xs
xsm
sm
md
lg

“เคหะสุขประชา” ร่วมมือ “คูโบต้าฟาร์ม” เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัย นำทฤษฎีเกษตรสมัยใหม่ ใช้ในโครงการ “บ้านเช่าพร้อมอาชีพ”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บมจ.เคหะสุขประชา เดินเครื่องตามนโยบายรัฐบาล ยกระดับการผลิตภาคการเกษตรของไทยด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีการเกษตรแบบครบวงจร หรือ Smart Farmer ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง พร้อมหาแนวทางโดยร่วมมือกับ “คูโบต้าฟาร์ม” ในด้านการทำเกษตรสมัยใหม่มาใช้ในโครงการ “บ้านเช่าพร้อมอาชีพ” 100,000 หน่วย ทั่วประเทศ สำหรับผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเปราะบาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน


นายพิษณุพร อุทกภาชน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) หรือ K-HA เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายการขับเคลื่อนนวัตกรรม และเทคโนโลยีการเกษตรแบบครบวงจร การส่งเสริมเครื่องจักรกลการเกษตร และต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และภาคเกษตรกรรมภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงนั้น ทางบมจ.เคหะสุขประชา จึงได้ร่วมมือกับ “คูโบต้าฟาร์ม” พื้นที่สร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ เพื่อหาแนวทางพัฒนาในด้านการทำเกษตรสมัยใหม่ Smart Farmer นำมาใช้ในโครงการสร้างอาชีพของชาวเคหะสุขประชา “บ้านเช่าพร้อมอาชีพ” จำนวน 100,000 หน่วย ทั่วประเทศ

นายพิษณุพร อุทกภาชน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) หรือ K-HA
“คูโบต้าฟาร์ม” จะเป็นต้นแบบของเกษตรสมัยใหม่ หรือ Smart Farming ในการยกระดับการผลิตภาคการเกษตรกรของไทย ย้ำในด้านความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ให้ขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรแบบครบวงจร ด้วยการพัฒนา และจัดสรรการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ๆ มีจำกัดในโครงการสร้างอาชีพของเคหะสุขประชา ด้วยการแบ่งพื้นที่พัฒนาต่อสู่การขยายผลผลิต โดยการแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ อาทิ แปลงผลไม้ ซุ้มผักสวนครัว แปลงผักหมุนเวียน บ่อน้ำการเกษตร แปลงนาข้าว เป็นต้น


เป้าหมายหลักของโครงการบ้านเคหะสุขประชา คือ “บ้านเช่าพร้อมอาชีพ” ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้อยู่อาศัย รวมทั้งนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอาชีพ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการของแต่ละพื้นที่ โดยปัจจุบันโครงการบ้านเคหะสุขประชามีรูปแบบอาชีพ 6 ด้านด้วยกัน ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ ปศุสัตว์ อาชีพบริการชุมชนและชุมชนข้างเคียง ตลาด อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และศูนย์การค้าปลีก – ส่ง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนตามภูมิสังคมของพื้นที่นั้น ๆ เริ่มตั้งแต่การผลิตไปจนถึงช่องทางการจัดจำหน่ายอีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น