โลกประหลาดอีก! เมื่อเกิดคลื่นความร้อนทั้งสองขั้วโลกพร้อมๆกัน นักวิทยาศาสตร์ชี้สัญญาณเตือนภัยของสภาพภูมิอากาศโลก โดยพื้นที่บริเวณแอนตาร์กติก พบอุณหภูมิสูงกว่าปกติที่ 40องศาC ขณะเดียวกัน บริเวณอาร์กติกในขั้วโลกเหนือแตะ 30องศาC เหนือระดับปกติ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ปรากฏการณ์คลื่นความร้อน (Heatwaves) เกิดขึ้นในบริเวณแอนตาร์กติก (Antarctic) ซึ่งเป็นเขตขั้วโลกรอบขั้วโลกใต้ของโลก ด้วยอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาC จากระดับปกติ และในเวลาเดียวกันในบริเวณอาร์กติก (Arctic) ที่เป็นเขตรอบขั้วโลกเหนือ ก็เกิดคลื่นความร้อนแตะระดับ 30 องศาC เหนือระดับปกติ เกิดการละลายของน้ำแข็ง ซึ่งเสมือนว่าเป็นสัญญานเตือนภัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ปรากฎการณ์ดังกล่าวแสดงการเสื่อมสลายของภูมิอากาศโลกโดยทั่วไปในช่วงเวลานี้ของปี จะเป็นช่วงเวลาที่แอนตาร์กติก จะเย็นลงหลังจากผ่านช่วงเวลาหน้าร้อน แต่สำหรับอาร์กติกจะค่อยๆ ออกจากช่วงฤดูหนาวโดยมีช่วงเวลากลางวันที่นานขึ้น แต่การเกิดภาวะคลื่นความร้อนขึ้นกับขั้วโลกทั้งสองในเวลาเดียวกัน เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในบริเวณขั้วโลก แสดงให้เห็นถึงผลของภาวะโลกร้อนที่ไปรบกวนระบบภูมิอากาศโลก จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ได้เตือนถึงสัญญานของการเปลี่ยนแปลง เช่น การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ที่จะไม่สามารถย้อนคืนสภาพได้อีก แต่ปรากฏการณ์คลื่นความร้อนในทั้งสองขั้วโลก เป็นสัญญานอันตรายที่จะทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย และส่งผลกระทบต่อเนื่อง เร่งให้เกิดการพังทลายของภูมิอากาศ
เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกในเขตอาร์กติกละลายลงน้ำแข็งที่เคยปกคลุมท้องทะเลซึ่งมีสีขาว และสามารถสะท้อนแสงและความร้อนออกไป แต่เมื่อละลายลงทะเลที่มีสีดำจะดูดซับความร้อนเข้ามามากขึ้น ส่งผลให้เป็นการเร่งการละลายของน้ำแข็งให้เร็วยิ่งขึ้น
Clip Cr.News Direct
Clip Cr.TomoNews US
𝗠𝗶𝗰𝗵𝗮𝗲𝗹 𝗠𝗮𝗻𝗻 (Director of the Earth System Science Centre) แห่ง Pennsylvania State University ได้แสดงความกังวลต่อระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าระดับคาดการณ์
ภาวะโลกร้อนของอาร์กติกและแอนตาร์กติกทำให้เกิดความกังวล และเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เพิ่มขึ้นสามเท่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่าง - ก็เป็นสาเหตุของความกังวลเช่นกัน " เขากล่าว โมเดลต่างๆ ทำงานได้ดีในการคาดการณ์ภาวะโลกร้อนโดยรวม แต่เราได้โต้แย้งว่าความสุดโต่งนั้นเกินการคาดการณ์ของแบบจำลอง เหตุการณ์เหล่านี้ขับเคลื่อนความเร่งด่วนของการดำเนินการเพื่อลดโลกร้อน
จากสถิติข้อมูลคลื่นความร้อนที่มีการบันทึกไว้ พบว่าบริเวณที่มีสภาพอากาศรุนแรงที่สุดคือ บริเวณ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นสูงถึงเกือบ 50 องศาC
𝗠𝗮𝗿𝗸 𝗠𝗮𝘀𝗹𝗶𝗻 ศาสตราจารย์ด้าน Earth System Science แห่ง University College London ได้แสดงความกังวลต่อเรื่องนี้ว่า “ฉันและเพื่อนร่วมงานตกใจกับจำนวนและความรุนแรงของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในปี 2564 ซึ่งไม่คาดคิดมาก่อนที่อุณหภูมิ 1.2 องศาเซลเซียส ตอนนี้เรามีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในแถบอาร์กติก แสดงให้เห็นว่าเราได้เข้าสู่ช่วงใหม่ของสภาพอากาศที่รุนแรง เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่เราคาดไว้มาก”
นอกจากนี้สำนักข่าว AP ได้รายงานว่า สถานีตรวจอากาศแห่งหนึ่งใน Antarctica ได้รายงานสถิติอุณหภูมิที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมา ที่ 15องศาC ในขณะที่ผลการตรวจวัดจากสถานีอื่นตลอดแนวชายฝั่งซึ่งโดยปกติจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ว่ามีระดับอุณหภูมิสูงถึง 7องศาC เหนือจุดเยือกแข็ง
𝗝𝗮𝗺𝗲𝘀 𝗛𝗮𝗻𝘀𝗲𝗻 อดีต NASA chief scientist ได้อธิบายและแสดงความกังวลต่อปรากฏการณ์นี้ว่า “ความหนาของน้ำแข็งทะเลโดยเฉลี่ยลดลง ดังนั้นมันจึงสุกงอมสำหรับการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลขนาดใหญ่” “ผลกระทบของการปกคลุมของน้ำแข็งในทะเลที่ลดลงคือการเพิ่มความไม่สมดุลของพลังงานของโลกที่เกิดจากการเพิ่มก๊าซเรือนกระจก (GHGs)” “การปกคลุมของน้ำแข็งในทะเลที่ลดลงจะเพิ่มความไม่สมดุลของพลังงานของดาวเคราะห์ เนื่องจากมหาสมุทรที่มืดมิดสะท้อนแสงอาทิตย์น้อยกว่าน้ำแข็งในทะเล”
ข้อมูลอ้างอิง :
https://www.theguardian.com/environment/2022/mar/20/heatwaves-at-both-of-earth-poles-alarm-climate-scientists
https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-10635077/Earths-poles-undergoing-freakish-HEATWAVES-climate-scientists-warn.html