xs
xsm
sm
md
lg

ยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสู่ยุคดิจิทัล! นักวิเคราะห์ชี้ เอไอเอส กลับลำ เปิดหน้าค้าน ควบรวม ทรู ดีแทค บ่งบอกแนวโน้มแข่งขันดุเดือด สูสี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นักวิเคราะห์การตลาด เผยยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสู่ยุคดิจิทัล ความน่าสนใจในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เมื่อผู้นำตลาดโทรคมนาคมไทย เริ่มไม่มั่นใจ หลังคู่แข่งเตรียมควบรวม หายใจรดต้นคอ ห่วงการแข่งขันหลังการควบรวม มุ่งหน้าสู่ทะเลสีเลือด (Red Ocean)

ล่าสุด เอไอเอส ดอดยื่นหนังสือทักท้วง กสทช.พิจารณาดีลควบรวมกิจการ"ทรู-ดีแทค" กลับลำ จากที่ นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ CEO ของ AIS เคยบอกว่า “ไม่สนเรื่องการควบรวม ทรู ดีแทค เพราะตลาดเปลี่ยนไปแล้ว ยิ่งเค้ารักกัน เอไอเอส ยิ่งแกร่งขึ้น” เพราะเป็นการแข่งขันที่สูสี เร่งการปรับตัวให้เร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นจากการเป็นผู้นำเดี่ยวของ AIS ที่ไม่จำเป็นต้องเร่งการเปลี่ยนแปลง แต่การควบรวมของทรู ดีแทค ทำให้ผู้ประกอบการทุกราย ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ เพราะเล็งเห็นการแข่งขันสูงที่จะเกิด ซึ่งในอดีต เอไอเอส เป็นผู้นำเดี่ยวมาโดยตลอด ดังนั้น การปรับตัวของผู้ประกอบการทุกราย ตั้งแต่ องค์การโทรศัพท์ฯ ควบรวมกับ การสื่อสารแห่งประเทศไทย เกิดเป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) และ การที่ AIS ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่งขึ้น ทำให้การควบรวมรายสุดท้าย ของทรูและดีแทค จะทำให้ผู้ประกอบการทุกรายเกิดความแข็งแกร่งทัดเทียมกันทันที การต่อสู้ด้านราคา ด้านนวัตกรรม จะมีความใกล้เคียงกันมากขึ้น ทำให้ AIS กลับลำขวางการควบรวมในครั้งนี้ เพื่อรักษาระยะส่วนแบ่งตลาด ให้ทิ้งห่างคู่แข่ง และให้คู่แข่งไม่แข่งขันได้ในเกมส์ระยะยาว และ นี่เป็นยุทธศาสตร์ที่อาจเรียกกว่า "ตัดไฟ แต่ต้นลม" อย่าให้คู่แข่งเข้ามาใกล้เกินไป

ย้อนกลับไป ปลายปีก่อน (16 ธค. 64) นาย สมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO ของ AIS กล่าวว่า ไม่สนเรื่องคู่แข่งควบรวมกิจการ จากนี้ AIS จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ Cognitive Telco โดยนายสมชัยได้พูดถึงมุมมองด้านระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี ที่จะเห็นได้ว่าเกิดในอัตราเร่ง เร็วขึ้น และไวขึ้นทุกปี ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ถ้ามองการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมในไทย ในยุค 2G เราใช้กันมา 20 ปี แต่พอเปลี่ยนมาเป็น 3G เราใช้ประมาณ 3 ปี ส่วนการเปลี่ยนผ่านจาก 4G มาเป็น 5G สำหรับ AIS ใช้เวลาเพียงแค่ประมาณ 1 ปีเท่านั้น ดังนั้นเพื่อเข้าสู่บริบทของโลกใหม่ AIS จึงต้องปรับตัวอีกครั้ง ก่อนที่นายสมชัยจะบอกว่า ปี 2022 ของ AIS จะยกระดับไปสู่อะไร สิ่งที่น่าสนใจคือ ในช่วงหนึ่ง นายสมชัยพูดถึงข่าวใหญ่ในวงการโทรคมนาคมแห่งปี นั่นก็คือการที่ TRUE และ DTAC กำลังพิจารณาควบรวมกิจการกัน

ในครั้งนั้น นายสมชัย ประกาศชัดเลยว่า เหตุผลที่ไม่สนใจคู่แข่ง เป็นเพราะหลังจากนี้ ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป การแข่งขันเมื่อคู่แข่งแข็งแกร่งขึ้น AIS จะเปลี่ยนผ่านบริษัทอีกครั้ง จากแต่เดิมที่เป็น Telecom Operator ไปสู่ Digital Life Service Provider เมื่อ 6 ปีก่อน นับจากนี้ต่อไป AIS จะเดินหน้าไปสู่การเป็น Cognitive Telco คุณสมชัย ประกาศชัดเลยว่า เหตุผลที่ไม่สนใจคู่แข่ง คนไทยต้องเข้าใจว่า ตลาดโทรคมนาคม ไม่เหมือนเดิมแล้ว จากแต่เดิมที่เป็น Telecom Operator มีผู้ประกอบการไม่กี่ราย ไปสู่ Digital Life Service Provider ที่มีผู้เล่นระดับโลกเต็มตลาด เมื่อ 6 ปีก่อน นับจากนี้ต่อไป AIS จะเดินหน้าไปสู่การเป็น Cognitive Telco นายสมชัยกล่าวว่า "เขารักกัน เราแกร่งขึ้น" นี่คือวลีเด็ดจาก สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ที่ให้สัมภาษณ์ไว้กับ The Secret Sauce ถึงกรณีดีลยักษ์ True จับมือ dtac จนทำให้ AIS ในวันนี้ต้องเร่งฝีก้าวตัวเองให้เร็วขึ้น ด้วยการประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ 'Cognitive Telco' เพื่อสร้างบริการที่แตกต่างและตอบโจทย์มากกว่าที่เคย AIS จะบุกไปยังน่านน้ำใหม่ ที่ไม่ใช่มีแค่ทรู ดีแทค แต่มีผู้เล่นดิจิทัลระดับโลกรออยู่มากมายที่แข็งแกร่ง

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมใหม่ (New Telco Market) จึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องการแข่งขันของบริษัทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอไอเอส ดีแทค หรือทรู ที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น แต่ต้องมองข้ามช็อตให้เห็นถึงผู้เล่นทั้งหมดในตลาด รวมถึง OTT ที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานของโทรคมนาคมอย่างเต็มที่ในการให้บริการ และเก็บรายได้ไปอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากการให้บริการผ่านระบบแอพพลิเคชั่น โดยผู้ให้บริการจากบริษัทต่างชาติที่มีสำนักงานใหญ่อยู่นอกประเทศไทย ปัจจุบันรายได้มหาศาลของบริษัทเหล่านี้สามารถนำกลับประเทศโดยไม่ต้องจ่ายภาษี ทำให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันด้วยยากจากกฎหมายควบคุมและมีต้นทุนทางภาษีที่สูงกว่า และยังไม่มีหน่วยงานรัฐใดออกมากำกับหรือแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม จึงไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ ซึ่งเทคโนโลยีแห่งอนาคตนี้จำเป็นต้องได้รับการจัดการดูแลอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ ด้วยมาตรการและกฎระเบียบต่าง ๆ ให้มีการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน และที่สำคัญคือเพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่การวัดค่าดัชนี HHI บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ถูกต้องที่สุด ที่นับรวมผู้เล่นใหม่ๆในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น จากต่างประเทศ ที่เข้ามาให้บริการในประเทศไทย


กำลังโหลดความคิดเห็น