ในโอกาสที่กองบรรณาธิการ Green Innovation&SD ทำงานมาครบรอบ 12 ปีในเดือนนี้ เราจับสัญญาณชัดขึ้นเรื่อยๆว่า กระแสโลกตระหนักรู้มากขึ้นถึง “ผลพลอยเสีย”อันเนื่องจาก “การพัฒนาที่ไม่สมดุล”
โดยเฉพาะกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม ด้านพลังงานและการขนส่ง ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนจนถึงขั้นโลกเดือดในขณะนี้ แล้วส่งผลให้สภาพภูมิอากาศโลกรวน เกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว พายุรุนแรง
ช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เราทำหน้าที่สื่อมวลชนที่เน้นเนื้อหาด้านกลยุทธ้การบริหารในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SD (Sustainable Development) เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น และความก้าวหน้า ของนวัตกรรมสังคม และกรณีตัวอย่างการปฏิบัติที่ส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า
องค์กรที่มีแนวคิดแบบนี้ จึงขับเคลื่อนธุรกิจในแนวทาง ESG เป็นการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน คล้ายมี 3 เครื่องยนต์ ได้แก่่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย (Social) มีธรรมาภิบาล ทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม (Governance)
ผู้นำองค์กรที่มีจิตสำนึกเช่นนี้ ย่อมดำเนินนโยบายและแผนกลยุทธ์ แบบ “เก่ง+ดี” ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมที่เกี่ยวข้อง หรือเกิด Social Impact ที่ดี
ถ้าดูแนวทางการพัฒนาเพื่อความสมดุลและยั่งยืนของธุรกิจโลกยุคใหม่...ประมาณปี ค.ศ.2000 เราคุ้นกับกิจกรรม CSR พอปี 2011 ไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค อาร์ เครเมอร์ ร่วมกันเสนอแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม CSV และ 10 ปีต่อมา คือช่วงปัจจุบัน เราวงการตลาดทุนกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นต้องคำนึงถึง ESG ในการบริหารธุรกิจ
กิจการที่บริหารจัดการในแนวทาง ESG จึงเป็นคุณสมบัติ ที่นักลงทุนสถาบันระดับโลกใช้พิจารณาเลือกลงทุน เพราะลดความเสี่ยงจากการผิดกฎหมาย และการถูกต่อต้านจากสังคม จึงมีโอกาสเป็น "องค์กร100 ปี"
นี่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจธุรกิจอย่างสมดุล เพราะไม่ได้ทำธุรกิจที่มุ่ง “กอบโกย” แต่ได้ “เกื้อกูล” ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholders)ทั้งภายในและภายนอกกิจการ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้าหรือSupplier ชุมชน และสังคม
นับจากปีค.ศ 2015 ซึ่งผู้นำ193ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากประเทศไทย ได้ร่วมลงนามรับรอง เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) หรือ SDGs ยืนยันร่วมกันที่จะดำเนินการแก้ปัญหาสำคัญของโลก 17 ประการให้สำเร็จภายใน15 ปี (ค.ศ.2030) เพื่อสร้างหลักประกันการมีอนาคตที่ดีร่วมกันของทุกคนทุกพื้นที่บนโลกใบนี้
เป้าหมาย 17 ประการของ SDGs ที่พวกเราคุ้นตาเป็นสัญลักษณ์ 17 สี มีการจัดเป็น 5 กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
● มิติด้านสังคม
1.ความยากจน
2 .ความหิวโหย
3.มีสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี
4.การศึกษาที่มีคุณภาพ
5.มีศักดิ์ศรีในความเท่าเทียมทางเพศ
● มิติด้านเศรษฐกิจ ทุกคนมั่งคั่ง
7.พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
8. งานที่มีคุณค่า เศรษฐกิจเติบโต
9.อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน
10.ลดความเหลื่อมล้ำ
11.ชุมชนยั่งยืน
● มิติด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
6.น้ำและสุขาภิบาลที่ดี
12.การผลิต การบริโภค อย่างรับผิดชอบ
13.การเร่งด่วน รับมือภูมิอากาศโลกรวน
14.ระบบนิเวศในทะเลและมหาสมุทร
15.นิเวศน์บนบก
● มิติด้านสันติภาพ
16.สังคมมีสันติภาพ มีความเป็นธรรม
ไม่หวาดกลัว สถาบันเข้มแข็ง
● มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา
17.การร่วมมือระดับสากล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้เป้าหมายทั้ง 17 ประการ ที่ประเทศสมาชิกประกาศเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2030 ขณะนี้เหลือเวลาอีก 6 ปีเท่านั้น แต่จากการรายงานความความสำเร็จยังห่างไกลมาก ในระยะนี้จึงมีการกำหนดเป้าหมายเร่งรัด และหลายภูมิภาคมีการออกมาตรการบังคับให้มีการผลิตสินค้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหวังว่าจะมีความคืบหน้า
ยิ่งเป้าหมาย SDG ที่13 : การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกรวน สืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งยังเพิ่มขึ้น จนเลขาธิการสหประชาชาติระบุว่า ภาวะอุณหภูมิ “โลกร้อน”ขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยร้อนขึ้นจนทะลุระดับ “โลกเดือด”
หน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปรายงานว่าอุณหภูมิของโลกในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ได้พุ่งสูงมาก เพิ่มขึ้นถึง 1.77 องศาC เมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งข้อตกลงปารีสได้กำหนดไม่สูงเกิน 1.5 องศาC และในประเทศไทยเราก็ได้รับรู้เช่นกัน ถึงขนาดมีบางจังหวัดอุณหภูมิสูงถึง 44 องศาC
ดังนั้นหลายภูมิภาคของโลกที่เริ่มจากสหภาพยุโรปจึงมีการออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น เช่นมาตรการปรับราคาค่่าคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน(CBAM) สินค้าที่นำเข้าไปในสหภาพยุโรปในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อลูมิเนียม ไฮโดรเจน อุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประกอบการต้องรายงานปริมาณ การปล่อยก๊าซ จะใช้ข้อมูลในการคำนวณเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ
ขณะที่ประเทศไทยซึ่งมีการรายงานความคืบหน้าต่อกลไกการติดตามผลประจำปีของสหประชาชาติ โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซ ระดับเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065
ระหว่างนี้ก็มีความเคลื่อนไหวหลายด้านของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยการลดภาษีแก่ผู้ผลิต และให้สิทธิ์ส่วนลดแก่ผู้ซื้อรถยนต์ มีการส่งเสริมผ่อนและคลายกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ขณะเดียวกันก็มีการเตรียมใช้กฎหมายอากาศสะอาด และเตรียมออกกฎหมาย เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเป็นกฎเกณฑ์บังคับการผลิตและการจัดการระบบที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับ ก.ล.ต.จัดทำหลักเกณฑ์ Thailand Taxonomy เพื่อเป็นมาตรฐานการจัดระดับกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดย ขณะนี้เริ่มระยะแรกกับภาพพลังงานและค่าขนส่ง ซึ่งมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 70% และขณะนี้เตรียมขยายเป็นระยะที่ 2 ซึ่งจะครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซจำนวนมาก
ทั้งนี้จะจำแนกจากระดับด้วยระบบสีแบบไฟจราจร ได้แก่
กลุ่มสีเขียว กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ หรือใกล้ศูนย์
กลุ่มสีเหลือง มีการปล่อยก๊าซในระดับสูง แต่กำลังปรับตัวเพื่อลดการปล่อยก๊าซลงเรื่อยๆ ตามเกณฑ์ของTaxonomy
กลุ่มสีแดง กิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขกิจกรรมสีเขียวหรือสีเหลือง
ต่อไปในวงการสถาบันการเงินและการลงทุนก็จะใช้ประโยชน์จากการอ้างอิงการจัดมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งจะมีผลต่อการจัดสรรเงินทุนที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม การบริหารความเสี่ยง การลงทุนภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ท่านผู้อ่านสามารถติดตามเนื้อหา Green Innovation&SD ดีต่อใจ ดีต่อสังคม ดีต่อโลก ได้ทางสื่อ นสพ.ผู้จัดการ360รายวัน ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี *ทาง เว็บไซต์ Manager Online และทาง Facebook เพจ Green&SD Manager ได้ทุกวันครับ
โดยเฉพาะกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม ด้านพลังงานและการขนส่ง ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนจนถึงขั้นโลกเดือดในขณะนี้ แล้วส่งผลให้สภาพภูมิอากาศโลกรวน เกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว พายุรุนแรง
ช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เราทำหน้าที่สื่อมวลชนที่เน้นเนื้อหาด้านกลยุทธ้การบริหารในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SD (Sustainable Development) เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น และความก้าวหน้า ของนวัตกรรมสังคม และกรณีตัวอย่างการปฏิบัติที่ส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า
องค์กรที่มีแนวคิดแบบนี้ จึงขับเคลื่อนธุรกิจในแนวทาง ESG เป็นการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน คล้ายมี 3 เครื่องยนต์ ได้แก่่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย (Social) มีธรรมาภิบาล ทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม (Governance)
ผู้นำองค์กรที่มีจิตสำนึกเช่นนี้ ย่อมดำเนินนโยบายและแผนกลยุทธ์ แบบ “เก่ง+ดี” ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมที่เกี่ยวข้อง หรือเกิด Social Impact ที่ดี
ถ้าดูแนวทางการพัฒนาเพื่อความสมดุลและยั่งยืนของธุรกิจโลกยุคใหม่...ประมาณปี ค.ศ.2000 เราคุ้นกับกิจกรรม CSR พอปี 2011 ไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค อาร์ เครเมอร์ ร่วมกันเสนอแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม CSV และ 10 ปีต่อมา คือช่วงปัจจุบัน เราวงการตลาดทุนกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นต้องคำนึงถึง ESG ในการบริหารธุรกิจ
กิจการที่บริหารจัดการในแนวทาง ESG จึงเป็นคุณสมบัติ ที่นักลงทุนสถาบันระดับโลกใช้พิจารณาเลือกลงทุน เพราะลดความเสี่ยงจากการผิดกฎหมาย และการถูกต่อต้านจากสังคม จึงมีโอกาสเป็น "องค์กร100 ปี"
นี่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจธุรกิจอย่างสมดุล เพราะไม่ได้ทำธุรกิจที่มุ่ง “กอบโกย” แต่ได้ “เกื้อกูล” ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholders)ทั้งภายในและภายนอกกิจการ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้าหรือSupplier ชุมชน และสังคม
นับจากปีค.ศ 2015 ซึ่งผู้นำ193ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากประเทศไทย ได้ร่วมลงนามรับรอง เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) หรือ SDGs ยืนยันร่วมกันที่จะดำเนินการแก้ปัญหาสำคัญของโลก 17 ประการให้สำเร็จภายใน15 ปี (ค.ศ.2030) เพื่อสร้างหลักประกันการมีอนาคตที่ดีร่วมกันของทุกคนทุกพื้นที่บนโลกใบนี้
เป้าหมาย 17 ประการของ SDGs ที่พวกเราคุ้นตาเป็นสัญลักษณ์ 17 สี มีการจัดเป็น 5 กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
● มิติด้านสังคม
1.ความยากจน
2 .ความหิวโหย
3.มีสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี
4.การศึกษาที่มีคุณภาพ
5.มีศักดิ์ศรีในความเท่าเทียมทางเพศ
● มิติด้านเศรษฐกิจ ทุกคนมั่งคั่ง
7.พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
8. งานที่มีคุณค่า เศรษฐกิจเติบโต
9.อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน
10.ลดความเหลื่อมล้ำ
11.ชุมชนยั่งยืน
● มิติด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
6.น้ำและสุขาภิบาลที่ดี
12.การผลิต การบริโภค อย่างรับผิดชอบ
13.การเร่งด่วน รับมือภูมิอากาศโลกรวน
14.ระบบนิเวศในทะเลและมหาสมุทร
15.นิเวศน์บนบก
● มิติด้านสันติภาพ
16.สังคมมีสันติภาพ มีความเป็นธรรม
ไม่หวาดกลัว สถาบันเข้มแข็ง
● มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา
17.การร่วมมือระดับสากล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้เป้าหมายทั้ง 17 ประการ ที่ประเทศสมาชิกประกาศเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2030 ขณะนี้เหลือเวลาอีก 6 ปีเท่านั้น แต่จากการรายงานความความสำเร็จยังห่างไกลมาก ในระยะนี้จึงมีการกำหนดเป้าหมายเร่งรัด และหลายภูมิภาคมีการออกมาตรการบังคับให้มีการผลิตสินค้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหวังว่าจะมีความคืบหน้า
ยิ่งเป้าหมาย SDG ที่13 : การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกรวน สืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งยังเพิ่มขึ้น จนเลขาธิการสหประชาชาติระบุว่า ภาวะอุณหภูมิ “โลกร้อน”ขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยร้อนขึ้นจนทะลุระดับ “โลกเดือด”
หน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปรายงานว่าอุณหภูมิของโลกในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ได้พุ่งสูงมาก เพิ่มขึ้นถึง 1.77 องศาC เมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งข้อตกลงปารีสได้กำหนดไม่สูงเกิน 1.5 องศาC และในประเทศไทยเราก็ได้รับรู้เช่นกัน ถึงขนาดมีบางจังหวัดอุณหภูมิสูงถึง 44 องศาC
ดังนั้นหลายภูมิภาคของโลกที่เริ่มจากสหภาพยุโรปจึงมีการออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น เช่นมาตรการปรับราคาค่่าคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน(CBAM) สินค้าที่นำเข้าไปในสหภาพยุโรปในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อลูมิเนียม ไฮโดรเจน อุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประกอบการต้องรายงานปริมาณ การปล่อยก๊าซ จะใช้ข้อมูลในการคำนวณเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ
ขณะที่ประเทศไทยซึ่งมีการรายงานความคืบหน้าต่อกลไกการติดตามผลประจำปีของสหประชาชาติ โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซ ระดับเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065
ระหว่างนี้ก็มีความเคลื่อนไหวหลายด้านของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยการลดภาษีแก่ผู้ผลิต และให้สิทธิ์ส่วนลดแก่ผู้ซื้อรถยนต์ มีการส่งเสริมผ่อนและคลายกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ขณะเดียวกันก็มีการเตรียมใช้กฎหมายอากาศสะอาด และเตรียมออกกฎหมาย เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเป็นกฎเกณฑ์บังคับการผลิตและการจัดการระบบที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับ ก.ล.ต.จัดทำหลักเกณฑ์ Thailand Taxonomy เพื่อเป็นมาตรฐานการจัดระดับกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดย ขณะนี้เริ่มระยะแรกกับภาพพลังงานและค่าขนส่ง ซึ่งมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 70% และขณะนี้เตรียมขยายเป็นระยะที่ 2 ซึ่งจะครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซจำนวนมาก
ทั้งนี้จะจำแนกจากระดับด้วยระบบสีแบบไฟจราจร ได้แก่
กลุ่มสีเขียว กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ หรือใกล้ศูนย์
กลุ่มสีเหลือง มีการปล่อยก๊าซในระดับสูง แต่กำลังปรับตัวเพื่อลดการปล่อยก๊าซลงเรื่อยๆ ตามเกณฑ์ของTaxonomy
กลุ่มสีแดง กิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขกิจกรรมสีเขียวหรือสีเหลือง
ต่อไปในวงการสถาบันการเงินและการลงทุนก็จะใช้ประโยชน์จากการอ้างอิงการจัดมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งจะมีผลต่อการจัดสรรเงินทุนที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม การบริหารความเสี่ยง การลงทุนภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ท่านผู้อ่านสามารถติดตามเนื้อหา Green Innovation&SD ดีต่อใจ ดีต่อสังคม ดีต่อโลก ได้ทางสื่อ นสพ.ผู้จัดการ360รายวัน ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี *ทาง เว็บไซต์ Manager Online และทาง Facebook เพจ Green&SD Manager ได้ทุกวันครับ