xs
xsm
sm
md
lg

‘มูลนิธิพิทักษ์คชสาร’ เพื่อคน เพื่อช้าง เพื่อผืนป่า...ทองผาภูมิ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ถึงวันนี้คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ภารกิจการดูแลคุ้มครองช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองคู่พระพุทธศาสนา เป็นหน้าที่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งอีกต่อไป เพราะ“ช้าง” คือเรื่องใหญ่ ที่คนไทย ที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทยต้องช่วยกันพิทักษ์ดูแล

เป็นเวลานานกว่า 20 ปี ที่พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ หรือหลวงปู่สาคร เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพิทักษ์คชสาร พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามอริยประเพณี ได้สงเคราะห์ “คน” และ “ช้าง” ด้วยความเมตตาอย่างสุดกำลัง

อะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ลุกขึ้นมานำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ปกป้องช้างป่าโขลงสุดท้าย บนผืนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่วันนี้กำลังเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันหาทางออก เพื่อแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้างป่า

ย้อนกลับไปเมื่อ 23 ปีก่อน จุดเริ่มต้นของการเข้ามาเกี่ยวข้องกับช้าง รวมถึงโครงการต่างๆมากมายที่หลวงปู่สาครได้มีโอกาสเข้าร่วมเพื่อหวังสงเคราะห์ ช่วยเหลือ เริ่มต้นตั้งแต่การประท้วงโครงการส่งก๊าซไทย-พม่าในปี 2540


หลวงปู่เล่าที่มา ให้ฟังว่า วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของท่านซึ่งทำให้ ท่านต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับช้างตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ทุกครั้งที่มีญาติโยมถามถึงสาเหตุที่ต้องเข้ามาดูแลโขลงช้างป่า หลวงปู่จะพูดเสมอๆว่า “ ช้างมันให้ชีวิตเรา” ก่อนจะเล่าให้ฟังด้วยแววตาที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาว่า

“กลางดึกเวลาตีหนึ่ง ขณะท่านนั่งสมาธิอยู่ภายในกลด ก็ปรากฏมีช้าง ป่าเข้ามาเฝ้ามองท่านแบบระยะประชิด มันเดินวนไปมาจนกระทั่งถึง 6 โมงเช้า" 

ท่านพูดกับช้างว่า “ถ้าพี่ใหญ่รวบเรา ทำร้ายเรา เราก็ไม่อาจทำประโยชน์ใดๆได้”

ตั้งแต่วันนั้น หลวงปู่ก็กลับเข้าไปในพื้นที่เพื่อซื้ออาหารหลายตันเข้าไปให้ช้าง อาทิ กล้วย อ้อย จากจุดเริ่มต้นของคาสัญญาที่มีให้กับพี่ใหญ่ในคืนนั้น หลวงปู่สาคร จึงตั้งชมรมคนรักษ์ช้าง-ป่าทองผาภูมิขึ้น โดยเน้นให้มีการการทางานร่วมกันเพื่ออนุรักษ์ และปกป้องช้างป่าตลอดมา

เวลาได้ล่วงเลยมาจนถึงวันที่ 8 สิงหาคม และ 27 สิงหาคม ปีพ.ศ. 2560 ปรากฏว่าได้มีช้างกลับเข้ามาทวงสัญญาที่วัดเวฬุวัน ซึ่งนั่นเป็นที่มาในการประชุมเพื่อทำงานเกี่ยวกับช้างป่ามากกว่า 100 ครั้ง

และหนึ่งในเรื่องของวงประชุมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาก็คือ เรื่องคชลักษณ์ของช้างสำคัญ เนื่องจากในพื้นที่ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เคย พบช้างป่า “พลายทองผาภูมิ” ถูกแร้วจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และล้มลงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งภายหลังได้มีการตรวจสอบพบว่า “พลายทองผาภูมิ” ที่ล้มลงนั้นเป็นช้างตรงตามคชลักษณ์สำคัญ

กล่าวคือ มีเล็บขาว หางยาวปัดปลอก อัณฑโกศขาว เพดานปากขาว ผิวสีหม้อใหม่ รวมถึงเป็นช้างที่มีรูปร่างงาม งาปลีใหญ่แต่โคนเรียว ลงมาเสมอกัน หลังเป็นคันธนู ตาเหมือนวัวเป็นสีน้ำตาล ถ้าไม่ล้มเสียก่อนสมควรขึ้นระวางเป็นช้างสำคัญตามราชประเพณี

จากเหตุการณ์นั้นทำให้พออนุมานได้ว่าผืนป่าแถบภาคตะวันตกผืนนี้ ยังคงมีเผ่าพันธุ์ของช้างสำคัญดังกล่าวสืบเชื้อสายอยู่ หลวงปู่จึงได้ก่อตั้งมูลนิธิพิทักษ์คชสารขึ้นมา




จากการเฝ้าติดตามโขลงช้างป่าทองผาภูมิมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ท่านพบว่า สาเหตุที่ช้างลงมาในชุมชน และเกิดผลกระทบระหว่างชาวบ้านและช้างป่า เนื่องจากช้างลงมายังแม่น้ำเพื่อดื่ม กิน และอาบน้ำในฤดูร้อน เพราะไม่มีแหล่งน้าบนเขาตลอดตั้งแต่เขื่อนวชิราลงกรณ จนถึงถ้ำดาวดึงส์ในเขตอุทยานฯไทรโยค

เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จึงเกิดเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร-สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่า ประชาร่วมใจ ถวายในหลวง เพื่อจัดทำแหล่งน้ำให้กับสัตว์ป่า และชุมชน นับเป็นวิธีที่สามารถลดผลกระทบจากการที่ช้างเข้าไป หมู่บ้านได้อย่างดี

ปัจจุบันหลวงปู่สาครได้สร้างแหล่งน้ำไปมากกว่า 10 แห่ง ส่งผลให้ช้างออกมายังชุมชนน้อยมากในปีนี้

ไม่เพียงนำหลักธรรมมาแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุเท่านั้น หลวงปู่ยังมุ่งเน้นเกี่ยวกับการให้การศึกษา และการเรียนรู้การใช้ชีวิตตามแนวทางแบบดั้งเดิม โดยมีแนวคิดที่จะสร้างอาชีพให้ชุมชน เริ่มที่การพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการ อุปโภค บริโภค และต่อยอดไปถึงการทำเกษตรกรรมเพื่อบริโภคในช่วงที่ชาวบ้าน ว่างงานจากการทำสวนยาง

โดยได้กำหนดเป็น 4 ระยะ ในเวลา 4 ปี ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ต.ห้วยเขย่ง, ต.ท่าขนุน, ต.หินดาด, ต.ลิ่นถิ่น ซึ่งจะสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ ฝายกึ่งสระซอยซีเมนต์ ฝายชะลอความชุ่มชื้น บาดาลน้ำตื้นเพื่อการอุปโภคบริโภค โรงผลิตน้ำดื่มชุมชน การปลูกป่าพืชพรรณอาหารสัตว์ การฟื้นฟูสภาพป่า ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพราษฎร ตามแนวทางศาสตร์พระราชา เพื่อบริหารจัดการและฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำ ให้เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคของทั้งคนและสัตว์ป่า รวมถึงเพื่อสร้างแหล่งอาหารของสัตว์ป่าและช้างป่าให้มีแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างพอเพียงในพื้นที่ที่ปลอดภัย

เพราะท่านเชื่อว่าถ้าคนมีอาชีพที่ดี มีการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี ก็จะเป็นการลดปัญหาการหาของป่าและเก็บหน่อไม้ อันเป็นการรบกวนสัตว์ป่าได้ กอปร กับด้วยขนบธรรมเนียม และประเพณีโบราณในแต่ละถิ่น มนุษย์ และสัตว์ป่าเรียนรู้ซึ่ง กัน มีความเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และถ้อยทีถ้อยอาศัย ก็จะก่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ก่อเกิดการทำลายระบบนิเวศ

จากการทำงานในพื้นที่ และได้เฝ้าสังเกตติดตามโขลงช้างป่าอย่างใกล้ชิด รวมถึงได้ศึกษาทั้งเรื่องกฎหมายช้างป่า พ.ร.บ.สำหรับรักษาช้างป่า 2464 และ คุณลักษณะของช้างสำคัญตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 หลวงปู่พบว่า ช้างป่าทองผาภูมิหลายตัว เข้าข่ายช้างสำคัญ เช่นมีเล็บขาว เพดานปากขาว อัณฑโกศขาว หัวสูงท้ายต่ำ หลังคัน ธนู สง่างามเหมือนช้างศึก 

และที่สำคัญคือช้างโขลงดังกล่าว รู้ภาษา สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งสอดคล้องกับการทำงานของมูลนิธิฯเกี่ยวกับช้างป่า ที่นอกจากดำเนินงานในเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าเป็นเบื้องต้นแล้ว ทางมูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านคชศาสตร์ (ตำราคชกรรม และคชลักษณ์) ตามวิถีโบราณทั่วไปของเอเชียและแต่ละท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีการสืบต่อทางราชประเพณีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้เรื่องช้างสำคัญ หรือช้างเผือกในดินแดนภาคตะวันตก มีตำนาน กระเหรี่ยงในดินแดนทุ่งใหญ่นเรศวร เล่าเกี่ยวกับช้างสำคัญ ที่ถูกสืบทอดปากต่อปากมาหลาย ชั่วอายุคน ว่าในคราวศึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพผ่านดินแดนแถบนี้ คนเฒ่า คนแก่มักเล่าว่า เมื่อมีทัพช้างขบวนใหญผ่านมา บางครั้งมีช้างสาคัญ ช้างศึก(ชาวบ้าน เรียกกันว่าช้างเผือก) ได้รับบาดเจ็บหรือ ล้มป่วย หลังจากรักษา และพักฟื้นก็ถูกปล่อยเข้าป่า หลงเหลืออยู่บ้าง

แม้คำบอกเล่าที่สืบต่อกันมาไม่อาจใช้หลักฐานมาพิสูจน์ให้แน่ชัด เพราะทั้งหมดเป็นเพียงคำบอกเล่าที่เชื่อกันว่าป่าแถบภาคตะวันตกยังคงมีเผ่าพันธุ์ของช้างสำคัญต่อบ้านเมือง

อย่างไรก็ตามเรื่องช้างสำคัญนี้มีการเล่าที่มาในคัมภีร์ไตรเพทของศาสนาพราหมณ์แห่งประเทศอินเดียซึ่งภายหลังพราหมณ์ที่ถือตำรานี้ได้เข้ามาในประเทศสยาม และประเทศเพื่อนบ้าน กลายเป็นตำราพระคชลักษณ์ต่างๆ อิศวรพงศ์นั้นให้เจริญทรัพย์ และมีอำนาจ

(พระอิศวรสร้าง) พรหมพงศ์นั้นให้ตามตำราสร้างโลกว่าด้วยกำเนิดช้าง (หมายเหตุ1) ถ้าเป็นศุภลักษณ์ไม่เป็นช้างโทษแล้วไซร้ ในตำราสรรเสริญว่าให้คุณเจริญอายุ และวิทยา

(พระพรหมสร้าง) วิษณุพงศ์ให้ศัตรูพ่ายแพ้ และน้ำฝนผลาหารธัญญาหารบริบูรณ์
(พระนารายณ์สร้าง) อัคนีพงศ์นั้นให้เจริญมัจฉมังสาหาร และระงับ ศึกอุบาทว์ทั้งปวง

(พระเพลิงสร้าง)พระเป็นเจ้าทั้ง 4 ได้สร้างช้าง 4 ตระกูล เป็นศุภตระกูล คือมีลักษณะงามต่างๆกัน และ ย่อมจะมีกำลังเรี่ยวแรงสามารถผิดกับช้างสามัญทั้งปวง 



ยกตัวอย่างช้างใน 2 ตระกูล ในป่าหิมวันต์คือ ช้างฉัททันต์ และช้างอุโบสถ ถ้าจะเทียบกำลังเท่าๆกัน และเอากำลังช้างอื่นๆทั้งหมดนี้ประสมกันเข้า 10 ช้าง จึงจะเท่ากับช้างอุโบสถช้างหนึ่ง และกำลังของ 10 ช้างอุโบสถประสมกันเข้าอีกนั้น จึงได้เป็น 1 กำลังของช้างฉัททันต์

และบางช้างก็นับถือกันว่าให้เกิดสวัสดิมงคลคุ้มโทษภัยจัญไร ต่างๆ และให้เกิดสวัสดิมงคลเจริญสุขได้ เช่นช้างปัจจัยนาเคนทร์ในเวสสันดรชาดก

หลวงปู่มักจะเทศนาโปรดญาติโยมถึงช้างต่างๆ ซึ่งหลวงปู่จะพูดเสมอๆ หากช้างป่าที่เราไปทำร้าย หรือใช้วาจาที่ไม่ดีว่ากล่าวเป็นช้างพระโพธิสัตว์ หรือช้างสำคัญ(ช้างเผือก)ก็จะเป็นภัย กับแผ่นดิน เช่นพระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นมาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังในพระชาติที่พระโพธิสัตว์สร้างบารมี เป็นพญาช้างฉัททันต์นี้ ถึงกับทำให้เมืองล่มสลาย

ปัจจุบันโครงการต่างๆของมูลนิธิพิทักษค์ชสารเริ่มเป็นรูปธรรมสามารถ แก้ไขปัญหาผลกระทบระหว่างช้างป่ากับชุมชนได้อย่างแท้จริง

ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ-มูลนิธิพิทักษ์คชสาร” จึงนำคณะสื่อมวลชน ติดตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร -สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่าประชาร่วมใจ ถวายในหลวง พร้อมบรรยายพิเศษ ‘งานที่ลงมือทำ เพื่อช้างคู่แผ่นดินคู่ศาสนา ด้วยมุ่งหวังให้มีการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ และแนวคิดนี้ในวงกว้างอันจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ และเป็นการส่งต่อภูมิความรู้ ตำราวิชาคชศาสตร์ซึ่งเป็นสรรพวิชาการของคนไทยสืบต่อมาชั่วลูกชั่วหลานอย่างไม่ขาดสาย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้คงอยู่เป็นความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกันสืบไป


กำลังโหลดความคิดเห็น