xs
xsm
sm
md
lg

CPAC Green Solution จับมือ กฟผ. พัฒนาการใช้ทรัพยากรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งและวัตถุพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำโดย นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง พร้อมด้วย CPAC Green Solution นำโดย นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี พร้อมด้วย นายวิสุทธ จงเจริญกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจทรัพยากรหมุนเวียน และนายชูโชค ศิวะคุณากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ร่วมลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการการพัฒนาการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนจากธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า และ โครงการการพัฒนาความร่วมมือทางด้านการให้บริการงานโยธาและงานขนส่งเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อร่วมพัฒนา แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ที่จะนำมาซึ่งการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) โดยมุ่งเน้นการลดปริมาณของเสียให้น้อยลง ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าให้มากที่สุด ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งและวัตถุพลอยได้ ที่ได้จากกระบวนการผลิต เช่น ดินปนถ่าน ถ่านที่มีค่ามาตรฐานต่ำกว่าเกณฑ์ Synthetic gypsum เถ้าลอย ตะกอนจากกระบวนการผลิตน้ำใส วัสดุเหลือทิ้ง หรือวัตถุพลอยได้อื่น ๆ ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นและเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาของประเทศให้มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งผลักดันการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่าผ่านการร่วมกันนำระบบการจัดการและเทคโนโลยีมาช่วยในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของโครงสร้างต่างๆ เพื่อลดความสูญเสียจากการใช้ทรัพยากร”

ด้านนายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “CPAC ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยยึดหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลสังคม และมีบรรษัทภิบาล ผ่านแนวทาง ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ – Plus เป็นธรรม โปร่งใส) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้แบรนด์ “CPAC Green Solution” ที่มุ่งเน้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมโซลูชันเพื่อสังคมสีเขียว 

ยิปซัมสังเคราะห์ วัตถุพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้า
จากความร่วมมือในครั้งนี้ สอดคล้องกับ การขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ CPAC Green Solution 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 

1) Green Circularity Solution เปลี่ยน Waste to Value คืนกลับสู่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษวัสดุเหลือทิ้งและวัตถุพลอยได้จากธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตและการจัดการวัสดุหมุนเวียน เช่น Gasifier พร้อมศึกษาและพัฒนาดินปนถ่านเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาวัสดุเหลือทิ้งให้ได้อีกหนึ่งมาตรฐานเพื่อสามารถใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นในการผลิตไฟฟ้าและปูนซีเมนต์ได้ ปรับคุณภาพยิปซัมสังเคราะห์ (Synthetic Gypsum) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์ให้ได้คุณสมบัติตรงตามการใช้งาน นำวัตถุพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้า (Fly Ash) มาเป็นส่วนผสมในการผลิตปูนซีเมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Low Carbon Product) และ เพิ่มมูลค่าตะกอนจากกระบวนการผลิตน้ำใส รวมทั้ง วัสดุเหลือทิ้งหรือวัตถุพลอยได้อื่น ๆ ในการผลิตไฟฟ้า 

2) Green Construction Solution นวัตกรรมการก่อสร้างเพื่อสังคมสีเขียว ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการให้บริการด้านงานโยธาและการจัดการด้านการขนส่งในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ด้วยการส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้พร้อมทั้งประสบการณ์ ด้านการบำรุงรักษา ยืดอายุโครงสร้าง รวมไปถึงการนำระบบบริหารจัดการด้านขนส่ง และอุปกรณ์ เครื่องจักรงานก่อสร้าง ผ่าน Sharing Platform "AllRENT" เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า พร้อมวางเป้าหมายร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยภายในปี 2567 ที่จะขยายพัฒนาการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนจากธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าให้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดโครงการการให้บริการบำรุงรักษา ยืดอายุโครงสร้าง รวมถึงต่อยอดระบบการขนส่งและเครื่องจักรงานก่อสร้างภายในปี 2568

ซีแพค กรีน โซลูชัน และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เชื่อมั่นว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายของประเทศ ด้วยการเชื่อมต่อทั้งระบบห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อโลกที่ยั่งยืน


กำลังโหลดความคิดเห็น