xs
xsm
sm
md
lg

โบโกตา, โคลัมเบีย คว้าเมืองผู้นำของโลกในวิถี Zero Waste

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เมืองโบโกตา ประเทศโคลัมเบีย
หลายประเทศและหลายเมืองในโลก ล้วนมีความพยายามลดการใช้พลาสติก โดยนำแนวคิดทำให้ขยะเป็นศูนย์ หรือ Zero Waste มาใช้ แต่ความเป็นผู้นำในการดำเนินการของแต่ละพื้นที่นั้นก็มีความแตกต่างกันไป เมื่อไม่นานนี้ Savoo รายงานผลการวิเคราะห์จำนวนของร้านค้าและตลาดในแต่ละเมืองซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตแบบ Zero Waste

โบโกต้า เป็นเมืองที่มีตลาดนัดในเมืองถึง 176 แห่ง
ปรากฎว่าเมืองในลำดับแรก ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมงกุฎของเมือง Zero Waste คือเมืองโบโกตา (Bogota) อยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางของประเทศโคลัมเบียซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่สูงที่สุดของอเมริกาใต้แห่งหนึ่ง จากการที่มีตลาดนัดในเมืองถึง 176 แห่ง ตามแผนที่ของกูเกิล

โคลัมเบียมีข้อห้ามในการใช้พลาสติกมาตั้งแต่ปี 2017 ทำให้เมืองหลวงของโคลัมเบียแห่งนี้ มีขยะพลาสติกต่ำที่สุดเพียง 2.4 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็น 70 กิโลกรัมต่อประชากรต่อปีเท่านั้น และทำให้โคลัมเบีย ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีขยะจากอาหารครัวเรือนในปริมาณต่ำที่สุดของโลกด้วย

เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับประเทศที่มีจำนวนของตลาดนัดในระดับที่สูงกว่า 192 แห่ง อย่างเช่น กรุงเทพฯ ซึ่งติดอยู่ในอันดับที่สอง จากการที่ขยะของเมืองหลวงราว 19% ผ่านเข้ากระบวนการรีไซเคิล หลังจากที่ประเทศไทยมีข้อห้ามในการใช้ถุงพลาสติกมาตั้งแต่ปี 2021

คนในเมืองโบโกต้า นิยมขับขี่จักรยาน ช่วยทั้งลดมลพิษอากาศ และการใช้พลังงานฟอสซิล
ส่วนนครลอนดอนของอังกฤษ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 9 จากการที่เป็นเมืองซึ่งผู้คนมีความหวังที่จะลดการบริโภคพลาสติกที่ก่อให้เกิดขยะพลาสติกให้มากที่สุด ทำให้ร้านค้าที่มีการบริหารจัดการแบบ Zero Waste จำนวนมาก ควบคู่กับการที่รัฐบาเรียกเก็บเงิน 10 เพนนี ต่อการใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยอังกฤษ มีปริมาณขยะพลาสติก 4.9 ล้านตันต่อปี

การจัดอันดับของประเทศ จากดัชนีของกระบวนการรีไซเคิลขยะครัวเรือนมากที่สุดในโลก พบว่า สิงคโปร์ มาเป็นอันดับแรก ด้วยอัตราการรีไซเคิลสูงสุดถึง 61 % โดยมี 5 อันดับแรก ดังนี้

อันดับ 1 สิงคโปร์ อัตราการรีไซเคิล 61%
อันดับ 2 เกาหลีใต้ อัตราการรีไซเคิล 58%
อันดับ 3 ไอซ์แลนด์ อัตราการรีไซเคิล 55.8%
อันดับ 4 สโลวีเนีย อัตราการรีไซเคิล 52%
อันดับ 5 เยอรมนี อัตราการรีไซเคิล 48%




Clip Cr.CGTN Global Business

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว Savoo ให้ความเห็นว่า เมืองหลักใดในโลก ที่ติดอันดับนครที่แย่ที่สุดในการขยับขับเคลื่อนเข้าสู่แนวคิด Zero Waste และด้วยวิธีการดังกล่าว เมืองที่อยู่ในกลุ่มนี้ สกอเปีย ในมาเซโดเนียเหนือ ติดอันดับยอดแย่ ทั้งที่เป็นเมืองที่ได้รับการยกย่องในด้านสถาปัตยกรรม แต่ไม่มีร้านค้า ที่บริหารด้วยแนวคิด Zero Waste แม้แต่แห่งเดียว และมีตลาดนัดที่เปิดเพียง 8 แห่งเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น อัตราการรีไซเคิลยังอยู่ที่ 0.2% เท่านั้น


เมืองหลักอื่นที่อยู่ในข่ายยอดแย่ ในลำดับรองลงมา เป็นเมืองในยุโรปกลางสองแห่ง ที่อยู่ในอันดับ 10 ยอดแย่ ได้แก่ กรุงเบิร์นของสวิตเซอร์แลนด์ และบูดาเปสต์ของฮังการี โดยเมืองทั้งสอง มีการเรียกเก็บเงินจากประชากร ในการใช้ถุงพลาสติก ขณะที่กรุงเบิร์น กิจกรรมด้าน Zero Waste ใช้หลักการของอาสาสมัคร ไม่ใช่ภาคบังคับ นอกจากนั้น จำนวนร้านค้าที่ให้บริการ Zero Waste ที่มีอยู่น้อยมากทำให้อันดับของเมืองทั้งสองตกลงไปอยู่ในลำดับรั้งท้าย เมื่อพิจารณาอัตราการรีไซเคิลแล้วจะสูงมากที่ 30% และ 26% ตามลำดับก็ตาม แต่ขยะอาหารที่เกิดจากครัวเรือนกลับมีปริมาณที่สูงมาก

นอกจากนั้น Savoo ยังได้วิเคราะห์ว่า ต้นทุนเฉลี่ยของร้านค้าปลีก ที่ตั้งอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าที่บริหารด้วยแนวคิด Zero Waste ในส่วนที่สามารถประหยัดต้นทุนได้ หรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเลิกใช้พลาสติกพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วร้านค้าปลีกย่อยๆ ที่ใช้แนวคิด Zero Waste จะมีต้นทุนและสะท้อนไปที่ราคาสินค้าที่ขายต่อหน่วยราว 212% สูงกว่าต้นทุนของร้านค้าที่อยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตในสินค้าหลายรายการ แม้ว่าจะมีสินค้าบางรายการที่มีราคาถูกลงจากการชอปปิ้งโดยปราศจากการใช้พลาสติกบ้างก็ตาม

การศึกษาดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าการปรับวิถีชีวิตของคนเมือง จากที่เคยใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มาสู่วิถีชีวิตแบบ Zero Waste ยังเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องรับภาระในระยะสั้นจากการที่ต้นทุนการบริโภคสูงขึ้น แต่ภาระของสังคม จากการที่ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง มีแนวโน้มที่จะช่วยประหยัดต้นทุนของสังคมได้ในระยะยาว

ข้อมูลอ้างอิง https://envirotecmagazine.com/2022/03/10/which-cities-are-leading-the-way-in-zero-waste/


กำลังโหลดความคิดเห็น