xs
xsm
sm
md
lg

กระแสยานยนต์ “รักษ์โลก” ทิศทางที่ต้องไป-เร็วขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คลิกอ่านฉบับ E-Book 
https://flipbookpdf.net/web/site/f075ec27641487d5fc7300a28af7b5bd8f75068c202102.pdf.html
ปัจจุบันความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมในระดับโลก มีรถยนต์หลายค่ายเปิดตัวรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ากันคึกคัก ส่งแรงกระเพื่อมถึงความเชื่อมั่นต่อทิศทางการผลิตรถยนต์ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นี่เป็นปรากฏการณ์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่รับผลการเปลี่ยนแปลงของ “ยุคดิจิทัล” ที่ทำให้โลกเราอยู่เปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งด้านผู้ประกอบการ (Supply-side) และด้านพฤติกรรมผู้บริโภค (Demand side)

ดังนั้น การสื่อสารการตลาดที่บางค่ายรถเคยชูประเด็นการประหยัดพลังงาน ความทนทานหรือความปลอดภัย เป็นจุดขายเพื่อสร้างความแตกต่างที่โดดเด่น

เมื่อมาถึงยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือให้ผู้บริโภค “รับรู้ เรียนรู้ เปรียบเทียบ” ถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพและความรับผิดชอบที่จริงใจในการขายสินค้าและบริการ ได้สร้างคุณค่าที่คุ้มค่าต่อผู้บริโภค สังคมและ
สิ่งแวดล้อม

ยุคนี้การทำ “ธุรกิจที่ดี” จึงไม่ใช่การสร้างภาพลักษณ์ “ให้ดูดี” การอ้างอิงหลัก E S G กลายเป็นเรื่องที่ “ต้องทำ” ในการผลิตรถที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานสะอาด (Environmental) รับผิดชอบต่อสังคม (Social) และมี
ธรรมาภิบาล (Governance)

ขณะที่นโยบายของรัฐก็มุ่งส่งเสริมความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบพลังงานสะอาดเพื่ออนาคต ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

น่าสนใจที่แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ของไทยมุ่งสู่ BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจรักษ์โลก (Green Economy)การที่นโยบายรัฐและผู้นำในอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย ให้ความสำคัญกับการผลิตจำหน่ายรถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน (Eco Car)

ยุทธศาสตร์สู่ฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยภาครัฐมีเป้าหมายแรกที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ของปริมาณาการผลิตรวม

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันว่า ได้มีแผนและโครงการที่จะจูงใจให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกัน ก็จะมีมาตรการกระตุ้นความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้รถยนตไฟฟ้า

นับว่าสอดคล้องกับกระแสโลกที่ไปทางนี้ ถึงขนาดหลายประเทศมีมาตรการสนับสนุนกำหนดเป้าหมายการขายรถยนต์ไฟฟ้า 100% เช่น นอร์เวย์ ปี 2025 สิงคโปร์และฝรั่งเศส ปี 2040

อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยกำลังปรับกลยุทธ์การผลิต และต้องรับมือกับตลาดผู้ใช้รถยนต์ที่ยืนยันจากผลการสำรวจของ TAQA หลายครั้งว่า แนวโน้มความต้องการรถพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล


กำลังโหลดความคิดเห็น