xs
xsm
sm
md
lg

"บุช" เอาอีก-ลงแส้รัฐวิสาหกิจอัญมณีพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF>ภาพนายทหารคนหนึ่งยืนอยู่ขณะที่มีการเดินสวนสนามก่อนหน้าที่จะมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 พ.ค.51นี้.</CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์-- เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชแห่งสหรัฐฯ ได้ออกมาตราการคว่ำบาตรครั้งใหม่โดยมุ่งเล่นงานกลุ่มรัฐวิสาหกิจค้าอัญมณีกับไม้ ซึ่งสหรัฐฯ กล่าวว่าเป็นฐานการเงินให้แก่กลุ่มปกครองทหาร ที่ยังคงดึงดันต่อเสียงเรียกร้องต้องการของนานาชาติให้ปฏิรูประบอบการปกครองไปสู่ประชาธิปไตย

"วันนี้ เราได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนโดยคาดหวังว่าจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และ เราก็หวังว่าบรรดานายพลทั้งหลายจะเคารพต่อความต้องการของประชาชน" ปธน.สหรัฐฯ กล่าว โดยระบุว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 พ.ค.2551นี้เป็นเพียงแค่แผนลวงเท่านั้น

ปธน.บุชประกาศว่า ตนได้อนุมัติให้กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ อายัดทรัพย์สินของบริษัทสัญชาติพม่าซึ่งเป็นฐานทางการเงินที่สำคัญให้แก่รัฐบาลทหารของประเทศดังกล่าว

มาตรการดังกล่าวนี้พุ่งเป้าไปที่บริษัทในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอัญมณีและอุตสาหกรรมป่าไม้ที่มักเอารัดเอาเปรียบประชาชน แต่กลับสร้างความมั่งคั่งให้แก่บรรดานายพลโดยเจาะจงไปที่ 3 รัฐวิสาหกิจคือ รัฐวิสาหกิจอัญมณีพม่า (Myanmar Gems Enterprise) รัฐวิสาหกิจไข่มุกพม่า (Myanmar Pearl Enterprise) และ รัฐวิหสากิจไม้ซุง (Myanmar Timber Enterprise) เจ้าหน้ากระทรวงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งไม่เปิดเผยชื่อคนหนึ่งกล่าว

เจ้าหน้าที่คนเดียวกันยังกล่าวอีกว่า "รัฐบาลทหารพม่าเป็นเจ้าของและควบคุมรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่งซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐบาล และเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเจาะจงที่จะคว่ำบาตรต่อบริษัทดังกล่าว"
<CENTER><FONT color=#3366FF>ภาพอีกด้านหนึ่งของพม่าก่อนที่จะมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ : สามเณรได้ช่วยประชาชนในการก่อสร้างอาคารแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่รอบนอกของย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่าของประเทศ.</CENTER>
การลงประชามติซึ่งรัฐบาลอ้างว่าจะเป็นการปูทางไปสู่การเลือกตั้งที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคเข้าร่วมแข่งขันในปี 2010 นั้น เป็นการออกเสียงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990 ที่นางอองซานซูจี และพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy) ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น

นางซูจีเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ (Nobel Peace Prize) เพียงคนเดียวของโลกที่ถูกคุมขัง โดยผู้นำฝ่ายค้านวัย 62 ปี ถูกกักกุมตัวให้อยู่แต่ภายในบ้านเป็นเวลามากกว่า 12 ปีในช่วงระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมานี้

พม่ากำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นจากความต้องการให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองหลังจากเกิดเหตุการณ์การปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งนำโดยพระสงฆ์อย่างรุนแรงเมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว

การปราบปรามครั้งนั้นกระตุ้นให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากในประเทศต่างๆ และ นำไปสู่การคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

องค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า มีประชาชนจำนวน 31 คนเสียชีวิตและอีก 74 คนหายตัวไปในเหตุการณ์ดังกล่าว
<CENTER><FONT color=#3366FF>ภาพนายกรัฐมนตรีเต็งเส่ง ของพม่าและนายสมัคร สุนทรเวชกำลังเดินไปยังแท่นพิธีเพื่อทำการกล่าวต้อนรับอย่างเป็นทางการในโอกาสที่นายกฯ พม่าเยือนไทย.</CENTER>
การคว่ำบาตรนี้มีเป้าหมายตอบโต้ต่อผู้ที่ให้การสนับสนุนแก่รัฐบาลทหารพม่า โดยเป็นครั้งล่าสุดหลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรไปเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา อันเป็นมาตรการในระยะสั้นหลังจากเกิดการปราบปรามในเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว

รัฐวิสาหกิจอัญมณี เป็นเจ้างานในการจัดประมูลหยก อัญมณีและหินล้ำค่าขึ้นในพม่า จากที่เคยจัดการประมูลปีละเพียง 2 ครั้งตือ ปลายปีกับท้ายปีในช่วง 2 ปีมานี้ MGE จัดประมูลจำหน่ายสินค้าดังกล่าวขึ้นปีละหลายครั้ง โดยไม่ได้จำกัดระยะเวลาอีกต่อไป

สำหรับรัฐวิสาหกิจไข่มุก ดูแลกิจการฟาร์มเลี้ยงหอยมุกในทะเลอันดามันและผลิตไข่มุกออกจำหน่าย รัฐวิสาหกิจแห่งนี้จะนำผลิตภัณฑ์ไปร่วมเปิดการประมูลกับ MGE ทุกครั้ง

ขณะเดียวกันรัฐวิสาหกิจไม้ซุงเป็นหน่วยงานดูแลการแปรรูปไม้ซุงเพื่อจำหน่ายตลาดในประเทศและเพื่อส่งออก

เมื่อปีที่แล้วสหภาพยุโรปได้ลงมติคว่ำบาตรไม้ซุง ไม้แปรรูปทุกชนิด รวมทั้งสินค้าที่ผลิตจากไม้ในพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเฟอร์นิเจอร์ ที่ผลิตจากไม้สักทอง ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากในตลาดตะวันตก

ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดในขณะนี้ว่า มาตรการคว่ำบาตรครั้งล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบถึงใครและอย่างไรบ้าง

การเปิดประมูลหยก อัญมณีและไข่มุกทุกครั้งที่ผ่านมาจะมีผู้ค้าทั้งในและต่างประเทศไปร่วมหลายพันคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ค้าจากประเทศไทย จีน มาเลเซียและไกลถึงเกาหลีกับไต้หวัน

ปีที่แล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศคว่ำบาตรสินค้าอัญมณีกับเครื่องประดับซึ่งใช้วัตถุดิบไปจากต้นทางในพม่าและนำเข้าสหรัฐฯ โดยผ่านประเศที่สาม อันเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรครั้งก่อนหน้านั้น

ผู้ผลิตรายใหญ่ที่ส่งอัญมณีกับเครื่องประดับที่ใช้วัตถุดิบจากพม่า จะเป็นบริษัทจากประเทศไทย จีนและอินเดีย.
อินเดียคลี่พรมแดงต้อนรับพม่า
การที่อินเดียจัดการต้อนรับอย่างให้เกียรติสูงยิ่งแก่ พลเอก หม่องเอ ผู้นำหมายเลขสองของพม่า ในสัปดาห์นี้ ก็สืบเนื่องจากปัญหาอันยุ่งยากใหญ่โตที่มักชอบเพิกเฉยละเลยกันในอดีต นั่นคือ จีนที่กำลังหิวกระหายพลังงาน ทั้งนี้หลังจากพ่ายแพ้ปักกิ่งมาหลายครั้ง ในการแข่งขันช่วงชิงแหล่งพลังงานต่างๆ ทั่วโลก นิวเดลีผู้เคยใช้ท่าทีระมัดระวังตัวมาก ก็กำลังผ่อนปรนจุดยืนคัดค้านพม่าของตนให้อ่อนลง และเกี้ยวพาคณะผู้ปกครองทหารในย่างกุ้งเพิ่มมากขึ้น เพราะนอกเหนือจากพลังงานแล้ว เดิมพันที่จะได้จากการนี้ยังมีโครงการท่าเรือ, เส้นทางขนส่ง, และการควบคุมทางยุทธศาสตร์ในมหาสมุทรอินเดีย
กำลังโหลดความคิดเห็น