xs
xsm
sm
md
lg

กรมโลกร้อน เปิดคลิปสั้น ทำนารักษ์โลก อย่างไร? ลดต้นทุนปุ๋ย-น้ำ และไม่ก่อ PM2.5

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือกรมโลกร้อน ให้ข้อมูลผ่านคลิปสั้นๆ 🎋🎋ทำนาอย่างไรให้ดีทั้งกับเราทุกคน และดีต่อโลก

(ในคลิป) นักแสดงสาว อลิสญาฌ์ ทอย หรือ “อลิส ทอย” ชวนไปสัมผัสกับกลุ่มชาวนารักษ์โลก ณ บ้านท่าเตียน ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

ซึ่งที่นี่ทางกรมโลกร้อน ส่งเสริมให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้ลดโลกร้อน” ในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังป้องกัน ลดไฟป่า ลดหมอกควัน ในโครงการ“นาแปลงใหญ่ เกษตรสมัยใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ซึ่งจะเห็นว่าเกษตรกรชาวนาทำนาโดยไม่มีการเผาฟางข้าว ตอซังข้าวอีกต่อไป มิหนำซ้ำ นำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยประหยัดต้นทุน

คุณติ๊ก-สวณีย์ โพธิ์รัง ผู้จัดการนาแปลงใหญ่ หนึ่งในผู้นำเกษตรกรสมัยใหม่เดิมบาง อธิบายถึงหลักการทำนาลดโลกร้อนง่ายๆ ผ่านหลักการ 4 ป. ว่า “ช่วยชาวนาลดต้นทุนการทำนาในระยะยาว ขณะเดียวกันยังเป็นวิธีการที่ช่วยโลกลดสภาวะโลกร้อน”

ป.1 ปรับหน้าดิน (การปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบแสงเลเซอร์) จะช่วยลดการใช้น้ำ 30-50% (ลดระยะเวลาสูบน้ำเหลือแค่ 1 วัน)

ป.2 เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว (การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง) โดยนำท่อพีวีซี มาช่วยในแปลงนา สามารถช่วยลดการเกิดก๊าซมีเทน 30%

ป.3 ปุ๋ยวิเคราะห์ (การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน) สามารถส่งตรวจได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ตรงนี้ช่วยลดต้นทุน แถมไม่ทำให้ดินเสีย และไม่ก่อให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์

ป.4-แปรสภาพฟางตอซัง (การจัดการฟางและตอซังข้าว) โดยนำมาทำปุ๋ยหมัก ทดแทนการเผาฟางข้าว ซึ่งเป็นการเผาอินทรียวัตถุที่ดีต่อนาข้าว และก่อให้เกิดฝุ่นพิษ PM2.5 


กำลังโหลดความคิดเห็น