ในปัจจุบัน ผู้บริโภคเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากการแชร์ข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น ผู้บริโภคต่างตระหนักรู้ถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวก่อนตัดสินใจซื้ออะไรสักอย่างบนออนไลน์ จากการสำรวจของ PwC ได้ระบุว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบ 30% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมุมมองที่หลากหลายต่อการแชร์ข้อมูลผู้บริโภคกับองค์กรต่างๆ จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าธุรกิจเองก็ต้องเพิ่มความไว้วางใจจากผู้บริโภคด้วยการสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภครับรู้ถึงคุณค่าของการแบ่งปันข้อมูลเพื่อยินยอมรับกับโฆษณาที่เกี่ยวข้อง ด้วยเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท Apple ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการ iOS 14.5 ที่มาพร้อมกับการอัปเดตความเป็นส่วนตัวช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลที่ต้องการแชร์ ส่งผลให้นักพัฒนาแอปทั้งหลายไม่สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้อีกต่อไปถ้าพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตจากระบบระบุตัวตนสำหรับผู้ลงโฆษณา Identifier for Advertisers หรือ IDFA ที่ทาง Apple ใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้อุปกรณ์
และจากข้อมูลเชิงลึกของ NewZoo ยังพบอีกว่าจำนวนประชากรออนไลน์มากกว่า 80% ในภูมิคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ เกมเมอร์ ทั้งจากอินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม คือกลุ่มตลาดหลักในภูมิภาคนี้ ด้วยความที่ตลาดเกมกำลังเฟื่องฟู การเปิดอัปเดตระบบ iOS 14.5 ได้ส่งผลกระทบต่อการโฆษณาดิจิทัลอย่างชัดเจน เพราะแอปเกมบนมือถือในภูมิภาคนี้ล้วนต่างพึ่งพาวิธีการติดตามเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แม้สถานการณ์นี้จะเริ่มเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ iOS เวอร์ชัน 14 แล้วก็ตาม
ขับเคลื่อนข้อมูลไปกับ iOS 14
สำหรับกลุ่มธุรกิจที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เช่น เกมไฮเปอร์แคชชวล การระบุแหล่งที่มาของผู้ใช้งานล้วนต้องอาศัยข้อมูลวัดผลโฆษณาที่แม่นยำ เพื่อที่จะทำให้นักการตลาดรู้ว่าช่องทางไหนที่ควรจะเอาเม็ดเงินไปลงทุน และทำอย่างไรที่จะเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญของพวกเขา ด้วยการใช้ดัชนีชี้วัด เช่น รายได้ที่จากระยะเวลาความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าอยู่กับบริษัท (LTV) หรือรายได้ที่ได้จากการโฆษณา (ROAS) ในขณะที่ผลตอบแทนการลงทุน (ROI) มีจำกัด จึงต้องรู้ว่าจุดไหนควรลงทุนและเวลาใดควรจะปรับลดเป็นสิ่งสำคัญ
แม้ว่าการทำตลาดบนมือถือมีความก้าวหน้าอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ด้วยข้อมูลแบบจำลองนั้นมีปริมาณน้อย นักการตลาดจึงต้องพึ่งพาแบบจำลองและบริบทอื่นๆ มากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจและเลือกช่องทางที่ตรงเป้าหมายใหม่มากที่สุด
สร้างความได้เปรียบ
การใช้ประโยชน์จากแบบจำลองข้อมูลถือเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะรักษาความเสถียรในการดำเนินงาน และได้รับการยิอยมจากผู้ใช้งานสูง หนึ่งในกุญแจหลักสำคัญที่จะสร้างความได้เปรียบในสนามแข่งขัน ซึ่ง 2 สิ่งนี้จะช่วยให้การวัดผลแม่นยำอยู่เสมอพร้อมกับรักษาระดับราคาค่าโฆษณาที่ต้องจ่าย (CPM) ไว้ได้
แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อไม่มีการเข้าถึงระบบระบุตัวตนสำหรับผู้ลงโฆษณา (IDFA) แบบอัตโนมัติได้ การทำ CPM จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด และยังส่งผลต่อการซื้อโฆษณาออนไลน์ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ ในอีกมุมหนึ่ง หากแบรนด์สินค้ายังสามารถเข้าถึง IDFA ได้ทำให้แบรนด์นั้นมีมูลค่าสูงขึ้น และเป็นสิ่งที่กลุ่มผู้โฆษณาก็จะหันมาแข่งกันด้านราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้
ดังนั้น ทางแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับนักการตลาด คือ การวางแผนการตลาดใหม่ออกมาเพื่อที่จะรักษาการสื่อสารไปยังผู้บริโภคให้ได้ หมั่นทำกลยยุทธ์ที่รวดเร็วซ้ำๆ เพื่อที่จะลดผลกระทบที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของ CPM และรายได้
ตื่นรู้อยู่เสมอ
จากการเปิดตัวระบบปฏิบัติการล่าสุด iOS 14.5 ผู้ใช้งานไอโฟนสามารถเลือกจะรับไม่รับโฆษณาได้ นั่นเท่ากับว่าผู้โฆษณาจะเห็นตัวเลขรายได้ลดลง แม้ผู้โฆษณาบางรายอาจจะมีการเตือนผู้ใช้งานแบบซ้ำๆ หลายครั้งว่าถ้าไม่เลือกไม่รับอาจทำให้เห็นโฆษณามากขึ้น ซึ่งจากการวิจัยโดย Adjust ในปี 2020 พบว่าเกมจำพวกไฮเปอร์แคชวลสามารถแสดงโฆษณาได้มากกว่าการเล่นเกมภายในหนึ่งนาที และยังคงสร้างผลกำไรได้ด้วย แต่ถึงอย่างนั้นผู้โฆษณาจะต้องจำไว้ว่าผลตอบแทนที่มาจากการโฆษณานั้นน้อยลง เกมไฮเปอร์แคชวลที่แสดงโฆษณามากกว่า 4 ตัวภายในหนึ่งนาทีจะมีรายได้สูงถึง 35,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน
จุดที่น่าสนใจของโฆษณาจะปรากฏในอยู่ในเกมราวๆ 2-3 ต่อนาที ซึ่งรวมๆ แล้วจะสามารถช่วยให้บริษัทเกมไฮเปอร์แคชวลเหล่านี้สามารถเพิ่มรายได้ให้ตัวเองถึง 10% เลย ผู้โฆษณาจึงต้องหาความสมดุลระหว่างการโฆษณาเพื่อหารายได้มาชดเชยส่วนที่หายไป แต่กลับไปสร้างความรำคาญให้ผู้ใช้งานด้วยหรือไม่
ตั้งเป้าดัชนีความสำเร็จ
สำหรับประเภทธุรกิจเกมที่มุ่งสร้างรายได้ผ่านโฆษณา และการคิดค่าโฆษณาต่อหนึ่งการกระทำ (CPA) ที่แข็งแกร่งเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ความสำเร็จ การประเมินโอกาสของการสร้างรายได้ภายในแอปสามารถช่วยให้กำหนด CPA ได้ เวลาปรับเปลี่ยนให้ CPA เงื่อนไขที่ฝังอยู่ในแอปจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถติดตามผลการโฆษณาและตัวแสดงรายได้จากโฆษณา
และภายหลังจากที่ Apple เปิดตัวเครื่องมือใช้ระบุแหล่งที่มา หรือ SKAdNetwork สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการโฆษณา สามารถรับรู้ได้ถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นจริง โดยแหล่งที่มาในโลกใบใหม่นี้มุ่งเน้นเรื่องความเป็นส่วนตัว ด้านนักการตลาดเองก็สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้มากขึ้นเพื่อจะได้เข้าใจผู้ใช้งานมือถือได้มากขึ้น และหากสร้างกลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มมูลค่ายอดขายออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม ก็ถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จบน SKAdNetwork
จากการเปลี่ยนแปลงของระบบปฏิบัติการ iOS ได้ส่งผลให้นักการตลาดแอปต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานบนอุปกรณ์ของ Apple เป็นอย่างมาก แต่ถ้าวางกลยุทธ์ถูกที่ถูกทางแล้วล่ะก็ นักการตลาดนั้นย่อมจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในโลกยุคหลังของ IDFA ที่มาช่วยยกระดับมาตราการด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งานจาก Apple แม้จะเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังจะริเริ่มทำตาม ขณะที่แพลตฟอร์มต่างพัฒนาก้าวหน้าต่อเนื่อง หากธุรกิจปรับตัวได้เร็วตามไปด้วย ย่อมจะสามารถ้าสู่ความสำเร็จในเศรษฐกิจดิจิทัลได้ด้วย