Waitrose และ ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่อื่น ๆ ในสหราชอาณาจักรอย่าง Mark & Spencer และ Tesco เริ่มไม่ติดฉลาก “ควรบริโภคก่อนวันที่” บนผลิตภัณฑ์อาหารสดและผักผลไม้จำนวนกว่า 500 อย่าง เพื่อจะลดปัญหาการทิ้งผักผลไม้ที่ยังสามารถบริโภคได้อยู่
รู้หรือไม่ว่า ในระยะเวลาเพียง 1 ปี อาหารจำนวนมากถึง 1.3 พันล้านตันต้องกลายเป็น “ขยะอาหาร” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนและการทำลายสิ่งแวดล้อม
ทุกคนคิดว่าปัญหาหลักของขยะอาหารเกิดจากอะไรบ้าง? แน่นอนว่าต้องมีคนตอบว่า “ทานอาหารไม่หมด” “อาหารเสียจากการเก็บไม่ดี” “ใช้วัตถุดิบไม่ทัน” และอีกหนึ่งคำตอบที่พบบ่อยในสหราชอาณาจักร ก็คือ “เพราะมันเลยวันที่ที่ควรบริโภคและวันหมดอายุแล้ว”
Marija Rompani ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนของ John Lewis ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทเจ้าของซุปเปอร์มาร์เก็ต Waitrose ได้กล่าวว่า พลเรือนจำนวนมากให้สหราชอาณาจักรทิ้งอาหารและวัตถุดิบที่ยังสามารถนำมาประกอบอาหารและรับประทานได้อยู่เป็นจำนวนมากถึง 4.5 ล้านตัน ถ้าเทียบเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในการเพาะปลูกผลิตผลเหล่านี้แล้ว ก็เทียบเท่ากับพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศจีน!
ด้วยเหตุนี้ Waitrose และ ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่อื่น ๆ ในสหราชอาณาจักรอย่าง Mark & Spencer และ Tesco เริ่มไม่ติดฉลาก “ควรบริโภคก่อนวันที่” บนผลิตภัณฑ์อาหารสดและผักผลไม้จำนวนกว่า 500 อย่าง เพื่อที่จะลดปัญหาการทิ้งผักผลไม้ที่ยังสามารถบริโภคได้อยู่ โดยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเองว่าผักผลไม้ที่ซื้อมานั้นยังสามารถบริโภคได้อยู่หรือไม่
องค์กร WRAP (Waste Resource Action Program) ได้คาดคะเนว่า การที่ไม่ติดฉลากวันที่ควรบริโภคจะช่วยลดการทิ้งผักผลไม้สดที่ยังสามารถรับประทานได้อยู่ได้มากถึง 7 ล้านตะกร้าภายในสหราชอาณาจักร
เรื่องปัญหาขยะอาหารฟังเผิน ๆ แล้ว อาจดูไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต สัตว์ป่า และระบบนิเวศ แต่รู้ไหมว่าในการที่เราจะทำการเพาะปลูกเพื่อที่จะให้ได้ผักผลไม้มารับประทานนั้นต้องใช้พื้นที่และน้ำจำนวนมาก ซึ่งป่าบางพื้นที่ถูกตัดรื้อถอนเพื่อนำพื้นที่มาทำการเกษตร จึงทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณนั้นถูกรุกรานและเริ่มสูญพันธุ์
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคบางคนไม่เห็นด้วยกับการที่เอาฉลากวันที่ควรบริโภคออก เนื่องจากไม่สามารถคาดคะเนผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคยบริโภคมาก่อนได้ว่าแบบไหนถึงเรียกว่า ยังสามารถรับประทานได้ หรือแบบไหนถึงเรียกว่าเสียแล้ว
ข้อมูลอ้างอิง https://www.nycfoodpolicy.org/food-policy-snapshot-best-before-date-labels-united-kingdom/
ตัวย่อ บนผลิตภัณฑ์อาหารสดและผักผลไม้ หมายถึงอะไร?
ตัวอักษรย่อบนฉลากสินค้าและอาหาร คำว่า Expiry Date หรือ EXP และ EXD หมายถึงวันหมดอายุ ซึ่งหมายถึงความปลอดภัยของการบริโภคนั้นจะต่ำลง ถ้าหากบริโภควันที่หลังจากที่ฉลากกำหนด ส่วนคำว่า Best Before หรือ BB และ BBE หมายถึง ควรบริโภคก่อนวันที่ ซึ่งยังสามารถบริโภคได้อยู่ ไม่ได้เสีย ไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการบริโภค เพียงแต่คุณประโยชน์หรือประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อาจไม่สูงเท่าวันที่ก่อนควรบริโภค
MFG / MFD ย่อมาจาก Manufacturing date / Manufactured Date หมายถึงวันที่ผลิต
EXP/EXD ย่อมาจากExpiry Date / Expiration Date หมายถึงวันหมดอายุ
BB / BBE ย่อมาจาก Best Before / Best Before End หมายถึงควรบริโภคก่อนวันที่
แต่ด้วยความที่ไม่รู้และไม่แน่ใจในความหมาย จึงมักทำให้ผู้ซื้อผู้บริโภคลังเลที่จะกินผักผลไม้ในตู้เย็นเมื่อเลยวันที่ที่ควรบริโภคแล้ว และสุดท้ายก็ทิ้งมันลงถังขยะทั้ง ๆ ที่มันยังไม่ได้เสีย