xs
xsm
sm
md
lg

ห้องสมุดชีวิต / ดร. กุณฑลี รื่นรมย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลายคนเมื่อครั้งเป็นนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาไม่ชอบเข้าห้องสมุด เพราะรู้สึกว่าห้องสมุดคือที่เก็บหนังสือ หรือตําราที่น่าเบื่อหน่าย เหตุผลอีกประการคือ การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ทุกวันนี้ไม่จําเป็นต้องเข้าไปค้นคว้าหาหนังสือ ตํารา หรือเอกสารสําคัญในห้องสมุด เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยทําให้ทุกคนสามารถมีห้องสมุดบนมือถือได้ เพียงแต่ รู้จักจะค้นหาสิ่งที่ตนต้องการได้

อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้เกี่ยวกับห้องสมุดที่เป็นห้องสมุดที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า LIBRARY แต่เป็นเรื่องของ “คน” ในทุกวันนี้ โดยเฉพาะคน Gen Y Gen Z และ Gen Alpha ที่ควรจะต้องมี คุณสมบัติบางประการ เพื่อให้สามารถดํารงตนไปสู่อนาคตที่เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่ไม่แน่นอน คุณสมบัติของคนที่จะสามารถดำรงอยู่รอดได้ในอนาคต เรียกว่า L-I-B-R-A-R-Y มีดังนี้

L – Leaning all your life คนเราเมื่อเกิดมาแล้วไม่ว่าจะจนหรือมีต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้มี ทั้งจากในและนอกห้องเรียน การเรียนรู้ที่มีผู้สอนมีหลักหรือทฤษฎีเป็นพื้นฐานมีความจําเป็น แต่ต้องผสมผสานกับ ความช่างสังเกต จดจํา แยกแยะเป็นว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ ต้องฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ของตนเองไปตลอดชีวิต โดย เฉพาะคนยุคใหม่ที่อยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต้องมีความรู้สึกอยากเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ติดตัวอยู่กับเราตลอดไป

I – Integrity หลายคนแปลคําว่า Integrity ว่าความซื่อสัตย์ แต่ที่จริงแล้วคํานี้มีความหมายมากไปกว่า ความซื่อสัตย์ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น มีคุณธรรมในจิตใจ มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในสามัญสํานึก Integrity จะทําให้ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลอื่น ปัจจุบัน Integrity กําลังเป็นจุดอ่อนแอของสังคมไทย เราจึงต้องการคนที่มี Integrity มีความโปร่งใส ความซื่อสัตย์ ยุติธรรม โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นําของหน่วยงาน ทุกแห่งไม่ว่าเล็กหรือใหญ่

B – Basic คือ พื้นฐาน เป็นคุณสมบัติที่พึงมีเพราะความรู้พื้นฐานเป็นแนวทางในการทํางานทุกอย่าง คนรุ่นใหม่ต้องไม่มองข้ามพื้นฐาน การทําอะไรแบบก้าวกระโดดเพราะต้องการความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ขาดมความรู้พื้นฐานที่ดีอาจทําให้พลาดพลั้งได้ง่ายในยุคสมัยใหม่นี้การทําอะไรแบบลุยไปก่อนหรือลองผิดลองถูกมีทั้งความ ทางการเงินการสูญเสียเวลาและทรัพยากรที่ไม่จําเป็นดังนั้น ถ้าจะทําอะไรควรมีทักษะขั้นพื้นฐานไว้ก่อน ซึ่งต้องอาศัย จากการเรียนรู้ (L)

R – Responsibility คือ มีความรับผิดชอบความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่สามารถฝึกได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยต้องอาศัยพ่อแม่ครูอาจารย์ที่จะต้องฝึกฝนเด็กให้มีความรับผิดชอบ คนที่สามัญสํานึกรับผิดชอบเท่านั้นจึงจะก้าว หน้าและได้รับการยอมรับทั้งจากหัวหน้าและลูกน้อง ตรงข้ามกับคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ คุณสมบัตินี้จึงเป็นคุณ
สมบัติเบื้องต้นของคนที่จะเติบโตต่อไปในการทํางานในอนาคตได้ต่อไปอย่างยั่งยืน

A – Acquiring knowledge คือ การเสาะแสวงหาความรู้ คนที่แสวงหาความรู้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเรียนสูงได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอก แต่ต้องเป็นคนที่กระหายจะได้ ความรู้ ซึ่งการแสวงหาความรู้ในยุคข้อ
มูลข่าวสารที่มีแหล่งข้อมูลมากมายในทุกวันนี้ สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จํากัดเวลา หรือสถานที่ โดยไม่จําเป็นต้องใช้ ทรัพยากรมาก แต่ผู้แสวงหาความรู้ที่เป็นคนรุ่นใหม่ต้องสามารถแยกแยะเปรียบเทียบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้
ความรู้ที่มีประโยชน์สามารถนําไปใช้ได้จริงหรือนําไปต่อยอดได้ จึงจะเรียกว่าเป็นการเสาะหาความรู้อย่างถูกต้อง

R – Resourceful person คือ ผู้ที่มีความสามารถช่วยเหลือตนเอง หรือผู้อื่นเมื่อเกิดปัญหาได้ คนที่ เป็นที่ปรารถนาของหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานคือคนที่แก้ปัญหาเป็น เป็นผู้มีไหวพริบปฏิภาณ มีความคิด สร้างสรรค์ Resourceful person เป็นคุณสมบัติของคนที่หาได้ยาก ถ้าหน่วยงานใดมีคนที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่มียากลำบากมีปัญหาและได้คนนั้นเข้ามาช่วยแก้ไขอย่างทันท่วงที ต้องถือว่าผู้นั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าขององค์กร

Y – Yes, I can เป็นคุณสมบัติที่สําคัญ คือคนที่มีเจตคติที่ดีในการทํางาน ไม่ปฎิเสธงานที่ได้รับมอบ มอบหมายโดยทันทีแม้ว่าจะเป็นงานใหม่ที่ไม่เคยทํามาก่อน คุณสมบัติของคนที่ไม่ปฏิเสธงานประการแรก คือต้องมี เสียสละที่จะยินดีทํางานแม้ว่าตนเองอาจจะไม่มีประสบการณ์มาก่อน แต่ด้วยเจตคติว่า “ฉันทํำได้”จะสามารถ พัฒนาตนเองให้มีประสบการณ์มากขึ้นต่อไปในอนาคต คนที่ปฏิเสธงานหรือหลบเลี่ยงงานเมื่อได้รับมอบหมายย่อม ยากที่จะ เจริญก้าวหน้าต่อไปได้


"คุณสมบัติทั้ง 7 ประการนี้ เป็นเรื่องสําคัญที่อย่างน้อยคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความเจริญก้าวหน้าในชีวิตการ ทํางานให้มีความยั่งยืนในอนาคตจําเป็นต้องมี เมื่อรวมตัวอักษรนําหน้าคําทั้ง 7 นี้ ได้คําว่า LIBRARY ที่แปลว่า ห้องสมุด (ที่หลายคนไม่ได้อยากเข้า) แต่ LIBRARY คํานี้คือ “คนที่มีคุณสมบัติที่ดี” ถ้าเป็นห้องสมุดจริงก็ ควรเข้าไปใช้บริการ (เพื่อพัฒนาตัวเอง) ให้ได้อย่างน้อยสัก 7 ครั้งในชีวิต"

บทความโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. กุณฑลี รื่นรมย์
ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



กำลังโหลดความคิดเห็น