สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว เผยข้อมูลเกี่ยวกับ “สัตว์ผู้ล่า” (Carnivore) ในป่าดิบเขาดอยเชียงดาว พื้นที่สงวนชีวมณฑล(Biosphere Reserve) แห่งใหม่ของโลก ว่าเป็นผู้ช่วยควบคุมประชากรสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป
"หากว่าไม่มีสัตว์ผู้ล่า ระบบนิเวศก็จะเสียสมดุล ทำให้ต้นไม้ พืชพรรณไม่สามารถเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม"
สัตว์ผู้ล่า ถือว่าเป็นสัตว์อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ในป่าดิบเขาของพื้นที่ดอยเชียงดาว โดยสัตว์ผู้ล่าแต่ละชนิดก็มีชนิดของอาหารที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะทั้งขนาดและความสำคัญต่อระบบนิเวศในป่าแห่งนี้
สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว เผยภาพจากกล้องดักถ่ายในพื้นที่เดียวกัน แต่วัน เวลา ที่จับภาพได้แตกต่างกัน เช่น แมวดาว หมาใน หมาไม้ และลิงกังเหนือ
แมวดาว (Leopard Cat)Prionailurus bengalensis (Kerr,1792) สัตว์ผู้ล่าตระกูลแมวขนาดเล็ก ล่าพวกนก หนู สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่เจอ
หมาใน (Dhole)Cuon alpinus(Pallas,1811) สัตว์ผู้ล่าในพื้นที่จัดเป็นผู้ล่าที่สำคัญ ล่าเป็นฝูงอาหารได้แก่ กวางผา เก้ง หมูป่า
หมาไม้ (Yellow-throated Marten)Martes flavigula(Boddaert, 1785) สัตว์ผู้ล่าแห่งป่าดิบเขา กินทั้งสัตว์ขนาดเล็ก นก หรือสัตว์ขนาดเล็กที่หากินบนพื้น
ลิงกังเหนือ Northern Pig-tailed Macaque (Macaca leonina) ชอบกินผลไม้ เมล็ดพืช และแมลงเป็นอาหาร เวลากินอาหารมักชอบเก็บไว้ข้างแก้มแล้วค่อยๆ เอามือดันอาหารที่เก็บไว้ออกมากินทีละน้อย
ข้อมูลอ้างอิง สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว