ในยุคดิจิทัลทุกวันนี้ การรับรู้ข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลายทาง และหลากหลายสื่อ จนเหมือนไม่มีความลับ ปิดกั้นไม่ได้
สภาวะแบบนี้ดีกับใคร หรือมีผลกระทบกับใครบ้าง แต่การได้รับรู้ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ ถ้าไม่เพิกเฉย แต่รู้จักใช้ประโยชน์ในแง่การพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข มันก็จะกลายเป็นผลดีในช่วงต่อไปได้แน่
อย่างกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ประกาศผลการประเมินคุณธรรมความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ2563 เมื่อเร็วๆ นี้
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป.ป.ช.บอกว่า หลักเกณฑ์การประเมิน ITA นั้นถูกกำหนดขึ้นจากประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรฐานกลางในการดำเนินงานต่างๆที่ถูกกำหนดไว้แล้ว
“ เพียงแต่การประเมินITAเข้ามาตรวจว่า ได้บริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาลให้รอบด้าน และครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด”
ก็นับเป็นงานวิจัยขนาดใหญ่ ที่มีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมการประเมิน 8,303 แห่ง มีคะแนนเฉลี่ย 67.90 คะแนน ได้ระดับC เพราะเกณฑ์กำหนดที่ 85 คะแนนขึ้นไป
เมื่อแบ่งหน่วยงานภาครัฐตามเกรดจะพบว่า…
AA(สูงสุด) มี 56 แห่ง( 0.67 %)
A มี1,039 แห่ง ( 12.51 %)
B มี 1,854 แห่ง ( 22.33 %)
C มี2,474 แห่ง ( 29.80%)
E มี 952 แห่ง ( 11.47% )
F ( ต่ำสุด)มี 499แห่ง( 6.01%
สรุปแล้ว มีหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ ( 85 คะแนนขึ้นไป) รวม 1,095 แห่ง ( 13.19 %) และที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีถึง 7,208 แห่ง ( 86.81%) มาดูกลุ่มคะแนนดีประเภทธนาคารรัฐวิสาหกิจกัน
1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 99. 60
2.ธนาคารออมสิน 97.19
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ 96.74
4.ธนาคารส่งออกและนำเข้าฯ 95. 86
5.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม 93.51
6.ธนาคารอิสลาม 93
ข้อคิด…
ข้อค้นพบจากรายการนี้ก็คือ ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐยังมีผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ คือมีระดับ B->C่่-->D
เฉพาะอย่างยิ่งมีหน่วยงานที่ได้ผลการประเมินต่ำมาก อยู่ในระดับF มีถึง 499 หน่วยงาน ซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วง และควรจะรีบแก้ไข จำเป็นต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้คนในหน่วยงานภาครัฐกลุ่มนี้มีวิธีคิด และแนวการทำงานด้วย ”หลักธรรมาภิบาล” คือคำนึงถึง ความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
ขณะเดียวกันผลการประเมินหน่วยงานภาครัฐด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่าน 10 ตัวชี้วัด ปรากฏว่ามีประเด็นที่ได้คะแนนต่ำมาก คือ “การป้องกันการทุจริต” ได้แค่ 36.29 คะแนน และ "การเปิดเผยข้อมูล” ได้ 53.12 คะแนน
ทั้ง 2 ตัวชี้วัดมีความสัมพันธ์กันในแง่การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ไม่ใช้ดุลยพินิจและคำนึงถึงความถูกต้องเป็นธรรม ซึ่งมีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใส ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน ก็จะทำให้พันธกิจของรัฐมีผลิตภาพ
นี่จึงเป็นการท้าทายต่อเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯที่กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ในปีงบประมาณ 2565 หน่วยงานภาครัฐที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน 85 คะแนน ต้องมีจำนวนร้อยละ 80 ขึ้นไป
แต่ความจริงก็คือขณะนี้มีหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ 85 คะแนน เพียงแค่ 13.19 %เท่านั้น
หากมองในแง่บวก และมีความตั้งใจจริง ข้อมูลนี้ก็เสมือนได้เห็นฟิล์มเอกซเรย์ จึงเป็นโอกาสที่จะแก้ปัญหาได้ตรงจุด ผู้นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและแนวการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ให้ทันต่อยุคสมัยที่ต้องการผลลัพธ์ที่มีคุณค่า ขณะที่คนในสังคมรู้เร็ว รู้ทัน และคาดหวังสูง
suwatmgr@gmail.com
สภาวะแบบนี้ดีกับใคร หรือมีผลกระทบกับใครบ้าง แต่การได้รับรู้ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ ถ้าไม่เพิกเฉย แต่รู้จักใช้ประโยชน์ในแง่การพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข มันก็จะกลายเป็นผลดีในช่วงต่อไปได้แน่
อย่างกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ประกาศผลการประเมินคุณธรรมความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ2563 เมื่อเร็วๆ นี้
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป.ป.ช.บอกว่า หลักเกณฑ์การประเมิน ITA นั้นถูกกำหนดขึ้นจากประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรฐานกลางในการดำเนินงานต่างๆที่ถูกกำหนดไว้แล้ว
“ เพียงแต่การประเมินITAเข้ามาตรวจว่า ได้บริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาลให้รอบด้าน และครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด”
ก็นับเป็นงานวิจัยขนาดใหญ่ ที่มีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมการประเมิน 8,303 แห่ง มีคะแนนเฉลี่ย 67.90 คะแนน ได้ระดับC เพราะเกณฑ์กำหนดที่ 85 คะแนนขึ้นไป
เมื่อแบ่งหน่วยงานภาครัฐตามเกรดจะพบว่า…
AA(สูงสุด) มี 56 แห่ง( 0.67 %)
A มี1,039 แห่ง ( 12.51 %)
B มี 1,854 แห่ง ( 22.33 %)
C มี2,474 แห่ง ( 29.80%)
E มี 952 แห่ง ( 11.47% )
F ( ต่ำสุด)มี 499แห่ง( 6.01%
สรุปแล้ว มีหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ ( 85 คะแนนขึ้นไป) รวม 1,095 แห่ง ( 13.19 %) และที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีถึง 7,208 แห่ง ( 86.81%) มาดูกลุ่มคะแนนดีประเภทธนาคารรัฐวิสาหกิจกัน
1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 99. 60
2.ธนาคารออมสิน 97.19
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ 96.74
4.ธนาคารส่งออกและนำเข้าฯ 95. 86
5.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม 93.51
6.ธนาคารอิสลาม 93
ข้อคิด…
ข้อค้นพบจากรายการนี้ก็คือ ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐยังมีผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ คือมีระดับ B->C่่-->D
เฉพาะอย่างยิ่งมีหน่วยงานที่ได้ผลการประเมินต่ำมาก อยู่ในระดับF มีถึง 499 หน่วยงาน ซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วง และควรจะรีบแก้ไข จำเป็นต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้คนในหน่วยงานภาครัฐกลุ่มนี้มีวิธีคิด และแนวการทำงานด้วย ”หลักธรรมาภิบาล” คือคำนึงถึง ความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
ขณะเดียวกันผลการประเมินหน่วยงานภาครัฐด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่าน 10 ตัวชี้วัด ปรากฏว่ามีประเด็นที่ได้คะแนนต่ำมาก คือ “การป้องกันการทุจริต” ได้แค่ 36.29 คะแนน และ "การเปิดเผยข้อมูล” ได้ 53.12 คะแนน
ทั้ง 2 ตัวชี้วัดมีความสัมพันธ์กันในแง่การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ไม่ใช้ดุลยพินิจและคำนึงถึงความถูกต้องเป็นธรรม ซึ่งมีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใส ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน ก็จะทำให้พันธกิจของรัฐมีผลิตภาพ
นี่จึงเป็นการท้าทายต่อเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯที่กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ในปีงบประมาณ 2565 หน่วยงานภาครัฐที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน 85 คะแนน ต้องมีจำนวนร้อยละ 80 ขึ้นไป
แต่ความจริงก็คือขณะนี้มีหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ 85 คะแนน เพียงแค่ 13.19 %เท่านั้น
หากมองในแง่บวก และมีความตั้งใจจริง ข้อมูลนี้ก็เสมือนได้เห็นฟิล์มเอกซเรย์ จึงเป็นโอกาสที่จะแก้ปัญหาได้ตรงจุด ผู้นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและแนวการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ให้ทันต่อยุคสมัยที่ต้องการผลลัพธ์ที่มีคุณค่า ขณะที่คนในสังคมรู้เร็ว รู้ทัน และคาดหวังสูง
suwatmgr@gmail.com