xs
xsm
sm
md
lg

“น่าน” ขึ้นนำจมฝุ่น PM2.5 “เชียงใหม่” นำจุดความร้อนทะลุ 200

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้ (24 เมษายน 2567) จิสด้า พบ 5 จังหวัดภาคเหนือ มีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีแดง 🔴 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ ส่วนพื้นที่ กทม.คุณภาพอากาศดีมากหลายเขต 🟦 ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนระอุ 🔥 จุดความร้อนขยับขึ้น 1,051 จุด เชียงใหม่พุ่งสูงสุด 207 จุด

เมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 24 เมษายน 2567 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA รายงานว่า พบ 5 จังหวัด มีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีแดงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ🔴 ได้แก่ #น่าน 82.2 ไมโครกรัม #แม่ฮ่องสอน 80 ไมโครกรัม #ลำพูน 78.9 ไมโครกรัม #ลำปาง 78.7 ไมโครกรัม และ #เชียงใหม่ 77 ไมโครกรัม ส่วนอีก 23 จังหวัดโซนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าคุณภาพอากาศเกินมาตรฐานในระดับสีส้ม 🟠ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานครเช้าวันนี้พบคุณภาพอากาศดีไปจนถึงดีมากแทบทุกพื้นที่ 🟦

พร้อมกับคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่จะมีค่าคุณภาพอากาศที่ยังคงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโซนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

📍สำหรับค่าฝุ่น PM2.5 ต้องไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถึงปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนที่ใช้ชีวิตอยู่นอกบ้าน 🟦








จิสด้า รายงานข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) และจากดาวเทียมอีกหลายดวง เมื่อวานนี้ (22 เมษายน 2567) พบว่าประเทศไทยพบจุดความร้อน (Hot spot)ทั้งประเทศ 1,051 จุด ข้อมูลจากดาวเทียมระบุด้วยว่าจุดความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่พบในป่าสงวนแห่งชาติ 354 จุด ตามด้วยป่าอนุรักษ์ 304 จุด พื้นที่เกษตร 220 จุด พื้นที่เขต สปก. 97 จุด ชุมชนและพื้นที่อื่นๆ 68 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 8 จุด สำหรับจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนมากที่สุด คือ #เชียงใหม่ 207 จุด
.
🗺️ส่วนประเทศเพื่อนบ้านยังพบจุดความร้อนอย่างต่อเนื่อง โดยสูงสุดวานนี้อยู่ที่ประเทศลาว 3,203 จุด ตามด้วยพม่า 1,841 จุด ไทย 1,051 จุด กัมพูชา 651 จุด เวียดนาม 210 จุด และมาเลเชีย 25 จุด

ทั้งนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กรมควบคุมมลพิษ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น