว์ป่าผิดกฎหมายในภูมิภาค เช่น ลาว กัมพูชา และพม่า กับประเทศผู้ซื้อรายใหญ่อย่างจีนและตลาดในประเทศอื่นๆ ทางฝั่งเอเชียตะวันออก

ในเวียดนามเองยังคงมีการลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่าต่อไป สภาพเช่นที่ จ.ห่าไต นี้ยังมีให้เห็นในจังหวัดอื่นๆ ที่ตั้งเขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งใน จ.กว๋างบิ่ง (Quang Binh) กับ จ.ห่าติ๋ง (Ha Tinh) ด้วย

เวียดนามได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านการค้าผิดที่กฎหมายดังกล่าว ซึ่งรวมถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้าพืชและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) แต่ยังคงไม่มีการเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้เนื่องจากข้อจำกัดในด้านงบประมาณและการทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่รัฐ.
กำลังโหลดความคิดเห็น