xs
xsm
sm
md
lg

เขื่อน 2 แห่งกระทบคน 40 หมู่บ้านภาคเหนือลาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>ลำห้วยสาขาของลำน้ำทา ในแขวงหลวงน้ำทา หล่อเลี้ยงชีวิตที่มีความสุขในชนบท เขื่อนกำลังจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง (ภาพ: www.impressive.net) <FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน— การก่อสร้างเขื่อน 2 แห่งในภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวซึ่งคาดว่าจะเริ่มในปีนี้ กำลังจะส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 40 หมู่บ้าน ซึ่งอาจจะมีจำนวนหลายร้อยหรือหลายพันคนขณะที่ทางการกำลังเร่งผลิตเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าจำหน่ายแก่ไทยให้ทันและให้ครบตามสัญญา

ตามรายงานของสื่อทางการลาว การสำรวจศึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนทั้งสองแห่งสำเร็จลงแล้วและได้พบปัญหากับผลกระทบจำนวนมากซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไข ขณะที่จะต้องเร่งดำเนินขั้นตอนต่อไป ซึ่งรวมหมายถึงการเซ็นสัญญาสัมปทานและก่อสร้าง

โครงการน้ำงึม 3 ในแขวงเซียงขวางกับโครงการน้ำทา 1 ในแขวงบ่อแก้วทางตอนบนสุดของประเทศกำลังจะส่ง

ผลกระทบต่อราษฎรชาวลาวใน 4 แขวง โดยที่ยังไม่ทราบจำนวนทั้งหมด แต่รายงานการสำรวจศึกษาได้จัดทำแผนการอพยพรวมทั้งการตั้งถิ่นฐานหาที่ทำกินใหม่ออกมาด้วย

อย่างไรก็ตามสื่อของทางการไม่ได้รายงานรายละเอียดเกี่ยวกับรายงานการสำรวจศึกษาของทั้ง 2 โครงการ ตลอดจนวิธีจัดการผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและผู้คน

การก่อสร้างเขื่อนน้ำงึม 3 ซึ่งมีบริษัทจากประเทศไทยร่วมลงทุนอยู่ด้วย กำลังจะส่งผลกระทบต่อชาวลาวอย่างน้อย 8 หมู่บ้านในแขวงเวียงจันทน์กับแขวงเซียงขวาง ในนั้นอย่างน้อย 1 หมู่บ้านจะอยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำและต้องมีการอพยพออกไป

หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่รายงานเรื่องราวดังกล่าว และ อ้างตัวเลขทั้งหมดจากการประชุมหารือเกี่ยวกับรายงานการสำรวจศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมของโครงการก่อสร้างเขื่อนทั้ง 2 แห่งที่จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
<CENTER><FONT color=#660099>  ภาพโฆษณาของทางการในเขตเมืองน้ำทา ในแขวงชื่อเดียวกัน พื้นหลังของภาพแสดงภาพเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่ ที่นี่กำลังจะมีการสร้างเขื่อนหลายแห่ง การสำรวจศึกษาแห่งแรกคือ โครงการน้ำทา 1 เสร็จสิ้นลงแล้ว (ภาพ: www.cringel.com)  </FONT> </CENTER>
น้ำงึม 3 เป็นเขื่อนไฟฟ้าขนาดกำลังติดตั้ง 440 เมกะวัตต์ มีบริษัทโรงไฟฟ้าราชบุรีจำกัด (มหาชน) ของไทยร่วมถือหุ้นใหญ่อยู่ด้วย กำลังจะสร้างกั้นลำน้ำงึม ในแขวงเซียงขวาง เหนือจุดที่ตั้งเขื่อนน้ำงึม (1) ในปัจจุบัน กับ น้ำงึม 2 ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

ผลการสำรวจศึกษาที่จัดทำโดยบริษัท “เอ็กโก้ลาว” กับบริษัทต่างประเทศอีกแห่งหนึ่งได้พบว่า อย่างน้อยมีประชาชนราว 90 ครอบครัวรวมประมาณ 523 คนจะต้องถูกอพยพออกไปจากเขตอ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะครอบคลุมบริเวณกว้างประมาณ 275 ตารางกิโลเมตร หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่กล่าว

เขื่อนน้ำงึม 3 จะ “ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงโครงการก่อสร้าง” นอกจากนั้น “การไหลเวียนของน้ำมีการเปลี่ยนแปลง มีการตกตะกอน คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง การประมงและอื่นๆ”

หนังสือพิมพ์รายวันของทางการนครหลวงเวียงจันทน์กล่าวราษฎรที่ถูกน้ำท่วมนั้นอยู่ในเขตเมืองพูกูด แขวงเวียงขวาง นอกจากนั้นยังมีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบอีกรวม 7 หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเขื่อน เวียงจันทน์ใหม่กล่าวโดยไม่ได้ระบุจำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด

การประชุมปรึกษาหารือดังกล่าวจัดขึ้นที่โรงแรมคอสโม มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยการเป็นประธานของนายหนูลิน สินบันดิด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
<CENTER><FONT color=#660099> นักท่องเที่ยวชวตะวันตกกับเรือลำน้อยล่องไปตามลำน้ำทา มุ่งหน้าลงใต้ จากที่นี่สามารถเดินทางต่อไปยังเมืองห้วยทราย ติดชายแดนไทยในแขวงบ่อแก้วได้ (ภาพ: www.impressive.net)  </FONT> </CENTER>
การประชุมปรึกษาครั้งนี้ยังมีราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากบ้านเซียงแดด เมืองพูกูดเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้เป็นรายงานของ“ประชาชน” รายวัน ซึ่งเป็นของศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว

บริษัทที่ได้รับการว่าจ้างให้ทำการสำรวจศึกษาโครงการน้ำงึม 3 ได้จัดทำรายงานผลออกมารวม 7 ฉบับเป็นการประเมินผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมและสังคมอย่างละเอียด และแผนการจัดการกับผลกระทบต่างๆ

นอกจากนั้นยังมีแผนการอพยพราษฎร การจัดสรรที่ดินทำกิน แผนการบริหารจัดการทางสังคม เอกสารทั้งหมดถูกนำเสนอต่อองค์การทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ได้ผ่านการตรวจและรับรองมาแล้ว “ประชาชน” กล่าว

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังได้ลงพื้นที่ถึงหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมเพื่อศึกษาสภาพข้อเท็จจริงต่างๆ “เพื่อรับประกันให้โครงการได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมให้น้อยที่สุด” สื่อของทางการฉบับนี้กล่าว

ก่อนหน้านี้วันที่ 11 ม.ค.ได้มีการจัดประชุมปรึกษาคล้ายกันนี้เกี่ยวกับโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าน้ำทา 1 ในแขวงบ่อแก้ว โดยมีรองเจ้าแขวง กับรองเจ้าแขวงจากหลวงน้ำทา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย

เขื่อนน้ำทา 1 จะสร้างกั้นลำน้ำทา อันเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง กำลังจะทำให้เกิดพื้นที่น้ำท่วมเหนือเขื่อนประมาณ 64 ตร.กม. แต่จะส่งผลกระทบต่อราษฎรถึง 34 หมู่บ้าน และทั้งหมดจะต้องถูกโยกย้ายจากถิ่นฐานเดิม

ขปล.กล่าวว่าหมู่บ้านทั้ง 34 แห่งอยู่ในเขตเมืองผาอุดม แขวงบ่อแก้ว กับเมืองนาแล แขวงหลวงน้ำทา รายงานการสำรวจศึกษายังได้จัดทำแผนการอพยพ ตลอดจนแผนการสร้างหมู่บ้านและที่ทำกินแห่งใหม่ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ที่ยังไม่ทราบจำนวนอีกด้วย

ตามรายงานของ ขปล.ก่อนหน้านี้ เขื่อนน้ำทา 1 เป็นโครงการลงทุนของบริษัทไชน่าเซาท์เทอร์นพาวเวอร์ กริด (China Southern Power Grid) มีการเซ็นบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจเพื่อสำรวจศึกษาตั้งแต่เดือน ส.ค.2549 โดยจะใช้เวลา 18 เดือน
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพถ่ายวันที่ 28 มิ.ย.2550-- ใต้ลงไปในภาคกลางของประเทศที่แขวงคำม่วน ชายสองคนนี้กำลังเดินผ่านจานรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่หมู่บ้านแห่งใหม่ในเขตที่ราบสูงนากาย เมืองยมมะลาด ที่นั่นราษฎรกว่า 6,000 คนได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 แต่โชคดีที่มีธนาคารโลกกำกับดูแลการให้ความช่วยเหลือ ลาวกำลังจะเริ่มก่อสร้างเขื่อนอีกหลายแห่งในปีนี้.  (ภาพ: AFP)  </FONT> </CENTER>
ตามแผนการเดิมนั้นเขื่อนน้ำทา 1 จะมีกำลังติดตั้งขนาด 265 เมกกะวัตต์ และ ยังไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงลดกำลังการผลิตลงเกือบ 100 เมกะวัตต์

ถ้าหากข้อมูลตัวเลขต่างๆ ของสำนักข่าวทางการถูกต้อง เขื่อนน้ำทา 1 ซึ่งมีกำลังปั่นไฟขนาด 168 เมกะวัตต์ แต่จะส่งผลกระทบต่อราษฎรอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีรายงานมา นับตั้งแต่โครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 ในแขวงคำม่วน ภาคกลางของลาว

น้ำเทิน 2 เป็นโครงการลงทุนของกลุ่มบริษัทฝรั่งเศส-ไทย และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวโดยได้รับการสนับสนุน

จากธนาคารโลก ได้มีการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและด้านอื่นๆ อย่างละเอียด มีการอพยพโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่เดิมกว่า 6,000 คน ไปตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งใหม่

อย่างไรก็ตามธนาคารโลกติดตามดูแลการก่อสร้างทุกขึ้นตอน รวมทั้งการแก้ไขผลกระทบด้านต่างๆ ซึ่งผู้ลงทุนได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรที่ได้รับผลกระทบตลอดอายุสัมปทานเขื่อน.

อ่านข่าวโดยละเอียดซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าเพิ่มของไทยและการเร่งผลิตไฟฟ้าจากโครงการอื่นๆ ของรัฐบาลลาว รวมความยาวอีกประมาณ 10 ย่อหน้าได้ใน "ผู้จัดการรายวัน" ฉบับวันจันทร์ 20 ม.ค.2551
กำลังโหลดความคิดเห็น