xs
xsm
sm
md
lg

ซีพี ออลล์ หนุนคู่ค้า SME ประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพคู่ค้าผู้ประกอบการ SME เดินหน้าจัดอบรมแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC SME) ประจำปี 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับคู่ค้า SME จำนวนกว่า 58 บริษัท เพื่อสร้างความพร้อมโดยเฉพาะในเรื่องของธรรมาภิบาล ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน จะช่วยยกระดับความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจที่ยั่งยืน








ภายในงานได้รับเกียรติจากนายพรหเมศร์ เบ็ญจรงค์กิจ ผู้อำนวยการโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของ ภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption : CAC), สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors :IOD) มาร่วมถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ เรื่องการ ป้องกันความเสี่ยงการทุจริตและคอร์รัปชันในการดำเนินงาน และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการ SME รวมทั้ง สนับสนุนให้ผู้ประกอบการประกาศเจตนารมณ์ และยกระดับการดำเนินงานเป็นองค์กรที่ได้รับรองเป็นแนวร่วมการต่อต้าน คอร์รัปชันเพื่อสร้างระบบนิเวศของการทำธุรกิจที่โปร่งใสต่อไป

โดยผู้อำนวยการ CAC ได้นำเสนอข้อมูลที่ชวนฉุกคิด จากดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ประจำปี 2565 จัดทำโดย Transparency International (TI) มีประเทศที่ถูกจัดอันดับทั้งสิ้น 180 ประเทศ โดยประเทศเดนมาร์ก ถูกจัดให้มีคะแนนสูงสุดของโลกได้ 90 คะแนน อันดับที่ 2 ตกเป็นของประเทศฟินแลนด์ และประเทศนิวซีแลนด์ ได้คะแนน 87 คะแนนเท่ากัน 

ด้านประเทศไทยคะแนนดีขึ้นจากปี 2564 จาก 35 เป็น 36 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก หากมองในแง่คะแนน CPI ความโปร่งใสของประเทศไทยถือได้ว่าไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา คะแนน CPI ของไทยมีค่าเฉลี่ยเพียง 36 คะแนน แน่นอนว่าปัญหาคอร์รัปชันของประเทศไทยไม่สามารถอาศัยกลไกภาครัฐเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องมีการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคเอกชน ในการบริหารจัดการสมการคอร์รัปชันให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุด


ด้าน นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ยึดมั่นในการพัฒนาและการบริหารจัดการทางด้านความยั่งยืนขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ยุทธศาสตร์ความยั่งยืนที่ครอบคลุม 3 มิติประกอบด้วย มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน, มิติด้านสังคม (Social) เพื่อส่งเสริมและสร้างคุณค่าที่หลากหลายต่อสังคม และมิติด้านธรรมาภิบาล (Governance) เพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างเข้มแข็งด้วยการกำกับดูแลที่ดี เป็นธรรมและโปร่งใส รวมถึงเพื่อเพิ่มคุณค่าให้บุคลากรในองค์กรร่วมบรรลุเป้าหมาย และสร้างการเติบโตไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน

“ซีพี ออลล์เชื่อมั่นว่าคู่ค้าคือห่วงโซ่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ ความสำเร็จที่ยั่งยืนจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ซีพี ออลล์ พร้อมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้คู่ค้าบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain) ดำเนินธุรกิจด้วยความ “ซื่อสัตย์ โปร่งใส ยุติธรรม คำนึงถึงชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นคาถาบรรษัทภิบาลที่ซีพี ออลล์ยึดมั่น และเป็นหลักจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ เชื่อมั่นว่าการร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างฐานราก “องค์กรสีขาว” มุ่งสู่ความยั่งยืน” 

ทั้งนี้ภายในงาน ซีพี ออลล์ ได้มอบเกียรติบัตรให้กับคู่ค้าผู้ประกอบการ SME ที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับซีพี ออลล์-เซเว่นอีเลฟเว่น ที่ผ่านการอบรมแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC SME) ประจำปี 2566 พร้อมมอบสิทธิพิเศษ E-Voucher ส่วนลดในการเข้าใช้บริการศูนย์บริการให้คำปรึกษา และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามความต้องการของผู้ประกอบการ ALL FOOD TECH สำหรับคู่ค้าที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์โครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของ ภาคเอกชนไทย และทำแบบประเมินตนเองเพื่อพัฒนาระบบต่อต้านคอร์รัปชัน 17 ข้อ เพื่อร่วมแสดงออกถึงการดำเนินธุรกิจร่วมกันด้วยความโปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน