xs
xsm
sm
md
lg

PTG x Circular ทำจริง ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ เปิดคลิป “การเดินทางของเสื้อผ้าตัวใหม่”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี หนุนหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ย้ำการมุ่งสู่ ESG ตามแนวทางพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของ UN จับมือ SC GRAND ทำโครงการ Waste Separation Model ในการสร้างรับรู้ ตระหนัก และรูปแบบการจัดการขยะโดยการสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้บริการปั๊มน้ำมัน PT [ชมคลิป]

โครงการ Waste Separation Model เป็นความร่วมมือกับ CIRCULAR ที่มีโปรเจกต์เกี่ยวกับการรวบรวมขยะ คัดแยกขยะขึ้นมาโดยสร้างจุดดรอปขวดพลาสติก รวมถึงการรับเสื้อผ้าเก่า ๆ ที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับไปรีไซเคิลและทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แทนการผลิตสินค้าใหม่ขึ้นมา โดยสามารถนำขยะสิ่งทอ หรือขยะพลาสติกที่คนไม่ใช้แล้ว มารีไซเคิลเป็นเสื้อผ้าใหม่ได้




นายพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) บอกว่า“ก่อนหน้านี้มีขยะขวดพลาสติก รวมถึงเสื้อผ้าที่ผู้คนไม่ใช้เอามาทิ้งเป็นขยะในสถานีบริการน้ำมัน PT หากเราไม่นำขยะเหล่านี้มารีไซเคิล ขยะพวกนั้นจะสามารถนำไปทำอะไรได้อีก นั่นเป็นโจทย์ที่นำมาต่อยอดผ่านโครงการนี้ครับ”

จากการศึกษาการนำเอาขยะประเภทขวดน้ำพลาสติกไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ๆ ทำให้เราทราบว่าขวดน้ำพลาสติกสามารถนำไปผลิตเป็นเสื้อได้ด้วยการนำเส้นใยที่ได้จากขวดพลาสติก มาผสมรวมเส้นใยฝ้ายมาผลิตเป็นเสื้อผ้า ซึ่งกระบวนการนี้ว่า Upcycling (Upgrade + Recycle) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Circular Economy หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ที่กำลังเป็นแนวปฏิบัติใหม่ในโลกยุคนี้เพื่อลดภาวะมลพิษให้สอดคล้องกับการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ Upcycling เป็นการยกระดับจาก Recycle ที่เราเคยรู้จักมานาน

“สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ พีทีจี เอ็นเนอยี คือ “เชื่อมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงชีวิตที่อยู่ดีมีสุขในทุกๆ ด้านของช่วงชีวิต” ดังนั้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อม หรือความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญของบริษัท เพราะพวกเราเชื่อว่าบริษัทจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนนั้นจะต้องตระหนักถึงสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และเรื่องแบบนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ สามารถร่วมมือกันได้ และเมื่อพวกเรามีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมโดยรวมและสิ่งแวดล้อมก็ย่อมดีขึ้นครับ”

นายพิทักษ์ ย้ำว่า “ถือเป็นการส่งต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับคนรุ่นถัดไป ผมขอชวนทุกคนมาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อทำให้สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชนไทย อยู่ดี มีสุขครับ”


ด้านนายจิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แสงเจริญแกรนด์ จำกัด หรือ SC GRAND โรงงานปั่นด้ายที่เชี่ยวชาญการรีไซเคิลเศษของเสียในอุตสาหกรรมสิ่งทอมากว่า 50 ปี กล่าวเสริมว่า “โปรเจกตีนี้ นอกจากเกิดการพัฒนาขยะที่ไม่มีคนเห็นค่าแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

PTG และ CIRCULAR ร่วมทำโปรเจกต์นี้เพื่อเป็นการนำหลักการเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาปรับใช้ หากนำเสื้อผ้าเก่า หรือขยะสิ่งทอ ขยะขวดพลาสติก มาผลิตเป็นเสื้อผ้าใหม่ ย่อมจะทำให้เราลดการผลิต Virgin Fiber ลดการผลิตผ้าใหม่ ลดการใช้สารเคมีในการฟอกย้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เท่ากับว่าลดการปล่อย Co2 อีกด้วย

PTG มุ่งหวังว่า “อยากเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้จริง” หลังจากรีไซเคิลเสื้อผ้าใหม่แล้ว เราจึงจะนำไปมอบให้กับเด็กนักเรียนในชุมชนต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างการรับรู้ หรือแรงบันดาลใจที่ดีให้เด็กรุ่นใหม่เล็งเห็นว่า “เสื้อผ้าที่ใส่อยู่ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องผลิตใหม่ หากเด็ก ๆ เติบโตขึ้นสามารถเลือกวัตถุดิบทางเลือกที่เป็น Sustainable หรือเอาขยะต่าง ๆ มาเป็นเสื้อผ้าใหม่ก็ได้”

โดยเสื้อรีไซเคิลทั้งหมดจะถูกนำไปบริจาคให้กับเด็กๆ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรักษ์ไทย จ.พิษณุโลก อย่างลอตแรกได้จำนวนทั้งหมด 52 ตัว ลดการใช้น้ำ 3,016 ลิตร เทียบเท่ากับน้ำสะอาดที่สามารถนำไปใช้ได้ 4,316 วัน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 728 กิโลวัตต์/ชั่วโมงลดการปล่อย CO2 เท่ากับ 104 กิโลกรัมคาร์บอนเทียบเท่า

สำหรับนายจิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์ เขาคือทายาทรุ่นที่ 3 ของ SC GRAND และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในฐานะผู้ผลิตที่กำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอของบ้านเราให้ไปในทางที่ดีขึ้น เขาร่วมงานกับแบรนด์มากมายไม่ว่าจะเป็น Kloset, Issue, Carnival, Indigo Skin, Yothaka รวมไปถึงนิตยสาร GQ หรือ Vogue ในการผลิตเสื้อยืดรุ่นพิเศษ


กำลังโหลดความคิดเห็น