xs
xsm
sm
md
lg

New Normal บังคับองค์กรสู่ยุคZ Generation ‘กรีนพีซ’ สะท้อนภาพ “โควิด-19” ตัวเร่งเปลี่ยนโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เครดิตภาพ https://www.securityinfowatch.com/
การแจกจ่ายวัคซีนในวงกว้างมากขึ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 ทั่วทั้งโลกที่ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น กำลังจะทำให้ความเสี่ยงด้านสาธารณสุขจากโควิด-19 ถูกทิ้งอยู่ข้างหลังในไม่ช้า และพร้อมเข้าสู่ New Normal Economy หรือ วิถีปกติใหม่ของระบบเศรษฐกิจ

รัฐบาล บริษัท และองค์กรต่างๆ จะต้องจัดการกับความท้าทายที่ยั่งยืนจากการระบาดใหญ่ เช่น ภาระหนี้ที่สูงขึ้น ความชอบของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ห่วงโซ่อุปทานที่ชะงักงัน และเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ในขณะเดียวกันก็ร่วมมือกันเพื่อสร้างความยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับวิกฤตในอนาคต เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปี 2020 นับเป็นปีแห่งความท้าทายของโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มนุษย์ทุกมุมโลกเหน็ดเหนื่อยกับวิกฤตเร่งสุขภาพด่วนจากการระบาดใหญ่และรุนแรงของโควิด-19 ขณะที่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนยังคงต้องติดตามและระมัดระวัง


มาถึงปีนี้ คำว่า New Normal กลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ที่ไม่สามารถทำย้อนรอยเดิมได้อีกแล้ว ดังนั้น องค์กร และมนุษย์ จำเป็นต้องปรับตัว คิดใหม่ ทำใหม่ ก้าวไปข้างหน้าในวิถีที่แตกต่างซึ่งขึ้นอยู่กับกรอบในสังคมและระบบเศรษฐกิจที่แตกต่าง

อย่างเช่นองค์กร Greenpeace ฉลองครบรอบปีที่ 50 ขององค์กรในฐานะเครือข่ายรณรงค์อิสระระดับโลก โดยกำหนดให้ปี 2021 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดา เป็นปีที่จะกำจัดอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล พลิกโฉมหน้าใหม่ของยุคปลอดอุตสาหกรรมการเกษตรที่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ สถาปนาความร่วมมือระดับโลกเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของโลกและมนุษย์โลก รวมถึงเป็นพันธมิตรกับทุกการเคลื่อนไหวที่ทรงพลังซึ่งกำลังต่อสู้ เปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อยุติความอยุติธรรมทางเชื้อชาติ ความไม่เท่าเทียมทางสังคม และเพื่อให้ผู้ก่อมลพิษจ่ายชดเชยตามสิ่งที่ก่อไว้ ที่สำคัญทั้งรูปแบบรณรงค์ในช่องทางเสมือนจริง และช่องทางเผชิญหน้าแบบตัวต่อตัว

Greenpeace ยังคงมองทุกอย่างเพื่อโลกที่ดีกว่า เพื่ออนาคตที่ดีกว่า แต่หันมาเน้นการสร้างวิถีการใหม่ในการมองโลก เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงแบบ New Normal ที่ต้องการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงให้ทัน และยังต้องคิดแบบองค์รวมเกี่ยวกับสิ่งที่สร้างการหยุดชะงักในโลกในปัจจุบัน – ไม่ว่าจะเป็นโควิด -19 หรือการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติ – มีภาวะโลกร้อน

ลำดับความสำคัญของ Greenpeace International ปี 2021 เรียงตามลำดับประกอบด้วย

1. “การใช้ชีวิตแบบ New Normal” ที่เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันและอนาคตที่เต็มไปด้วยการหยุดชะงักมากกว่านี้ พร้อมแปลงบทเรียนจากการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงแนวใหม่ นำวิธีการทำงานใหม่มาใช้เพื่อให้แน่ใจว่ายังมีความเป็นเลิศด้านกลยุทธ์และการดำเนินงานที่จำเป็นในช่วงเวลาฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ

2. ดำเนินการตามโครงการระดับโลกต่อไปในปี 2020-22 และสร้างความมั่นใจว่า GPI จะสนับสนุนองค์กรอิสระระดับชาติและระดับภูมิภาค เพื่อให้มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญที่จำเป็นต่อภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ ด้วยโครงการพัฒนาและดำเนินการที่มีความบูรณาการมากขึ้น คล่องตัวมากขึ้น มีพลวัต และมีความหลากหลายมากขึ้น และพร้อมที่จะรับมือกับการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและสังคมครั้งใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3. กำลังเสริมความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายกรีนพีซทั่วโลก และสร้างความสามัคคีและความยืดหยุ่นในระดับโลก และเรียนรู้จากประสบการณ์โควิด-19

4. เน้นการพัฒนาทรัพยากรทางทะเลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคล่องตัวมากขึ้น เพื่อควบคุมภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศและการล่มสลายของความหลากหลายทางชีวภาพ

5. เปิดรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้ดีที่สุด พัฒนาและเสริมสร้างการส่งมอบระบบและโซลูชั่นเทคโนโลยีระดับโลกที่เชื่อมโยงกันและบูรณาการในเครือข่าย Greenpeace

6: ปรับปรุงและดำเนินการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายใน ยกระดับวาระความเท่าเทียม ความหลากหลายและการรวมตัวอย่างมีนัยสำคัญในหมู่พนักงานทั้งหมดด้วยชัยชนะในระยะสั้นและเส้นทางเป้าหมายในระยะยาวที่ชัดเจน

7. ฝ่ายการเงินยังคงมีบทบาทสำคัญโดยผ่านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินการตามประสิทธิภาพและความร่วมมือกับแผนกอื่นๆต่อไป

8. การมีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านความเท่าเทียม ความหลากหลาย ความปลอดภัย และความยุติธรรม (EDSJ) และสร้างความมั่นใจว่า Greenpeace ยังคงมีอิทธิพลตามที่ต้องการ มีความครอบคลุมมากขึ้น และมีความหลากหลายมากขึ้นในหลาย ๆ ด้าน จนทำให้องค์กรสำคัญระดับโลกเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถมีส่วนร่วมและกำหนดทิศทางของโลกในช่วงเวลานี้ของประวัติศาสตร์ได้มากขึ้น

นอกเหนือจาก Greenpeace องค์กรที่ทรงอิทธิพลอื่นๆ ก็ได้ใช้บทเรียนจากโควิดในการพัฒนาโดเมนสำหรับ New Normal เพื่อให้เกิดความอัจฉริยะ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ครอบคลุม

ประการแรก การปฏิวัติทางดิจิทัลโดยเฉพาะประสบการณ์การทำงานทางไกลในวงกว้าง หรือ work-from-home จนสามารถลดแรงกดดันต่อบริการในระดับพื้นที่และรายท้องถิ่น ที่ลดมลภาวะและความแออัดในตัวเมือง

ประการที่สอง ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น จากการรวม "Greta Effect" และ "Zoom Effect" และการค้นพบแนวทางการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับในสังคมและการเมืองในปัจจุบันมากกว่าเพียงแค่ เมื่อปีก่อน.

ประการที่สาม การใส่ใจประชากรกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง เยาวชน ผู้อพยพ คนไร้บ้าน และผู้สูงอายุ ในอนาคตจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียม การออกแบบเมืองใหม่ การเรียกคืนพื้นที่สาธารณะ และให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกได้ทันที ในขณะที่รักษาความปลอดภัยและสุขภาพสำหรับผู้อยู่อาศัยทั้งหมดมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพดีขึ้นและการอยู่ร่วมกันในอาณาเขตที่มากขึ้น

การสร้างชุมชนที่เปราะบางขึ้นใหม่หลังได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างทางเศรษฐกิจของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 นั้น จะต้องมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรชั้นนำ และภาคเอกชนที่เพิ่มมากขึ้น ที่รวมถึงสาธารณชนที่มีความคิดและวิสัยทัศน์ใหม่ กำหนดนโยบายใหม่โดยคำนึงถึงชุมชนเหล่านี้ มุ่งเน้นที่การอนุรักษ์และธำรงรักษาที่ยั่งยืนมากกว่าทำลายต่อไป พร้อมการขยายขอบเขตและประสิทธิภาพของกฎหมายว่าด้วยการลงทุนเพื่อชุมชนโดยมุ่งเน้นที่นโยบายในระดับรัฐบาลกลางและระดับท้องถิ่น ที่ฟื้นฟูและปรับเปลี่ยนเขตที่เป็นโอกาส เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับผลลัพธ์และการดูแลที่เท่าเทียมกัน

องค์กรชั้นนำอย่าง UN หรือ OECD หรือ G20 จำเป็นจะต้องทำให้ผู้นำระดับเมืองเห็นความจำเป็นในการปรับใช้มาตรฐานใหม่อย่างรวดเร็วสำหรับความเท่าเทียม ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย ในขณะเดียวกันต้องปรับใช้เทคโนโลยีโดยอิงตามสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค และการเข้าถึงสุขภาพและสาธารณูปโภคอย่างเท่าเทียม


โลกใหม่ ใบเดิม สู่ยุคคน Gen Z

กลุ่ม Gen Z คือ กลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 10-24 ปี เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2538-2552 ซึ่งเติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่อยู่แวดล้อมรอบตัว มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เรียนรู้ได้รวดเร็ว และอยู่กับสื่อดิจิทัลโดยกำเนิด ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งในประเทศไทยมีจำนวนประชากรกลุ่มนี้ราวๆ เกือบ 13 ล้านคน แบ่งเป็นหญิง 48% และชาย 52% อีกทั้งกลุ่มนี้ก็กำลังเข้ามาสู่วัยแรงงาน (first jobber) ซึ่งในปีนี้คน Gen Z จะมาเป็นกำลังหลักในตลาดแรงงานของประเทศเกินกว่า 20%

นางสาวปัทมา จอมศิริวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัยประจำ บริษัทสตามิน่า เอเชีย ซึ่งเป็นบริษัททำวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ให้ข้อมูลว่า “เราสามารถให้คำจำกัดความของ Gen Z คร่าวๆ ได้ว่า เป็นผู้ที่เกิดระหว่างปี 2538 ถึง 2553 เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก”

พวกเขาเหล่านี้ใช้ชีวิตอยู่กับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และโซเชียล มีเดียตั้งแต่วัยเด็ก ถือเป็นคนยุคดิจิทัลแบบแท้จริงรุ่นแรก และเป็นผู้มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆ การสื่อสารผ่านโลกออนไลน์ และการเชื่อมต่อกันแบบทันที นอกจากนี้พวกเขายังไม่เพียงแต่จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างไม่มีติดขัดเท่านั้น แต่คนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะด้วยความต้องการใหม่ๆ หรือการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อทำให้โลกก้าวล้ำขึ้นไปอีกขั้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นความท้าทายต่อธุรกิจต่างๆ ซึ่งเป็นความท้าทายที่จะสามารถเปลี่ยนให้เป็นโอกาสได้ก็ต่อเมื่อธุรกิจเหล่านั้นมีความเข้าใจถึงคนเหล่านี้มากขึ้น โดยต้องรู้ว่าพวกเขามีวิธีบริโภคและรู้จักแบรนด์ต่างๆ อย่างไร


กำลังโหลดความคิดเห็น